นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร

เชื่อว่าหลายคนเคยเจอคน 2 ประเภทมาแล้ว นักธุรกิจ กับ นักธุรโกย เป็นพวกหวังรวยเร็ว ไม่มั่นคง ทำธุรกิจตามกระแส เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม แรกๆ พอได้เงิน สุดท้ายเจ๊งไปตามกัน ส่วนนักธุรกิจจะมองการณ์ไกล ลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ยกตัวอย่างทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์เคยสัมภาษณ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” 2 คน ทั้งสองมีมุมมองในการทำธุรกิจที่เหมือนกัน บอกเหตุผลที่ซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน เพราะความมั่นคง มีความยั่งยืนระยะยาว

อีกทั้งแบรนด์คาเฟ่ อเมซอน มีความแข็งแกร่ง เกือบทุกคนรู้จัก ขายได้ง่าย ระบบแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนมีความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งทีมการตลาด จัดส่งวัตถุดิบ ทีมซอฟต์แวร์ ไอที ทีมดีไซน์ เป็นต้น เปิดร้านแล้วไม่เหนื่อย ไม่ยุ่งยาก

นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร

แฟรนไชส์ซีคาเฟ่อเมซอนทั้งสองคน เป็นคนมีเงิน ใช้เงินตัวเองซื้อแฟรนไชส์ราวๆ 3 ล้านกว่าบาท คนหนึ่งเป็นครูสอนประจำ แต่ชอบดื่มกาแฟอเมซอนเป็นประจำ ได้เห็นลูกค้าเข้ามาซื้อกาแฟไม่ขาดสาย จึงคิดอยากซื้อแฟรนไชส์มาเปิด เพราะมีความมั่นคง ระบบแน่น มีรายได้ระยะยาว เนื่องจากระยะสัญญา 6 ปี ตอนนี้เธอเปิดแฟรนไชส์ไปแล้ว 3 สาขา

ส่วนอีกคนเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไอศกรีม “Duca’tim ดูคาติม” มีสาขามากกว่า 150 สาขาทั่วประเทศ ทำรายได้เดือนละ 4 ล้านบาท บอกเหตุผลที่ซื้อแฟรนไชส์กาแฟอเมซอนทั้งที่เธอมีรายได้ดีขนาดนี้ เพราะระบบแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนดีมาก เป็นแบรนด์ระดับประเทศ คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี

หากจะกินกาแฟก็ต้องอเมซอน คิดว่าขายได้แน่ๆ ในระยะยาว เปิดร้านใหม่ๆ ขายได้วันละ 200 แก้ว เธอยังมองว่าคนยังไม่รู้จัก ถ้ารู้จักขายได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน คนนี้คิดจะเปิดอีก 2-3 สาขา สาขาเดียวไม่พอ ถ้าอยากมั่นคงต้องเปิดหลายสาขา เพราะดูยอดขายและรายได้ของแต่ละสาขาเป็นที่น่าพอใจ

นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร

แฟรนไชส์ซี 7-Eleven หรือ Store Business หลายๆ คนที่ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์เคยสัมภาษณ์มา ส่วนใหญ่พวกเขาจะเริ่มต้นทำธุรกิจอื่นมาก่อน โดยเฉพาะธุรกิจทำมาค้าขาย ให้บริการลูกค้า รวมถึงเคยเป็นพนักงานร้าน 7-Eleven มาก่อน Store Business ที่ประสบความสำเร็จยังเคยใช้บริการร้าน 7-Eleven มาก่อน

บางคนใช้บริการเป็นประจำอีกด้วย จึงทำให้พวกเขาหลงรักแบรนด์แฟรนไชส์ 7-Eleven รู้ว่าซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven ไปเปิดแล้ว มีลูกค้ารองรับ ขายได้ สร้างรายได้ มีความมั่นคงอย่างแน่นอน (ต้องขึ้นอยู่ทำเลเปิดร้านด้วย) ปัจจุบันบางคนมี 1 สาขา บางคน 2 สาขา บางคน 3 สาขา

นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร

มาดูผู้ซื้อแฟรนไชส์อีกกลุ่มที่เคยสัมภาษณ์มา ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว เป็นพวกซื้อแฟรนไชส์แบบฉาบฉวย หวังผลระยะสั้น ซื้อแฟรนไชส์ตามกระแส อยากได้เงินเร็ว เห็นธุรกิจไหนคนทำเยอะก็อยากทำตาม สุดท้ายแข่งขันเอง ลูกค้าเบื่อเร็วอีก เพราะสินค้าเกลื่อนไปหมด ขายไม่ได้ ก็ทยอยปิดร้านตามๆ กัน เช่น ร้านชา 25 บาท/แก้ว, OK 20, ย่างให้, ร้านสะดวกซัก Washcoin, ดารุมะ ซูชิ เป็นต้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์เหล่านี้ไม่มองระบบแฟรนไชส์ แต่ไปมองผลกำไรสั้นๆ ที่จะได้รับ

อีกหนึ่งธุรกิจที่คนแห่ทำตามกันเยอะ ก็คือ ต้นไม้ด่าง แรกๆ ราคาเป็นล้าน มาตอนนี้เหลือไม่ถึงหลักพัน สุดท้ายก็น่าจะพากันตายหมด หวังรวยตามกระแส แต่ที่เห็นได้ชัดเจนอีกกรณี คือ “ร้านหมาล่าชาบู” เขตห้วยขวาง ไม่คึกคักแล้ว แห่ปิดกิจการจำนวนมาก เหตุเปิดร้านแข่งกัน เห็นคนหนึ่งเปิด ก็เปิดตาม หวังโกยเงินจากลูกค้า ในขณะที่ลูกค้ามีจำนวนเท่าเดิม

สรุปก็คือ คนเป็นนักธุรกิจเลือกทำธุรกิจที่มีความยั่งยืน แม้ว่าจะรวยช้า แต่มีความมั่นคงและยั่งยืน ถ้าเป็นการซื้อแฟรนไชส์ก็จะเลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ ทำแฟรนไชส์ที่ใช่ ให้ระบบทำงานแทน มีโอกาสประสบความสำเร็จ และมั่นคงมากกว่าเลือกธุรกิจตามกระแส คนแห่ทำ หวังรวยเร็ว สุดท้ายแข่งกัน เจ๊งไปด้วยกัน บางธุรกิจหลอกลวงโกงผู้ลงทุนอีกต่างหาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช