น่าจับตา! ธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม ปี 2020 ตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะในเวียดนามที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเริ่มมีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2533
โดยแบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ด ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Texas Chicken, KFC, Lotteria และ Jollibee การเติบโตของ ธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมากนำเสนอให้ทราบ
แบรนด์แฟรนไชส์ท้องถิ่นเวียดนามท้ารบแบรนด์ต่างชาติ
ภาพจาก bit.ly/2MORzqu
นอกจากแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศแล้ว ยังมีแบรนด์แฟรนไชส์ท้องถิ่นของเวียดนาม ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นรายแรกๆ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเวียดนาม อาทิ Trung Nguyen (แบรนด์สินค้ากาแฟและร้านกาแฟ), Pho 24 (แบรนด์ร้านอาหารประเภทเส้น) และ Pho 2000 (แบรนด์ร้านอาหารประเภทเส้น) และร้านเสื้อผ้า Maxx เป็นต้น
จากข้อมูลของสมาคมแฟรนไชส์นานาชาติพบว่า ปัจจุบันเวียดนามมีการขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในอันดับที่ 9 จาก 12 อันดับของตลาดที่มีการอัตราการขยายตัวสูงสุดในธุรกิจดังกล่าว
โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม (The Ministry of Industry and Trade : MOIT) ให้ข้อมูลว่า ในปี 2561 มีแบรนด์จากต่างประเทศกว่า 213 แบรนด์ ที่มีการจดทะเบียนธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามในหลายประเภทธุรกิจ
ภาพจาก www.facebook.com/pho24.24giavitinhte/
โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ เบเกอรี่ ร้านกาแฟ ร้านอาหารร้านขายยา และธุรกิจบริการด้านความงาม ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ซึ่งครอบคลุมร้านอาหาร ร้าน Fast food เบเกอรี่ และเครื่องดื่ม โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และฟิลิปปินส์
สาเหตุที่แบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเป็นที่นิยมในประเทศเวียดนาม เนื่องจากผู้บริโภคชาวเวียดนาม เชื่อว่าแบรนด์จากต่างประเทศมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการจากแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศดังกล่าวอย่างรวดเร็ว
ผู้บริโภคเวียดนามนิยมซื้ออาหารและเครื่องดื่มมากสุด
ภาพจาก www.facebook.com/Pho2000Saigon/
นอกจากนี้ จากข้อมูลของเครือข่ายธุรกิจสหภาพยุโรป-เวียดนาม พบว่าแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในเวียดนามมีการเติบโตอย่างมาก โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของยอดขาย ระหว่างปี 2017-2021 เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 11.3 ต่อปี โดยในปี 2561 มีมูลค่าเกือบ 29.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้พบว่า รายได้ภาคครัวเรือนของชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 20 ถูกใช้ไปกับการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ประมาณการว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของคนเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และคาดว่าเวียดนามจะอยู่ 1 ใน 3 อันดับของภูมิภาคอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดในปี 2020
และ Business Monitor International (BMI) ยังชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้นในเอเชีย โดยคาดว่าจะมีการเติบโตในระหว่างปี 2559-2562
สูงถึงร้อยละ 16.1
การเติบโตแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม
ภาพจาก bit.ly/37sXPw7
ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ในเวียดนามอยู่ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะแบรนด์แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ ไก่ทอด และพิซซ่าระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันเวียดนามยังเป็นอีกหนึ่งตลาด ในการเติบโตของตลาดกาแฟในเอเชีย Coffee Bean & Tea Leaf โดยได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และ Coffee’s New Orleans ของ PJ ได้เปิดตัวในโฮจิมินห์ซิตี้ (ไซ่ง่อน) แฟรนไชส์ด้านการศึกษามีมูลค่าสูง ทั้งในด้านการฝึกอบรม ด้านการจัดการ และด้านการศึกษาของเด็ก
สำหรับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม เช่น KFC, Pizza Hut, Lotteria, Jollibee, McDonald; s, เบอร์เกอร์คิง, โดมิโน, สตาร์บัคส์, แดรี่ควีน, บริษัท เดอะพิซซ่าคอมปะนี, บาสกิ้น – ร็อบบินส์, 7-Eleven, Circle K, GS25 และอีกมากมาย โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มาจาก ไต้หวัน, เกาหลี, สิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศอื่น ๆ
สามารถพบได้ในสองเมืองหลักของเวียดนาม, โฮจิมินห์ซิตี้ (เมืองหลวงการค้า) และฮานอย (เมืองหลวงของประเทศ) แฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดยังคงถูกครอบงำ โดยแบรนด์ QSR เช่น KFC, Lotteria, Jollibee, Domino’s, McDonald’s และแบรนด์ท้องถิ่นและต่างประเทศจำนวนมากในภาคนี้
รูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม
แบรนด์แฟรนไชส์ท้องถิ่น
ภาพจาก bit.ly/2ucpP8N
จากข้อมูลของบริษัท Thomson Reuters ระบุว่า รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่จัดตั้งขึ้นในเวียดนามมีหลายรูปแบบ อาทิ แบบสัญญาแฟรนไชส์โดยตรง (Direct franchising) ซึ่งเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ให้สิทธิ์ในการเปิดแฟรนไชส์สำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ (Franchisee) เพียงสาขาเดียวเท่านั้น แบบสัญญาแฟรนไชส์หลัก (Master franchise agreements) เป็นสัญญาแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ์ในการเปิดสาขามากกว่า 1 สาขา และสามารถให้สิทธิ์ต่อรูปแบบ Sub- franchisee ได้
นอกจากนั้น ยังมีสัญญาแบบ Development Agreements ซึ่งพัฒนาเป็นการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ในเขตพื้นที่ ประเทศ หรือระดับภูมิภาค แต่การให้สิทธิแบบสัญญาแฟรนไชส์โดยตรง (Direct franchising) ยังคงเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
แบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติ
ภาพจาก bit.ly/2QHUhiH
รูปแบบการนำแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาเปิดดำเนินการในเวียดนามมีหลากหลาย ทั้งแบบสัญญาแฟรนไชส์โดยตรง (Direct franchising) ที่มีการพัฒนาให้สิทธิ์ในการเปิดกิจการได้มากว่า 1 แห่ง ตัวอย่างเช่น รูปแบบแฟรนไชส์ที่มีการให้สิทธิ์ในการเปิดดำเนินธุรกิจได้หลายสาขา (multi-unit) หรือ การให้สิทธิ์แบบ Development agreementsรวมทั้งแบบสัญญาแฟรนไชส์หลัก (Master franchiseagreements)
โดยทั่วไปการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ เจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) มักจะต้องการหา Franchisee ที่สามารถขยายธุรกิจในพื้นที่ให้เติบโตได้ ดังนั้น การขายสิทธิแฟรนไชส์แบบมีสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง (singleunit franchising) จึงไม่เป็นที่นิยม
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม
ภาพจาก bit.ly/2ZKY7f6
1.เวียดนามมีสัดส่วนประชากรวัยหนุ่มสาวที่ค่อนข้างสูง : ประชากรร้อยละ 65 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และประชากรกลุ่มดังกล่าว ร้อยละ 37 อาศัยในเขตเมือง โดยมีรายได้ต่อหัว (GDP per Capita) ประมาณ 2,150 เหรียญสหรัฐต่อปี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
2.เวียดนามมีการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางค่อนข้างมาก : ปัจจุบันมีกลุ่มชนชั้นกลางในเวียดนามกว่า 12 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านคนในปี 2020 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และนิยมสินค้าที่มีคุณภาพดี ทำให้แนวโน้มร้านค้าประเภทซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้า จะได้รับความนิยมอย่างมากในอนาคต
โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่างโฮจิมินห์และฮานอย ซึ่งมีชนชั้นกลางจำนวนมาก ขณะที่เมืองรองลงมาอย่างดานัง ไฮฟอง, และเกิ่นเทอ กำลังมีการเติบโตของชนชั้นกลางเช่นกัน อีกทั้งพบว่าผู้บริโภคในชนบทมีแนวโน้มชื่นชอบทดลองแบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมผู้ค้าปลีกเวียดนาม พบว่า ร้อยละ 77 มีผู้บริโภคในชนบทที่ต้องการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และร้อยละ 95 รู้สึกชื่นชอบสินค้าที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย
3.การอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ในเวียดนามได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552
4.การเติบโตของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในเมืองสำคัญของเวียดนาม อย่างโฮจิมินห์ ฮานอย ดานัง เกิ่นเทอ ไฮฟอง และ ญาจาง ทำให้มีช่องทางใหม่ๆ ในการขยายธุรกิจ
5.การจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ ในประเทศเวียดนาม เป็นโอกาสทางธุรกิจของแฟรนไชส์สำหรับ Franchisor ในการหาผู้ร่วมลงทุน แ ล ะ Franchisee ในการหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ
รูปแบบของการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม
ภาพจาก bit.ly/2MNjUxq
สำหรับรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถดำเนินการในเวียดนามมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1.ลงทุนร่วมกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาวเวียดนามโดยเป็นการลงทุนลักษณะ Offshore
- ประหยัดต้นทุนในการจัดตั้งธุรกิจในเวียดนาม
- การควบคุมการดำเนินงานของแฟรนไชส์ท้องถิ่นทำได้ยาก
- มีอุปสรรคในการสื่อสารและมีต้นทุนการขนส่งระหว่างต่างประเทศที่สูง
2.การจัดตั้งกิจการในแบบบริษัทต่างชาติ(Foreign – own company) ซึ่งสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 100 โดยการเปิดเป็นสำนักงานสาขาหรือบริษัทร่วมทุน (Joint venture enterprise)
- มีประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพโดยตรงผ่านเครือข่ายแฟรนไชส์ท้องถิ่น
3.การควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions (M&A))
- ประหยัดต้นทุนในการจัดตั้งกิจการและสร้างแบรนด์ใหม่ในเวียดนาม
- สามารถซื้อหรือควบรวมกิจการกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในประเทศ และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงอยู่แล้ว
- มีขั้นตอนเกี่ยวกับกฎระเบียบในพิจารณาอนุมัติการควบรวมและการซื้อกิจการที่ซับซ้อน และใช้เวลานาน ทำให้เกิดความล่าช้า และต้นทุนในขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์
จะเห็นได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่แนวคิดธุรกิจรูปแบบใหม่ในประเทศเวียดนามอีกต่อไป ขณะนี้แบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกามีจำนวนมาก และเวียดนามก็ได้พัฒนาแบรนด์แฟรนไชส์ของตนเองแข่งขันในตลาดด้วย ที่สำคัญเวียดนามกำลังอยู่ระหว่างการผ่อนคลายกฎหมายและกฎเกณฑ์แฟรนไชส์ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/2MZ9jzK