นโยบายผู้ว่าฯ กทม. กับธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2022
นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ “คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ที่น่าสนใจชวนจับตามอง สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้า นั่นก็คือ นโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปากท้อง ช่องทางทำหากิน ช่องทางทำมาค้าขาย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่
นโยบายด้านเศรษฐกิจดังกล่าว มีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะมีสอดคล้องและเกื้อหนุนต่อธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยอย่างไร มาดูกันครับ
นโยบาย…ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ
ภาพจาก https://bit.ly/38LzQP0
แต่ละย่านของกรุงเทพฯ มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีสินค้า กิจกรรม หรือบริการ ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แต่หลายๆ ย่านขาดการรวมกลุ่ม ในขณะที่บางแห่งขาดการประชาสัมพันธ์หรือกลไกจากภาครัฐสนับสนุน
กทม. จะพัฒนาการเชื่อมต่อของแต่ละย่านให้เข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมองค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในพื้นที่ การช่วยประสานงานกับสถาบันทางการเงินเพื่อหาสินเชื่อต้นทุนต่ำ ช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักลูกค้าและนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายที่ย่าน (เช่น การจัด one day trip การจัดถนนคนเดิน) และการเสริมกิจกรรมจนกลายเป็นย่านที่แข็งแรง ดึงดูดผู้คนเข้ามาและเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy District), ย่านธุรกิจ-เศรษฐกิจการค้า, ย่านรับจ้างผลิต OEM (Original Equipment Manufacturer), ย่านสตรีทฟู้ด, ย่านที่เป็น Node สำคัญ, ย่านนวัตกรรม
นโยบาย…ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ
ภาพจาก https://bit.ly/38LzQP0
ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ ได้โอกาสในการเข้าถึงพื้นที่จำหน่ายสินค้าของตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนเม็ดเงินกันภายในพื้นที่รายละเอียดคร่าวๆ ของนโยบายดังกล่าว คือ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ SMEs มีข้อจำกัดทางข้อมูลในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในมิติความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี มิติเครือข่ายในการค้า
ดังนั้น กทม.จะรวบรวมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายร้านกทม.และร้านชุมชน พร้อมกับวิธีการและแนวทางในการเข้าถึงช่องทางเหล่านี้เป็นแค็ตตาล็อก ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้เลือกและใช้งาน ซึ่งจะสามารถช่วยต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของธุรกิจและเม็ดเงินระหว่างกันภายในเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ
นโยบาย…ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต
ประโยชน์ของนโยบาย คือ เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและช่องทางการขายสำหรับการประกอบธุรกิจของรายย่อย และเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริโภค และได้สนับสนุนผู้ค้ารายย่อย ผู้ว่าฯ กทม.จะจัดหาพื้นที่พัฒนาตลาดนัดประจำชุมชนประจำเขต เพื่อให้ประชาชนได้พื้นที่ค้าขายที่ค่าเช่าต่ำ โดยพิจารณาพื้นที่ราชการของ กทม. หรือปิดถนนคนเดินบางเส้นทาง
นโยบาย…ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch
ภาพจาก https://bit.ly/38EIyyE
ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ร้านค้าและผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความสร้างสรรค์ได้ รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่น่าสนใจมากขึ้น
ที่ผ่านมากทม.ยังขาดการดำเนินการด้านเศรษฐกิจระดับเมืองแม้มีอำนาจและกลไกที่ใช้ได้ ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ เศรษฐกิจที่ใช้ความคิดสรรสร้างเป็นผลผลิตและใช้เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในทุกระดับ
กทม.จะประสานงานกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน ตลอดจนผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคในอนาคต รวมถึงผลักดันอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรม eSports แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ตลอดจนอุตสาหกรรมที่มีคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สำหรับทางด้านการบริการ (Hi-Touch) กทม.ต้องผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ เช่น สปา-นวดแผนไทย อาหาร สตรีทฟู้ด ช้อปปิ้งซื้อ-ขายสินค้า (shopping destination) ตลอดจนการแสดงศิลปวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์และมูลค่าสูง (value creation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กทม.จะดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ จัดนิทรรศการตลอดจนประชาสัมพันธ์งานเทศกาลของเมือง (City Event) เพื่อดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงเชื่อมโยงความร่วมมือของผู้ประกอบการเอกชน และกลุ่มอุตสาหกรรมเชื่อมโยงสู่หลักสูตรของสถานศึกษาในกรุงเทพฯ และศูนย์ฝึกอาชีพ เพื่อจับคู่อาชีพทักษะขั้นสูงกับความต้องการตลาด
นโยบายผู้ว่าฯ กทม.เกื้อหนุน…แฟรนไชส์
ภาพจาก https://bit.ly/3GaDyxQ
หากวิเคราะห์นโยบายด้านเศรษฐกิจของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ จะพบว่า มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้มีช่องทางทำมาหากิน ช่องทางในการค้าขาย โดยกทม.จะเป็นผู้จัดหาพื้นที่เปิดร้านค้าขายให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งก็รวมไปถึงผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม สตรีทฟู้ด ค้าปลีก สปา-นวดแผนไทย ฯลฯ
โดยเฉพาะเรื่องของแฟรนไชส์อาหารไทย และสปา-นวดแผนไทย หากกทม.สามารถจัดหาทำเลในการเปิดร้านเพื่อปั้นให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสอดรับกับแทรนด์แฟรนไชส์ในปี 2022 ที่เน้นด้านความสะดวกซื้อ สะดวกทาน ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้จะเหมาะสำหรับทำเลแนวสตรีทฟู้ด ปิดถนนคนเดิน เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 3 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ราวๆ 15,000 – 20,000 ราย โดยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 รองลงมา คือ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มธุรกิจบริการ กลุ่มธุรกิจความงามและสปา และกลุ่มธุรกิจการศึกษา
ข้อมูลจาก https://www.chadchart.com/policy/
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Gks9vt
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)