ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร บริหารภาษีอย่างไรให้ปัง!

ต้องยอมรับว่าการระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจร้านอาหาร จำนวนมาก แต่หลังจากโควิดเริ่มคลี่คลายการเปิดร้านอาหารโดยเฉพาะในรูปแบบแฟรนไชส์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น หลายๆ คนหันหามาทำอาหาร เปิดร้าน ซื้อแฟรนไชส์เพราะไม่อยากเริ่มต้นจากศูนย์ การสร้างรายได้เร็ว สามารถต่อยอดความชอบของตัวเองได้ ทั้งร้านเล็ก ร้านใหญ่

การเปิดร้านอาหารนอกจากจะต้องบริหารคน ทำการตลาด หาทำเล ต้องมีเรื่องการบริหารเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อ รวมถึงเรื่องการเสียภาษี โดยเฉพาะการทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่ไม่ใหญ่มาก หรือเป็นแบบบุคคลธรรมดา วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลเทคนิคการบริหารภาษีอย่างไรให้ปัง จาก K-Expert มานำเสนอให้ทราบครับ

1. ยื่นภาษีเพื่อหักค่าใช้จ่ายตามจริงเพื่อการจ่ายภาษีที่น้อยลง

ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร

หากต้องเสียภาษีขึ้นมา กำไรที่ได้จะน้อยลงเพราะต้นทุนค่อนข้างสูง คุณสามารถใช้เทคนิคยื่นภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยยิ่งคุณมีต้นทุนที่สูง ก็สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้สูง และ เมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงไปด้วย และ ไม่ต้องกังวลไปว่าภาษีที่เสียจะเกินกว่ากำไรที่ได้ เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่ายตามจริงไปแล้วกำไรที่ได้ที่ต้องเสียภาษี หากเป็นบุคคลธรรมดาภาษีจะจ่ายไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำไรนั้นเอง (อัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงสุดที่ 35%)

สำหรับเอกสารที่ใช้ยื่นเพื่อหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี ควรมีข้อมูล ชื่อ และ ที่อยู่ของผู้ซื้อ และ ผู้ขาย หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หรือ หมายเลขบัตรประชาชนของคู่ค้า รายละเอียดสินค้า หรือ บริการ จำนวนเงิน ที่สำคัญรายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือ กิจการที่ทำอยู่

ตัวอย่างเอกสารในการนำมาหักค่าใช้จ่าย เช่น

  1. ใบเสร็จรับเงิน
  2. ใบกำกับภาษี
  3. บิลเงินสด
  4. ใบสำคัญรับเงิน

ทั้งนี้อย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และ เงื่อนไขของเอกสารที่นำมาใช้กับทางสรรพากรเพิ่มเติมด้วย

2. ยื่นภาษีแบบค่าใช้จ่ายเหมาและใช้ตัวช่วยลดหย่อนภาษี

45

หลายคนกังวลว่ากำไรที่ได้จากการทำธุรกิจนั้นเยอะ ก็จะทำให้การเสียภาษีนั้นเยอะตาม แต่ถ้าคุณยื่นแบบเหมา ซึ่งหากเป็นการขายโดยทั่วไปก็สามารถเลือกหักแบบเหมาได้ 60% ของยอดขาย โดยคุณไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร

แม้ต้นทุนที่แท้จริงของเราจะน้อยกว่า 60% ก็ตาม ทำให้คุณได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง หรือคุณอาจจะมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี การลงทุนในกองทุน SSF ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ (โดยมาแทนกองทุน LTF) กองทุน RMF เบี้ยประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เป็นต้น

ทั้งนี้จะใช้ค่าลดหย่อนตัวใด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ความเสี่ยง และ ความพึงพอใจของแต่ละคนที่นำมาใช้ เช่น การลงทุนกองทุน SSF ที่นำเงินไปให้ผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารให้เงินงอกเงยตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกองทุน แถมยังลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย อย่างกองทุน K-FIXEDPLUS-SSF ที่เน้นลงทุนในตราสารนี้ เหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อย

3. นำภาษีที่จ่ายไปมาคิดถัวเฉลี่ยบวกเป็นต้นทุนสินค้า

23

หลายคนอาจลืมนึกถึงต้นทุนภาษีที่ต้องจ่าย ซึ่งในการทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร นั้นการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้อยู่แล้ว และอย่าลืมว่า ภาษีที่คุณต้องจ่ายไปนั้นถือเป็นต้นทุนของราคาสินค้า และ บริการ คุณควรนำภาษีที่จ่ายไปมาคิดถัวเฉลี่ยบวกเป็นต้นทุนสินค้าด้วยเพื่อไม่ให้ราคาที่ตั้งผิดพลาดจนทำให้คุณขาดทุนไม่รู้ตัว

หลังโควิด-19 คลี่คลาย หลายคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยเริ่มต้นด้วยการซื้อแฟรนไชส์ เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจ แต่ต้องศึกษาและเลือกซื้อแฟรนไชส์ให้เป็น รวมถึงบริหารจัดการร้าน ค่าใช้จ่าย

เพื่อให้คำว่า “ขาดทุน” เกิดขึ้นน้อยที่สุด ส่วนเรื่องภาษีก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องวางแผนให้ดี เตรียมเอกสารค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ตรงตามเงื่อนไขของสรรพากร ที่สำคัญก็คือต้องไม่เป็นหลักฐานเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/2TBCA6p

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mv399K

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช