บอกตรง! 10 เหตุผลที่ธุรกิจคุณทำแฟรนไชส์ไม่ได้

เจ้าของธุรกิจ หลายๆ คนต้องการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของตัวเอง ด้วยการขายแฟรนไชส์ เพราะใช้เงินลงทุนต่ำ เพียงแค่ถ่ายทอดระบบธุรกิจให้กับคนอื่นไปดูแลแทนเท่านั้น ที่สำคัญกระจายสินค้าและขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คือ เจ้าของธุรกิจหลายแบรนด์ ไม่สามารถสร้างระบบแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้ ขายแฟรนไชส์ไปแล้ว สุดท้ายล้มหายตายจากทั้งเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiFSMEsCenter.com จะมาบอกเหตุผลว่า ทำไมธุรกิจของคุณจึงไม่ประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ เรียกง่ายๆ ว่า สวาเหตุที่ทำให้ธุรกิจของคุณทำแฟรนไชส์ไม่ได้ เพราะอะไร มาดูกันเลย

1.ธุรกิจถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยาก

l2

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์ ต้องมีความซับซ้อนน้อยที่สุด ระบบการดำเนินงานทางธุรกิจสามารถถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้ง่าย ไม่ยุ่งบาก ซับซ้อนจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่าระบบแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องถ่ายทอดและอมรมขั้นตอนการทำงานต่างๆ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้นำไปปฏิบัติ เพื่อให้ประสบความสำเร็จเหมือนกับบริษัทแม่

สมมุติว่ากิจการคุณคือการแพทย์หรืองานวิศวกรรมที่ต้องเรียนรู้กันเป็น 10 ปี นี่มันยากจะเกินไปทำให้เป็นอุปสรรคในการหาแฟรนไชส์ซีได้ยาก ดังนั้น หากกิจการของคุณมีลักษณะเป็นแบบนี้ คุณก็ต้องหาวิธีการที่ทำให้ง่ายขึ้น

2.ธุรกิจลงทุนสูงจนเกินไป

l8

การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ ไม่ควรสูงเกินไปมากนัก เพราะหลายธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์ในเมืองไทย ได้มีการปิดตัวลงไปจำนวนมาก เพราะสาเหตุที่ลงทุนสูงเกินไป

และจะต้องสร้างยอดขายต่อเดือนมาเท่าไหร่ จึงจะคืนทุนได้ โดยธุรกิจที่มีการลงทุนที่สูงเกินไป ก็อาจจะทำให้หาแฟรนไชส์ซีได้ยาก มีความเสี่ยง และทำให้โอกาสในการขยายตัวได้ยากขึ้นไปด้วย

3.สินค้าและบริการไม่มีจุดเด่นที่แตกต่าง

l4

คุณลองสังเกตร้านปาท่องโก๋แถวบ้าน จะมีร้านหนึ่งที่ขายดีกว่าร้านอื่น มีคนต่อคิวซื้อ แต่บางร้านขายแบบเหงาๆ นั่นเพราะร้านที่ขายดี ต้องมีดีอะไรที่ต่างออกไปอย่างแน่นอน

เช่น น้ำมันทอดสะอาด รสชาติอร่อยกว่า กรอบ สดใหม่ หรือใส่ถุงที่ออกแบบสวยงาม มีเอกลักษณ์ เป็นต้น ถ้าสินค้าและบริการของคุณ ไม่มีจุดเด่นที่ดึงดูดลูกค้าได้ อย่าขายแฟรนไชส์เด็ดขาด

4.มีจำนวนสาขาร้านต้นแบบน้อย

l3

ก่อนจะจะขายแฟรนไชส์ คุณสำรวจตัวเองว่ามีร้านสาขาแล้วหรือยัง เพราะการมีร้านสาขา คือ สิ่งที่จำเป็น เพราะร้านแฟรนไชส์ที่จะเปิดขึ้นตาม ย่อมจะไกลออกไป คุณจะไม่สามารถดูแลได้ ดังนั้น ถ้าคุณมีเพียงสาขาเดียว คุณอาจจะขาดทักษะในการบริหารร้านสาขาที่ทำงาน ในบางประเทศมีกฎหมายแฟรนไชส์ระบุออกมาเลยว่า

คนที่จะขายแฟรนไชส์ได้ต้องมีร้านอย่างน้อย 2 สาขาขึ้นไป จึงจะขายแฟรนไชส์ได้ ซึ่งอีกไม่นานถ้ามีกฎหมายแฟรนไชส์ของไทยออกมาก็จะมีข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน

นั่นเป็นเพราะหากปล่อยให้มีการขายแฟรนไชส์โดยที่บริษัทแม่ ไม่มีความชำนาญพอ และยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารร้านสาขามาก่อนความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์สูง

5.แบรนด์ธุรกิจไม่เป็นที่รู้จัก

l1

การทำแฟรนไชส์ แบรนด์ธุรกิจจะต้องเป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้าง ถ้ายังไม่รู้จักคุณต้องต้องลงทุนในการสร้างแบรนด์ ถ้าสินค้าหรือร้านของคุณไม่เป็นที่รู้จักในตลาดเลย หรือไม่เป็นที่รู้จักในวงการของคุณเลย

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องเหนื่อยและเสี่ยงไปกับการลงทุนนี้ไปด้วย แต่ถ้าสินค้าบริการของคุณมีชื่อเสียงติดตลาด ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปจะมีลูกค้าเข้ามาทันทีที่เปิดร้านช่วงแรก นั่นคือ สุดยอดของกิจการที่มีความเป็นไปได้ในการขยายแฟรนไชส์สูง

6.เป็นธุรกิจแฟชั่นหรือธุรกิจกระแส

l6

เช่น ตุ๊กตาเฟอร์บี้ ที่คนเคยคลั่งไคล้ระยะหนึ่งเป็นความนิยมที่สั้นมาก สินค้าประเภทแฟชั่นแบบนี้ไม่เหมาะในการทำแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ยืนยาว นานจนสืบต่อไปถึงลูกหลาน และตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตลอดช่วงเวลา

นอกจากนี้ ถ้าสินค้าของคุณนานๆ ขายได้ที คนซื้อครั้งเดียวในชีวิตแล้วไม่ซื้ออีก เป็นธุรกิจที่ไม่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ เพราะจะทำให้แฟรนไชส์ซีของคุณเหนื่อยที่จะหาลูกค้าใหม่ๆ

เข้ามาผู้ที่ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ของคุณ ย่อมต้องการความมั่นคงในอาชีพจะดีกว่าไหม ถ้าร้านแฟรนไชส์มีลูกค้าเดิมเป็นหลัก แวะเวียนเข้าร้านสม่ำเสมอที่จะสร้างความมั่นคงให้กับเขา

7.ธุรกิจขาดทุน ไม่มีผลกำไร

l7

กิจการที่คุณทำอยู่มีกำไรแล้วหรือยังถ้า ถ้าในแต่ละเดือนคุณยังขาดทุนอยู่ หรือแต่ละปีทำไปทำมาไม่มีเงินเหลือ แถมยังติดลบหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แสดงว่าธุรกิจของคุณ ยังไม่พร้อมที่จะทำแฟรนไชส์

เพราะถ้าคุณฝืนไปขายแฟรนไชส์ให้คนอื่น นั่นแปลว่าคุณเอาวิธีการทำกิจการที่ไม่ดีไปให้คนอื่นทำตาม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการของคุณมีกำไรทุกเดือน สม่ำเสมอ มียอดขายที่เติบโตในปีหนึ่งๆ มีเงินเหลือเก็บคุณ ก็ผ่านข้อนี้ไปได้

8.ธุรกิจไม่มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาด

ll1

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์แล้ว คุณย่อมรู้ว่ามันมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว อย่าคิดทำแฟรนไชส์เพื่อเป็นงานอดิเรก คุณต้องวางแผน วางเป้าหมายของธุรกิจให้เป็นผู้นำในตลาดให้ได้

เพราะหลักการของแฟรนไชส์ซีในการเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ดีนั้น ก็คือ จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่บริษัทแม่มีเป้าหมายในการเป็นผู้นำตลาด เพราะจะทำให้จุดมุ่งหมายของบริษัทแม่

มุ่งไปสู่การทำยอดขายที่กินแชร์สูงสุดในตลาด มากกว่าการมุ่งขายสินค้าให้กับแฟรนไชส์ซี จะมีผลทำให้ร้านของแฟรนไชส์ซีได้รับผลประโยชน์จากการตั้งเป้าข้อนี้ เช่น 7-Eleven ซีพีออล์มีเป้าหมายในการขยายสาขาที่ชัดเจนในแต่ละปี และวางเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาดร้านสะดวกซื้อในเมืองไทย

9.ธุรกิจได้รับความนิยมเฉพาะบางพื้นที่

ll

เจ้าของธุรกิจต้องรู้ก่อนเลยว่า ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์จะต้องได้รับความนิยมทั่วประเทศ หรือทั่วโลก ถ้าเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมเฉพาะในบางพื้นที่ หรือสินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคบางพื้นที่เท่านั้น

ก็อย่าคิดขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์เป็นอันขาด เพราะขยายสาขาไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อาจขายไม่ได้เลยก็ได้ ดังนั้น ธุรกิจที่เหมาะทำแฟรนไชส์ต้องมีสินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของคนทุกพื้นที่

10.ธุรกิจขาดประสบการณ์ ดำเนินการได้ไม่นาน

l9

กิจการของคุณอาจจะมีผลกำไรจริงอยู่ แต่ร้านของคุณเปิดมานานหรือยัง หลายคนโดยเฉพาะกิจการของคนรุ่นใหม่บางรายมีไอเดียเด็ดเปิดร้านขึ้นมามีคนมาใช้บริการจำนวนมากก็ดีใจ คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จแล้ว ต้องขายแฟรนไชส์รวยแน่ๆ แต่มันยังไม่ใช่เพราะการขายแฟรนไชส์ คือ การขายประสบการณ์ในการทำธุรกิจ

คนที่ควักกระเป๋ามาซื้อแฟรนไชส์ของคุณ เขาไม่ได้ซื้อสินค้าของคุณ เขาซื้อประสบการณ์ของคุณต่างหาก การที่คุณเปิดร้านมา 1 ปี คุณมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจเพียงพอแล้วหรือยัง ที่จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของคุณไปให้เขา

การขายแฟรนไชส์โดยประสบการณ์ที่ยังไม่แข็งแรง จะกลายเป็นความเสี่ยงของผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์ จะดีกว่ามั้ยถ้าคุณมีประสบการณ์มากหน่อย อย่างน้อย 4-5 ปีขึ้นไป

เพียงพอที่ทำให้มั่นใจว่าคุณชำนาญการธุรกิจของคุณจริงๆ เพียงพอที่จะถ่ายทอดกลยุทธ์ต่างๆ พร้อมวิธีการรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างราบรื่นและได้ผลกำไรตามเป้าที่วางเอาไว้

ทั้งหมดเป็น 10 เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจไม่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจที่กำลังคิดจะขายแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่าสิค้าและบริการของตัวเองได้รับความนิยมจากลูกค้าแล้ว คิดจะขายแฟรนไชส์เลย สุดท้ายเจ๊งแน่นอนครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ wgoo.gl/HRFtVu
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน goo.gl/HDEmVG

Franchise Tips

  1. ธุรกิจถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยาก
  2. ธุรกิจลงทุนสูงจนเกินไป
  3. สินค้าและบริการไม่มีจุดเด่นที่แตกต่าง
  4. มีจำนวนสาขาร้านต้นแบบน้อย
  5. แบรนด์ธุรกิจไม่เป็นที่รู้จัก
  6. เป็นธุรกิจแฟชั่นหรือธุรกิจกระแส
  7. ธุรกิจขาดทุน ไม่มีผลกำไร
  8. ธุรกิจไม่มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาด
  9. ธุรกิจได้รับความนิยมเฉพาะบางพื้นที่
  10. ธุรกิจขาดประสบการณ์ ดำเนินการได้ไม่นาน

อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/JbGATG

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2UOnNZX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช