ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นร้านแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล โดยจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กรมสรรพากร มีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของรายได้ ส่วนร้อยละ 40 ของรายได้ ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีอัตราก้าวหน้าร้อยละ 5-35
- เจ้าของร้านแฟรนไชส์ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปีแรก สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นขึ้นในเดือน ม.ค.-มิ.ย. แต่ต้องยื่นภายในเดือน ก.ย.
- เจ้าของแฟรนไชส์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ครึ่งปีหลัง สำหรับเงินที่เกิดขึ้นในเดือน ก.ค.-ธ.ค. แต่ต้องยื่นภายในเดือน มี.ค. ของปีถัดไป
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นร้านแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของบริษัท (นิติบุคคล) ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้สรรพากรอัตราร้อยละ 20 ต่อปี โดยมีฐานภาษีจากการคำนวณกำไรสุทธิ โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์จะต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ
- ครึ่งปีแรกบัญชีแรก ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับเงินได้ช่วง 6 เดือนแรก ต้องยื่นแบบภายใน 2 เดือนนับจากวันครบรอบ 6 เดือนแรก
- ครึ่งปีหลังบัญชีหลัง ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับเงินได้ช่วง 6 เดือนหลัง (เดือน 7-เดือน 12) ต้องยื่นแบบภายใน 120 วันหลังปิดปีบัญชี โดยคำนวณภาษีเงินได้ตลอดทั้งปี หักด้วยยอดภาษีที่จ่ายในครึ่งปีบัญชีแรก ก็จะได้มูลค่าภาษีต้องจ่ายในครึ่งปีหลัง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากธุรกิจแฟรนไชส์มีรายได้ต่อปี 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องเสียภาษีอัตราร้อยละ 7 โดยภาษีที่จะต้องนำส่งสรรพาพร คือ มูลค่าส่วนต่างของภาษีซื้อและภาษีขาย หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ร้านค้าแฟรนไชส์นั้นๆ จะต้องนำเงินส่วนต่างค่าภาษีจ่ายให้กับสรรพากร
แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของแฟรนไชส์เลือกที่จะขอคืนภาษีหรือเก็บไว้หักยอดภาษีในปีถัดไปได้ ทั้งนี้ ธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นแบบ กพ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เพื่อรายงานข้อมูลภาษีซื้อ-ขายในแต่ละเดือน พร้อมทั้งสรุปยอดนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพกร
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อ หารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้น ป้ายชื่อ ของผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรูปภาพโลโก้ตัวอักษร ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายผ้าใบ ป้ายบิลบอร์ด หรือป้ายไฟโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น
** ทั้งนี้หากคำนวณแล้วมีภาษีป้ายที่ต้องเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้ชำระภาษีเป็นเงิน 200 บาท
เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป.1) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี หากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลง ข้อความในป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความใหม่
แต่ถ้าหากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ป.3) ให้ชำระภาษีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินถ้าชำระภาษีภายในกำหนด และมีภาษีที่ต้องชำระเกิน 3000 บาท สามารถ ผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละ เท่าๆ กัน
- รับจดเครื่องหมายการค้า
- รับเขียนแผนธุรกิจ
- รับร่างสัญญาแฟรนไชส์
- รับสร้างระบบแฟรนไชส์
- รับปรึกษาแฟรนไชส์
- รับบริหาร Social Media
- รับทำ Proposal แฟรนไชส์
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)