น้ำแข็งใน 7-Eleven มีกี่ชนิด? อะไรบ้าง?
เวลาเดินเข้า 7-Eleven ส่วนใหญ่เราจะไปซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ขนม ของใช้ ไม่เว้นแม้กระทั่งไปซื้อ “น้ำแข็ง” สมัยก่อนจะมีร้านสะดวกซื้อเรานิยม “ซื้อน้ำแข็งตัก” ตามร้านโชห่วย ราคาประมาณตักละ 10 บาท จะเอามากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่เรา
เมื่อมี 7-Eleven www.ThaiSMEsCenter.com มันก็ทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้น แต่ด้วยความเคยชินบางทีเราก็ไม่รู้หรอกกว่าน้ำแข็งใน 7-Eleven ที่จริงมันมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
1.น้ำแข็งยูนิต
เป็นสินค้าขายดีมาก ส่วนใหญ่รถส่งน้ำแข็งยูนิตจะมาส่งสินค้าที่7-Eleven ต้อนเช้ามืด ใครที่มาซื้อน้ำแข็งยูนิตในตอนเช้าๆ มักจะไม่พลาดที่จะได้สินค้าแต่ถ้ามาซื้อตอนบ่ายหรือตอนเย็นบางทีน้ำแข็งยูนิตถุงละ 10 บาท อาจจะเกลี้ยงตู้ได้
ข้อดีของน้ำแข็งยูนิตคือก้อนใหญ่ ราคาไม่แพง แต่มักจะมีปัญหาว่าน้ำแข็งชอบติดกันเป็นก้อนใหญ่ เวลาใช้ต้องเอามาทุบให้แตกจากกันก่อน เนื้อน้ำแข็งแต่ละก้อนค่อนข้างร่วนและละลายเร็วไปนิด ยิ่งถ้าอากาศร้อนๆ ซื้อน้ำแข็งยูนิตไปกว่าจะถึงบ้านละลายไปซะเยอะแล้ว
2.กดเองแบบเกร็ด (กดใส่ถุง)
ภาพจาก https://citly.me/TDHPU
น้ำแข็งอีกแบบที่ขายดีไม่แพ้กันก็คือน้ำแข็งจากตู้กดอัตโนมัติใน 7-Eleven อันนี้บางสาขาก็มีบางสาขาก็ไม่มีจำหน่าย จะมีถุงสำหรับใส่น้ำแข็งไว้บริการ ลูกค้าก็เอาถุงมากดน้ำแข็งได้จากตู้ ลักษณะเป็นน้ำแข็งเกล็ด อันเล็ก มีความกรอบร่วน เวลากดใส่ถุงเรามักจะเขย่าๆ ให้น้ำแข็งมันลงไปอัดแน่นจะได้ปริมาณน้ำแข็งเยอะขึ้น โดยน้ำแข็งแบบนี้ส่วนใหญ่จะเอาไปใส่กับเครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชานม ชาเขียว กาแฟเย็น เป็นต้น เพราะจะไม่ทำให้เสียรสชาติเวลาที่เราสั่งเครื่องดื่มจากเคาน์เตอร์บริการใน 7-Eleven ก็จะใช้น้ำแข็งแบบนี้
3.น้ำแข็งกดเองแบบก้อน
ภาพจาก facebook.com/7ElevenThailand
นอกจากน้ำแข็งเกร็ด ยังมีน้ำแข็งอีกแบบแต่ลักษณะจะไม่ใช่น้ำแข็งให้เรากดใส่ถุง แต่อันนี้จะเป็นน้ำแข็งที่ต้องกดใส่แก้ว เรียกว่าเป็นน้ำแข็งก้อน รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมมีความบาง เหมาะสำหรับการใช้ควบคู่กับเครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ ใช้งานง่าย ละลายเร็ว และยังเป็นชนิดน้ำแข็งที่นิยมใช้สำหรับร้านกาแฟและคาเฟ่อีกด้วย เพราะว่าตัวน้ำแข็งสามารถเข้ากับเครื่องปั่นได้เป็นอย่างดี
4.น้ำแข็งร็อกไอซ์
น้ำแข็งตัวแพงสุดใน 7-Eleven ก็คือ ร็อกไอซ์ ลักษณะคล้ายกันกับน้ำแข็งยูนิต ซึ่งก็วางขายอยู่ในตู้น้ำแข็งเดียวกัน บางทีหาซื้อยูนิตไม่ได้ก็ต้องหันมาคว้าร็อกไอซ์แทน โดยน้ำแข็งร็อกไอซ์ราคา 12 บาท แม้จะแพงขึ้นมาหน่อยแต่มีข้อดีที่หลายคนชอบเพราะเป็นน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยม มีความใส สะอาด
เพราะมีวิธีการผลิตที่พิถีพิถัน ตัวน้ำแข็งมีความหนาแน่น ละลายช้ากว่าน้ำแข็งชนิดอื่นๆ ตัวน้ำแข็งมีความแข็งมาก ทุบให้แตกยากกว่าน้ำแข็งหลอด เหมาะสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ต้องการคงรสชาติเหมือนเดิม และต้องการให้เครื่องดื่มมีความเย็นนานๆ
และอยากรู้ไหมว่าน้ำแข็งแบบไหนใน 7-Eleven ที่คุ้มค่าเงินเรามากที่สุด?
ถ้าวัดกันที่อัตราการละลาย น้ำแข็งกดเองแบบเกร็ดละลายง่ายและไวมากที่สุด ตามมาด้วยน้ำแข็งกดเองแบบก้อน และน้ำแข็งยูนิต ส่วนละลายช้าที่สุดคือร็อกไอซ์ เมื่อเทียบกับราคาและอัตราการละลาย ก็พบว่าน้ำแข็งยูนิตดูจะคุ้มค่ามากที่สุดเพราะราคาไม่แพง
แต่ได้ปริมาณเยอะ คุ้มค่ากับคนซื้อมากที่สุด ตามมาด้วยน้ำแข็งกดเองแบบก้อน น้ำแข็งกดเองแบบเกร็ด ส่วนร็อกไอซ์เทียบในแง่ราคาอาจจะคุ้มค่าน้อยสุดแต่น้ำแข็งร็อกไอซ์มีข้อดีที่น้ำแข็งประเภทอื่นไม่มี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบและการใช้งานของแต่ละคนด้วย
เรื่องน่ารู้! น้ำแข็ง 7-Eleven
ภาพจาก https://citly.me/9MxRh
หลายคนบอกว่าทำไมน้ำแข็ง 7-Eleven เคี้ยวกรุบกรอบ อร่อยไม่เหมือนน้ำแข็งที่อื่น นั่นเพราะว่ากรรมวิธีในการผลิต เขาเลือกใช้เครื่องทำน้ำแข็งรุ่นที่มีฟองอากาศเข้าไปได้เยอะมาก พอมีฟองอากาศเยอะ ก็จะกลายเป็นน้ำแข็งที่มีโพรงอากาศเยอะ ก็จะทำให้สีขุ่น,เคี้ยวง่าย,กรุบกรอบ แต่มันก็จะละลายไวมากขึ้นเช่นกัน
ส่วนอีกเรื่องที่หลายคนน่าจะไม่รู้เหมือนกันคือก่อนจะมาเป็น 7-Eleven ธุรกิจแรกเริ่มเดิมทีคือบริษัท Southland Ice ที่ดำเนินกิจการผลิตและขายน้ำแข็งในเมือง Dallas จนภายหลังได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น Tote’m Store
ในช่วงแรกร้านเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 7.00 AM ถึง 11.00 PM ซึ่งเป็นช่วงเวลาทำการที่แปลกใหม่ในตอนนั้น ต่อมาเมื่อปี 1946 จึงได้เปลี่ยนชื่อร้านตามเอกลักษณ์เป็น 7-Eleven และถูกเทคโอเวอร์ในปี 1991 โดย Ito-Yokoda (บริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจร้านค้าปลีก) และ 7-Eleven Japan สุดท้ายในปี 2005 Ito-Yokado ได้ตั้งบริษัท Seven & I Holdings ขึ้น และ 7-Eleven ได้กลายเป็นบริษัทลูกนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/1lFQL , https://citly.me/IGjQf , https://citly.me/q5sUe , https://citly.me/eq7s8
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)