บอบช้ำหนัก! วิกฤตธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในภาวะการณ์ Covid-19
ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื่อว่ายอดขายแฟรนไชส์ของหลายๆ แบรนด์ จะต้องลดลงอย่างแน่นอน โดยเฉพาะร้านค้าแฟรนไชส์ที่เปิดสาขาบนห้างสรรพสินค้า คอมมิตี้มอลล์ต่างๆ แหล่งท่องเที่ยว ถนนหนทาง เนื่องจากลูกค้าไม่กล้าเสี่ยงไปเดินเพราะกลัวติดจะติดเชื้อ ดังนั้น จึงควรจะหาวิธีที่จะรักษายอดขายให้ได้ และปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจสอดรับวิกฤต
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลวิกฤตแฟรนไชส์ไทยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากการประเมินของสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA) และได้นำข้อมูลเสนอต่อภาครัฐให้ดำเนินการช่วยเหลือแฟรนไชส์ไทย
ภาพจาก SumoCha
สถานการณ์ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นมาตลอด เพราะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อ 36 ปี หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2563 จะเติบโตเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มคนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ แบบไม่ต้องเริ่มต้นสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง แม้แต่กูรูด้านแฟรนไชส์ของไทยยังมองว่า มูลค่าการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยปี 2563 จะสูงถึง 3 แสนล้านบาท
แต่ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์จึงได้รวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดกับแฟรนไชส์ไทย ซึ่งพบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในขณะนี้มีจำนวนมากกว่า 100,000 สาขาทั่วประเทศ มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกว่า 1-5 ล้านคน สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่า 300,000 ล้านบาท ส่วนแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นภาคการศึกษา บริการ ความงาม ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสั่งปิดของภาครัฐ
- แฟรนไชส์การศึกษา ความงาม บริการ ได้รับผลกระทบ 100%
- แฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ได้รับผลกระทบ 50-80%
- แฟรนไชส์งานพิมพ์ หนังสือ วิดีโอ อสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบ 30-50%
- แฟรนไชส์ค้าปลีก ได้รับผลกระทบ 10%
ส่วนแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบมากสุด เช่น แฟรนไชส์กลุ่มการศึกษา ความงาม ฟิตเนส ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ จากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากรัฐบาลได้สั่งให้ปิดสถานศึกษา โรงเรียนกวดวิชาต่างๆ สถานบริการความงาม สปา สถานออกกำลังกายต่างๆ ฟิตเนส สนามมวย ยิม เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสจากการอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ สำหรับแฟรนไชส์การศึกษานั้น จะขาดรายได้และเงินทุนหมุนเวียนอย่างแน่นอน เพราะต้องจ่ายค่าเช่า ค่าจ้างครูผู้สอน และอื่นๆ
ภาพจาก facebook.com/Shipsmileservices
สำหรับแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ก็จะเป็นแฟรนไชส์ค้าปลีก จำพวกร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมถึงแฟรนไชส์บริการเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุ บริการไปรษณีย์ บริการ One Stop Service เพราะยิ่งคนอยู่ในบ้านก็จะมีการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ผู้คนยังต้องการใช้บริการธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเปิดร้านให้บริการในพื้นที่ใกล้ๆ ชุมชน ขณะที่ร้านสะดวกซื้อก็จะได้รับผลกระทบในช่วงเวลาเคอร์ฟิวของรัฐบาลเท่านั้น ช่วงเวลาอื่นลูกค้าแน่นร้าน
ภาพจาก facebook.com/MaruChaoffice
ส่วนแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ที่ได้รับผลกระทบ 50-80% นั้น อาจจะมาจากร้านส่วนใหญ่จะเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าต่างๆ ที่ผู้คนหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปใช้บริการในห้างเพราะกลัวการติดโรค ขณะที่สาขาที่เปิดนอกห้างสรรพสินค้า ตึกแถว หรือ แบบสแตนด์อโลน จะกระทบน้อยเพราะยังให้บริการแบบเดลิเวอรี่ และซื้อกลับไปทานที่บ้านได้
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือแฟรนไชส์ไทย โดย สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA) ได้ยื่นเรื่องเสนอรัฐบาลนั้น อาทิ เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการแฟรนไชส์ 30,000-50,0000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน (เงินให้เปล่า) ลดภาษีค่าใช้จ่ายทุกประเภท เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการระยะเวลา 3-6 เดือน เจรจากับ Landlord ให้ลดค่าเช่าพื้นที่ 80-100% วงเงินกู้สูง 1-5 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขน้อย ระยะเวลา 1-3 ปี รวมถึงการเจรจากับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ลดค่าธรรมเนียม 10-15% ระยะเวลา 3-6 เดือน พร้อมสนับสนุน APP DELIVERY ช่วยเหลือผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย
สำหรับแฟรนไชส์ที่ยังเปิดให้บริการอยู่นั้น ลองปรับรูปแบบให้บริการลูกค้า เช่น กรณีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการลูกค้าในช่วงไวรัสโควิด-19 จากให้ลูกค้านั่งทานตามโต๊ะในร้าน เป็นการให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานที่บ้าน หรือบริการเดลิเวอรี่ ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลก KFC ในประเทศจีน ได้ให้บริการลูกค้าแบบเดลิเวอรี่แบบไม่สัมผัส เว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างลูกค้ากับพนักงานจัดส่งอาหาร เรียกได้ว่าแค่ปรับตัวยอดขายก็ไม่ลดลง มีรายได้เพิ่มด้วยซ้ำ
การส่งเดลิเวอรี่ KFC ในจีน
ภาพจาก bit.ly/2USHgVM
ส่วนในประเทศไทย แฟรนไชส์ “หมูปิ้งเฮียอ้วน” ปรับรูปแบบการขายแฟรนไชส์ จากเดิมขายแฟรนไชส์เป็นชุดขายตามถนนหรือรถเข็น ได้เปลี่ยนมาเป็นการขายแฟรนไชส์ในรูปแบบ “ชุดขายจากบ้าน” มุ่งเน้นการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในบ้าน และนิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ ฟู้ดต่างๆ ซึ่งชุดแฟรนไชส์ดังกล่าวให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถผ่อนชำระผ่อน 0% นาน 10 เดือน โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเปิดแฟรนไชส์ชุดขายจากบ้าน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 40,000 บาท
ภาพจาก facebook.com/fatbrobkk
ทั้งนี้ การปรับตัวของแฟรนไชส์ไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ อาจจะต้องให้ส่วนลดค่าธรรมเนียมต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี เพื่อให้แฟรนไชส์อยู่รอดก้าวพ้นวิกฤตไปด้วยกัน อย่างในกรณีบริษัทแม่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในสหรัฐอเมริกาหลายๆ แบรนด์ได้ให้ส่วนลดค่าธรรมเนียม และค่าสิทธิต่อเนื่องแก่แฟรนไชส์ในช่วงวิกฤตโควิด
ผลกระทบ COVID-19 กับธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและแนวทางช่วยเหลือธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
ผลกระทบ COVID-19 กับธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
- เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีจำนวนมากกว่า 100,000 สาขา ทั่วประเทศ
- มีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1-5 ล้านคน สร้างรายได้มากกว่า 300,000 ล้านบาท
- ส่วนใหญ่เป็นภาคบริการ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงจากการสั่งปิดของภาครัฐ
แนวทางช่วยเหลือธุรกิจแฟรนไชส์ไทย จากข้อเรียกร้องของ สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA)
- เงินช่วยผู้ประกอบการ 30000-50000 ระยะเวลา 3 เดือน
- เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการ ระยะเวลา 3-6 เดือน
- เจรจากับ Landlord ให้ลดค่าเช่าพื้นที่ 80-100%
- ลดค่าใช้จ่ายภาษีทุกประเภท
- เจรจากับ Platform Online ลดค่าธรรมเนียม 10-15% เวลา 3-6 เดือน
- วงเงินกู้สูง (1-5 ล้านบาท) ดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขน้อย -3 ปี
- สร้างอาชีพมากกว่า 100000 ราย/ปี สร้างเม็ดเงินกว่า 2แสนล้านบาท/ปี
- สนับสนุนทำ APP DELIVERY เพื่อช่วยผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย
สร้างอาชีพกว่า 100,000 ราย/ปี สร้างเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี
- ลดเงินทุน 5,000 ล้านบาท
- ให้ส่วนลด 2-5 หมื่นบาท/สาขา
- คัดเลือกแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน
- สนับสนุนเงิน 100 ล้านบาท
- 10,000 บาท/สาขา
- จำนวน 100,000 สาขา
- สร้างแฟรนไชส์ 100,000 สาขา
- สร้างงาน 1-5 ล้านคน
- เงินหมุนเวียน 1-2 แสนล้านบาท
FLA สนับสนุนการทำ APP DELIVERY ของคนไทย เพื่อช่วยผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย
- กรมสันบสนุน 1-10 ล้านบาท เพื่อทำ APP DELIVERY
- สมาคมสนับสนุนแฟรนไชส์ไทย เข้าร่วมกับ APP DELIVERY
- ว่าจ้าง STARUP มืออาชีพ มาบริหารจัดทำไม่เกิน 1 เดือน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- สนับสนุน SME มากกว่า 1 ล้านราย
- ลดค่าดำเนินการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนในภาวะวิกฤต
- สร้าง APP ของประเทศไทยเพื่อสร้าง UNICORN ของประเทศไทย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/39VAhRq