น้ำแข็งแบบไหน? ที่เหมาะสำหรับร้านชานม
เรื่อง “น้ำแข็ง” สำหรับร้านชานม มีความสำคัญมากกว่าที่คิด ถ้าคนไม่รู้ก็คิดว่า น้ำแข็งแบบไหน ก็เหมือนๆ กัน แต่ที่จริงน้ำแข็งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้ด้วย ดังนั้นเคล็ดไม่ลับที่ www.ThaiSMEsCenter.com อยากบอกคือวิธีการเลือกใช้น้ำแข็งสำหรับร้านชานมที่ถูกต้อง ที่จะเสริมให้ชานมของเราอร่อยมากยิ่งขึ้น
ต้นทุน “น้ำแข็ง” กับ ร้านชานม
ชานม 1 แก้วมีต้นทุนรวมกันหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ ชา , ครีมเทียม , น้ำตาลทราย , ไข่มุก , แก้ว+ฝา , หลอด รวมถึง “น้ำแข็ง” ลองคิดง่าย ๆ ถ้าน้ำแข็งกระสอบละ 55 บาท จะใช้ทำชานมได้ประมาณ 40 แก้ว ต้นทุนน้ำแข็งต่อแก้วประมาณ 1.4 บาท แต่สำหรับร้านที่มีลูกค้าเยอะ หรือร้านขนาดใหญ่ ปริมาณการใช้น้ำแข็งต่อวันก็มากขึ้น ผันแปรกับการขายที่ต้องมากขึ้น ซึ่งถือว่าต้นทุนน้ำแข็งเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักที่สำคัญมาก
แต่ปัญหาไม่ได้มีแค่นั้นเครื่องดื่มบางอย่างทำมาอร่อยมากแต่พอเทน้ำแข็งลงไป รสชาติกลับไม่เข้มข้นเหมือนเดิม แม้จะใช้วิธีในการคำนวณแบบง่ายๆที่หลายร้านใช้กันอย่างน้ำแข็งเต็มแก้ว 16 oz จะต้องใส่เครื่องดื่มที่ผสมส่วนผสมตามสูตรแล้วปริมาณ 6 oz หรือ 180 ml ถึงจะได้เครื่องดื่ม และ น้ำแข็ง ที่เต็มแก้วขนาด 16oz พอดิบพอดี แต่ก็กลับเจอปัญหาอีกที่ บางครั้งแค่เปลี่ยนแบบน้ำแข็งที่ใช้ในการชงเครื่องดื่มรสชาติก็เปลี่ยน เพราะหลายคนคิดไม่ถึงว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ
น้ำแข็งแบบไหน? เหมาะสมกับร้านชานมมากที่สุด
ร้านชานมส่วนใหญ่จะเลือกใช้ “น้ำแข็งหลอดก้อนเล็ก” เหตุผลก็คือเป็นน้ำแข็งที่มีรูข้างในทำให้มีผิวสัมผัสเยอะ ก้อนใสไม่มีตะกอน ให้ความเย็นนานกว่า 3-4 ชม. นิยม ใช้กันมากใช้ได้ทั้งเมนูเย็น และเมนูปั่น
ส่วนอีกแบบที่เห็นในร้านชานมได้เช่นกันคือ “น้ำแข็งหลอดใหญ่” ลักษณะเป็นหลอด หรือเป็น กระสุน ขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นน้ำแข็ง ที่มีลักษณะใหญ่ เมื่อใส่ลงไปในแก้วแล้ว ปริมาณน้ำชาที่เทลงไป ก็จะน้อยลงได้ด้วย แต่ในแง่ความสวยความงามหรือพูดถึงความเหมาะสม น้ำแข็งหลอดเล็กดูจะเป็นที่ถูกใจลูกค้ามากกว่าเพราะรู้สึกว่าคุ้มค่ากับการจ่ายเงินซื้อ
อันที่จริงก็ยังมีน้ำแข็งอีกหลายแบบที่น่าสนใจแต่ไม่แนะนำให้ใช้กับร้านชานมเพราะดูไม่เข้ากันอย่างแรง แทนที่จะได้ลูกค้าอาจกลายเป็นเสียลูกค้าได้ มีน้ำแข็งอะไรบ้างลองไปดู
- น้ำเเข็งบดหยาบ แม้จะเป็นน้ำแข็งที่ใช้กับเครื่องดื่มหรือเมนูปั่นได้ แต่ปัญหาคือละลายเร็วและไม่สวยงาม อาจทำให้เมนูชานมของเราดูด้อยค่าลงได้
- น้ำเเข็งบดละเอียด สำหรับน้ำแข็งประเภทนี้ไม่เหมาะกับใช้ในเครื่องดื่มแต่เหมาะกับเมนูน้ำแข็งไสมากกว่า เพราะความหนาแน่น จึงทำให้ ง่ายต่อการเทแยกชั้นทำให้เมนูดูมีสีสันสวยงามได้ง่าย
- น้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยม มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคุณสมบัติการละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน แต่ปัญหาคือมีต้นทุนสูง ไม่เหมาะกับร้านชานมแบบทั่วไป
- น้ำแข็งถ้วย เป็นน้ำแข็งแบบพรีเมี่ยม ผลิตจากบล็อคน้ำแข็งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีรูตรงกลางเหมือนน้ำแข็งทั่วไป ทำให้ละลายช้า ไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน บวกกับความที่ก้อนน้ำแข็งมีขนาดใหญ่และหนา มีความแวววาว สวยงาม นิยมใส่น้ำแข็งถ้วยในเครื่องดื่มที่ดูดีมีระดับ เลิศหรู ราคาแพง เหมาะสำหรับเครื่องดื่มระดับ High-end
เทคนิคการ “ใช้น้ำแข็ง” ในร้านชานม ที่ควรรู้
เมื่อรู้ว่า “น้ำแข็งหลอดเล็ก” นั้นเหมาะสมกับการใช้ในร้านชานมมากที่สุด แต่เทคนิคการใช้ก็น่าสนใจและควรรู้ไว้ อย่างแรกคือต้องพยายามทำให้ชา กาแฟ เย็นที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจะเอาไปเทใส่น้ำแข็ง บางร้านก็ใช้วิธีการเอาเอสเฟรสโซ่ช็อตไปแช่ในถังน้ำแข็ง หรือนมที่ต้องใส่ในเครื่องดื่มแก้วนั้นก็แช่เย็นไว้ตลอด จะช่วยให้เวลาเทใส่น้ำแข็ง น้ำแข็งจะละลายช้าลง
และการใส่น้ำแข็งก่อน ราดน้ำเครื่องดื่มที่ผสมแล้วตามลงไป จะทำให้เครื่องดื่มนั้นละลายเอาน้ำแข็งลงไปด้วย ทำให้รสชาติอาจจืดลง แต่ถ้าใส่เครื่องดื่มก่อน แล้วค่อยตักน้ำแข็งใส่ลงไป วิธีนี้อาจทำให้เครื่องดื่มบริเวณด้านล่างยังอุ่นอยู่ ก็เป็นปัญหาที่ลูกค้าจะรู้สึกว่าไม่เย็นชื่นใจ วิธีที่ดีที่สุดคือ ใส่น้ำแข็งลงไปส่วนหนึ่งก่อน แล้วเติมเครื่องดื่มลงไป เอาช้อนคนให้เข้ากันแล้วค่อยเติมน้ำแข็งให้เต็มแก้ว ปิดฝาเสิร์ฟ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกเย็นชื่นใจได้มากที่สุด
อันที่จริงเรื่องของน้ำแข็งอาจเป็นเรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อย ร้านชานมส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ แต่หากเรามองจุดเล็กน้อยเหล่านี้และใส่ใจให้มากขึ้น ทั้งเรื่องความสะอาด การชง การเสิร์ฟ จะช่วยให้ลูกค้าประทับใจและรู้สึกอยากเป็นลูกค้าประจำ ดีไม่ดีอาจบอกต่อเพื่อนพ่อแม่พี่น้องให้มาซื้อ กลายเป็นการตลาดปากต่อปากที่ช่วยให้ร้านขายดียิ่งขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://golink.icu/5SZhZwo , https://golink.icu/Gxe3b9e , https://golink.icu/ExfiowO
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)