นพรัตน์ 20 “สุดยอดธุรกิจกำไรดี” อยากลงทุนแบบไหน เลือกได้เลย!
ถามว่ายุคนี้จะลงทุนทำอะไรดีถ้าไม่นับอาหารกับเครื่องดื่มที่ยังไงก็ขายได้แน่ๆ ธุรกิจสินค้าราคาประหยัดก็เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่เชื่อมั่นว่าตอบโจทย์ความต้องการคนยุคนี้ได้ดี
www.ThaiSMEsCenter.com ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับธุรกิจแฟรนไชส์มานาน มองเห็นโอกาสและความเปลี่ยนแปลงในแวดวงแฟรนไชส์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแฟรนไชส์สินค้าราคาเดียว เป็นเทรนด์ฮิต ที่ขอแค่ผู้ลงทุนตั้งใจทำจริงๆ อาจจะไม่ได้กำไรในทันทีแต่อย่างน้อยก็จะมีเงินหมุนเวียนในบัญชีเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญสามารถทำควบคู่กับธุรกิจอื่นได้สบายๆ กลายเป็นกำไร 2 ทางที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
และหากจะพูดถึงแฟรนไชส์สินค้าราคาเดียวในปัจจุบัน ก็มีให้เลือกมากมาย สิ่งสำคัญในการเลือกลงทุนคือต้องมองหาเจ้าของแฟรนไชส์ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านนี้อย่างดี มีการขยายสาขาที่ชัดเจนและต่อเนื่อง รวมถึงมีการพัฒนารูปแบบของธุรกิจและสนับสนุนผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง และนั่นก็ทำให้ชื่อของ “นพรัตน์ 20” ก้าวขึ้นมาในอันดับต้นๆของเมืองไทย ใครก็ตามที่คิดจะลงทุนกับแฟรนไชส์สินค้าราคาเดียว “นพรัตน์ 20” คือสุดยอดธุรกิจที่น่าสนใจมาก
9แพคเกจลงทุน ชอบแบบไหนเลือกได้เลย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า นพรัตน์ 20 มีแพคเกจลงทุนให้เราเลือกมาถึง 9 รูปแบบ ลองมาดูจุดเด่นของแต่ละแบบว่าเป็นอย่างไรและตัวเราเหมาะสมกับแพคเกจไหนมากที่สุด
1.แพคเกจ F ลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท
เหมาะกับร้านค้าที่ต้องการนำสินค้าไปขายเสริม หรือเป็นร้านที่เริ่มต้นขายภายในชุมชนเล็กๆ เน้นขายส่งเฉพาะตัวสินค้า
2.แพคเกจ S ลงทุนเริ่มต้น 190,000 บาท
ใช้พื้นที่ 20-25 ตร.ม. ได้รับสินค้า 450 – 500 รายการ พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 20 ชิ้น
3.แพคเกจ S+ ลงทุนเริ่มต้น 270,000 บาท
ใช้พื้นที่ 34 – 38 ตร.ม. ได้รับสินค้า 675 – 750 รายการ พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 30 ชิ้น
4.แพคเกจ M ลงทุนเริ่มต้น 350,000 บาท
ใช้พื้นที่ 45 – 50 ตร.ม. ได้รับสินค้า 900 – 1,000 รายการ พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 40 ชิ้น
5.แพคเกจ M+ ลงทุนเริ่มต้น 500,000 บาท
ใช้พื้นที่ 65 – 75 ตร.ม. ได้รับสินค้า 1,400 – 1,500 รายการ พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 60 ชิ้น
6.แพคเกจ L ลงทุนเริ่มต้น 650,000 บาท
ใช้พื้นที่ 90 – 100 ตร.ม. ได้รับสินค้า 1,800 – 2,000 รายการ พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 80 ชิ้น
7.แพคเกจ 20 พลัส L ลงทุนเริ่มต้น 880,000 บาท
ใช้พื้นที่ 90 – 100 ตร.ม. รับสินค้าราคารวมกว่า 536,600 บาท พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 80 ชิ้น
8.แพคเกจ 20 พลัส LM ลงทุนเริ่มต้น 1,300,000 บาท
ใช้พื้นที่ 140 – 150 ตร.ม. รับสินค้าราคารวมกว่า 804,000 บาท พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 120 ชิ้น
9.แพคเกจ 20 พลัส LL ลงทุนเริ่มต้น 1,740,000 บาท
ใช้พื้นที่ 190 – 200 ตร.ม. รับสินค้าราคารวมกว่า 1,072,000 บาท พร้อมชั้นวางสินค้ามาตรฐาน 160 ชิ้น
โดยแพ็คเกจที่ 7 – 9 เป็น package ที่มีสินค้าราคาพิเศษเพิ่มเข้าไปด้วยโดยใช้ concept ว่าสินค้าราคาเริ่มต้น 20 บาท ดังนั้นตัวสินค้าจะตอบโจทย์และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
นพรัตน์ 20 กำไรดีแค่ไหน มีข้อดีอย่างไร ไปดูกัน!
จุดเด่นที่น่าสนใจคือ
- ลูกค้าสามารถตั้งชื่อร้านได้ตามต้องการ
- สามารถเลือกสีของชั้นวางสินค้าและสีป้ายต่างๆ ได้ตามต้องการ
- รับประกันสินค้าที่ขายไม่ได้ สามารถเปลี่ยนคืนได้ ภายใน 1 เดือน (เพิ่มความมั่นใจว่าสินค้าที่จัดส่งให้เป็นของดี)
- สินค้ามีอัพเดทใหม่ต่อเนื่องกว่า 5,000 รายการ
- สามารถนำสินค้าจากร้านขายส่งที่อื่นเข้ามาขายร่วมในร้านได้โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆทั้งสิ้น
- มีระบบการสั่งสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่ทำให้สั่งสินค้ามาขายได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
เมื่อพิจารณาจากข้อดีดังกล่าวไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันนพรัตน์ 20 จะมีสาขาทั่วประเทศกว่า 203 สาขา รายได้ของร้านสินค้าราคาเดียวบอกเลยว่าทำให้เรามีเงินหมุนเวียนในบัญชีเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าแต่ละคนที่เข้ามาซื้อสินค้ามียอดใช้จ่ายต่อคนประมาณ 40 – 60 บาทเป็นอย่างน้อย หมายความว่าถ้าในแต่ละวันเรามีลูกค้าเข้าร้าน 100 คน จะมีรายได้เบื้องต้น 4,000 – 6,000 บาท (ยังไม่หักค่าใช้จ่าย) ซึ่งบางคนอาจมีการซื้อสินค้าต่อครั้งเกินกว่า 100 บาทก็อาจจะทำให้รายได้ต่อเดือนของเราเพิ่มสูงขึ้นได้
อย่างไรก็ดีองค์ประกอบสำคัญการเปิดร้านสินค้าราคาเดียวให้ได้กำไรสูงสุด เรื่องของทำเล เป็นสิ่งสำคัญมาก หากเรามีทำเลหน้าโรงเรียน โรงงาน ตลาดนัด ย่านชุมชน ทำเลเหล่านี้จะทำให้เราได้เปรียบมาก เพราะนพรัตน์ 20 คัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพในราคาถูกมาให้พร้อมขาย และยังแถมระบบบริหารจัดการรวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้อย่างเต็มที่ เพียงแค่ผู้ลงทุนตั้งใจที่จะทำจริง และมีการทำตลาดทางโซเชี่ยลควบคู่กันไปจะทำให้โอกาสได้กำไรจากธุรกิจนี้เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ นพรัตน์ 20 เองก็เป็นแฟรนไชส์ร้านสินค้าราคาเดียวที่มีการพัฒนาตัวเองต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากการอัพเดทสินค้าใหม่ๆ ปัจจุบัน นพรัตน์ 20 ก็กำลังก่อสร้างโกดังสินค้าแห่งใหม่เพื่อเก็บรวบรวมสต็อกสินค้าต่างๆ ไว้รองรับการขยายตัวของสาขาแฟรนไชส์ที่คาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะเห็นตัวอย่างความสำเร็จจากผู้ลงทุนรายอื่นที่ได้เริ่มลงทุนก่อนหน้า บางรายมีการขยายสาขาตัวเองเพิ่มเป็น 2 – 3 แห่ง ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องและการันตีได้ว่านี่คือ “สุดยอดแฟรนนไชส์”ที่เหมาะสมกับการลงทุนในยุคนี้เป็นอย่างมาก
สนใจแฟรนไชส์นพรัตน์ 20
โทร. 081-584-9887 , 081-347-0413
อีเมล์: nopparat20shop@gmail.com
เว็บไซต์: www.nopparat20.com
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3JMqT87
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)