ประกาศ! Mo-Mo-Paradise ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ในปัจจุบัน
เชื่อว่าคออาหารญี่ปุ่น คงไม่มีใครไม่รู้จัก Mo- Mo- Paradise ร้านชาบูชาบูสุกี้ยากี้สไตล์ญี่ปุ่น อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด บริหารงานโดย “คุณเอ-สุรเวช เตลาน” กรรมการผู้จัดการ
ซึ่งปัจจุบันขยายสาขาไปแล้ว 21 สาขา และกำลังจะเปิดสาขาใหม่ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 ที่เซ็นทรัล พระราม 2 ความสำเร็จของ Mo- Mo- Paradise ที่ทำให้มีผู้คนสนใจซื้อแฟรนไชส์เป็นจำนวนมาก วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้รับทราบครับ
จุดกำเนิดแบรนด์ Mo- Mo- Paradise
ภาพจาก https://bit.ly/3Fm0dG0
Mo- Mo- Paradise ร้านชาบูชาบูสุกี้ยากี้สไตล์ญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดอยู่ในย่าน “คาบูกิโจ” แหล่งบันเทิงชื่อดังใจกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร้านเปิดให้บริการเมื่อปี 1993 ด้วยรูปแบบของ “All-You-Can-Eat” Shabu-Shabu & Sukiyaki ที่ลูกค้าสามารถเลือกสั่งกินจนกว่าจะอิ่ม
เจ้าของร้านชาวญี่ปุ่นอยากจะนำเสนอความอร่อยในแบบที่เรียบง่าย ดั้งเดิม แต่คงด้วยคุณภาพวัตถุดิบ จึงเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์การขายเมนูจำนวนไม่มาก แต่ทุกเมนูจะต้องผ่านการคัดสรรมาอย่างดี และส่งต่อวัฒนธรรมการกินอาหารญี่ปุ่นแท้ๆ ไปยังลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม
ภาพจาก https://bit.ly/3Fm0dG0
หลังจากดำเนินธุรกิจได้ 10 กว่าปี Mo- Mo- Paradise ร้านชาบูสุกี้แบรนด์นี้ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้นในกรุงโตเกียว และได้มีโอกาสไปเปิดสาขาต่างประเทศครั้งแรกที่ไต้หวันเมื่อราวๆ ปี 2003
ต่อมาปี 2007 ร้าน Mo- Mo- Paradise ได้เข้ามาเปิดสาขาแรกในเมืองไทยที่เซ็นทรัลเวิลด์ โดย “คุณเอ-สุรเวช เตลาน” เนื่องจากเขาเป็นคนชอบทานชาบูสุกี้สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ และได้เดินทางไปญี่ปุ่นเจอร้านชาบูสุกี้ Mo- Mo- Paradise รสชาติอร่อย บริการดี จึงรู้สึกตกหลุมรักร้านชาบูสุกี้แบรนด์นี้ อยากนำเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย
แม้ในประเทศญี่ปุ่นจะมีร้านชาบูสุกี้แบรนด์อื่นๆ จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นชาบูสุกี้ระดับพรีเมียม ส่วน Mo- Mo- Paradise จับกลุ่มลูกค้าระดับกลาง แต่รสชาติและคุณภาพอาหารระดับไฮเอนด์ อีกทั้งราคาไม่สูงจนเกินไป
กว่าจะสามารถนำแบรนด์ Mo- Mo- Paradise เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยได้ต้องใช้เวลากว่า 9 เดือน คุณเอต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าของ Mo- Mo- Paradise ในญี่ปุ่นไม่เคยขายแฟรนไชส์ แม้จะมีคนสนใจติดต่อเข้าไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งคุณเอบอกกับเจ้าของร้านอยากได้แบรนด์ชาบูสุกี้สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ มาเปิดเมืองไทย โดยจะคงความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คนไทยได้ทานชาบูสุกี้สไตล์ญี่ปุ่นในแบบที่คุณเอชอบทาน
ความสำเร็จของ Mo- Mo- Paradise ในเมืองไทย
ภาพจาก facebook.com/ThaiMoMoParadise
คุณเอ ให้สัมภาษณ์ว่า ความสำเร็จของ Mo- Mo- Paradise มาจากความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำพาชาบูสุกี้สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ มาให้คนไทยได้ทานแบบถูกต้องตามสไตล์ญี่ปุ่น เพราะชาบูสุกี้ในเมืองไทยมีความแตกต่างจากชาบูสุกี้ญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นลูกค้าอาจไม่เข้าใจว่าจะทานยังไงเมื่อเทียบกับการทานสุกี้ร้านอื่นๆ ในไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก
คุณเอจึงต้องนำเสนอวิธีกินชาบูสุกี้ญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ที่มีขั้นตอน คือ ถ้ากินสุกี้ยากี้ (ซุปดำ) จะต้องกินคู่กับไข่ดิบ ลูกค้าจะได้สัมผัสความนุ่มเนียนลิ้นของเนื้อนุ่มๆ หวานๆ ที่ชุ่มด้วยไข่ อร่อยแบบไม่ต้องพึ่งน้ำจิ้มเลย แต่ถ้าลูกค้าเลือกชาบูชาบู (ซุปใส) ก็จะจับคู่กับน้ำจิ้มพอนสึ น้ำจิ้มงา และโชยุหวาน ช่วงแรกลูกค้าอาจไม่เข้าใจ แต่คุณเอก็ไม่ลดละที่จะแนะนำวิธีการกินชาบูสุกี้ที่ถูกต้องช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับลูกค้าอยู่เสมอ
ภาพจาก facebook.com/ThaiMoMoParadise
ความสำเร็จอีกส่วนหนึ่งของ Mo- Mo- Paradise มาจากคุณเอตั้งใจที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดในร้านให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติอาหารอร่อย คุณภาพวัตถุดิบ การบริการที่อบอุ่นเป็นกันเอง
โดยไม่ต้องเสียงบประมาณในทำการตลาดให้คนรู้จัก ลูกค้ามาใช้บริการแล้วประทับใจจึงบอกปากต่อปาก บริษัทจะมีการสร้างคนให้มี DNA เดียวกัน ไม่ว่าลูกค้าจะเดินเข้าไปใช้บริการสาขาไหน ก็จะได้รับรสชาติ คุณภาพ และบริการที่เป็นมาตรฐานเหมือนกัน
รายได้ของบริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด
ภาพจาก facebook.com/ThaiMoMoParadise
- ปี 2561 รายได้ 530,443,254.38 บาท กำไร 26,243,209.43 บาท
- ปี 2562 รายได้ 764,372,071.58 บาท กำไร 49,981,992.23 บาท
- ปี 2563 รายได้ 781,883,741.89 บาท กำไร 85,214,939.28 บาท
สังเกตได้ว่าในปี 2563 เป็นช่วงการระบาดโควิด-19 แต่ Mo- Mo- Paradise ยังสามารถทำยอดขาย ทำรายได้ และผลกำไร ให้กับบริษัทได้ ซึ่งถือว่ามีรายได้มากกว่าช่วงก่อนการระบาดโควิด-19 ด้วยซ้ำ นั่นอาจเป็นเพราะความสามารถในปรับตัให้เข้ากับสถานการณ์ มีการนำบริการเดลิเวอรี่มาปรับใช้ เพิ่มเพิ่มช่องทางในการหารายได้
Mo- Mo- Paradise ไม่ได้ขายแฟรนไชส์
ภาพจาก facebook.com/ThaiMoMoParadise
แม้ว่าร้านชาบูชาบูสุกี้ยากี้ Mo- Mo- Paradise แบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นจะขายแฟรนไชส์ให้กับ “คุณเอ-สุรเวช เตลาน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด
แต่สำหรับในเมืองไทยนั้น Mo- Mo- Paradise ไม่ได้ขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด บริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการเองทั้งหมด เพื่อคุณภาพมาตรฐานที่ดีที่สุดในการส่งมอบให้กับลูกค้า
ข้อมูลจาก https://bit.ly/30nLc7g , https://bit.ly/3owPvFM
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HwpOh0
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)