ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ! แก้ปัญหาอย่างไรในยุคโควิด

จากการระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหนักสาหัส ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก การศึกษา สปา รวมถึงธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม แม้ว่าจะเปิดร้านให้บริการแบบเดลิเวอรี่ได้ แต่ยอดได้ลดลงกว่า 70-80% ธุรกิจเหล่านี้เมื่อดำเนินธุรกิจไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการ ธุรกิจเป็นหนี้ และอาจถึงขั้นถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ตามมา

ปัญหาดังกล่าว แบงก์ชาติได้ร่วมมือกับสถาบันทาการเงิน ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 เปิดตัวโครงการแก้หนี้สำหรับภาคธุรกิจ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจกลุ่มที่ยังมีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์เศรษฐกิจและมีเจ้าหนี้ธนาคารหลายราย ให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้โดยการรวมหนี้ และลดระยะเวลาการติดต่อเจ้าหนี้หลายราย

ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ

ภาพจาก bit.ly/2Vu2yNq

ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกัน เช่น การขยายเวลาชำระหนี้ การลดค่างวด รวมทั้งจะมีการพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีแผนธุรกิจชัดเจน มีประวัติการชำระหนี้ดี และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ

โดยลูกหนี้ธุรกิจที่ประสบปัญหาและมีเจ้าหนี้หลายราย สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแก้ไขหนี้ในคราวเดียวกันได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 64 ที่ https://www.bot.or.th/app/drbiz หรือติดต่อธนาคารเจ้าหนี้ที่เจ้าของธุรกิจสะดวก

#เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการแก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง”

ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ

ภาพจาก bit.ly/3fs2tRn

  • เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจ และอุตสาหกรรม
  • มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19
  • ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง

#นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับธุรกิจ ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดย “คุณศิณาภรณ์ หู้เต็ม” ได้เขียนแนวทางการแก้ไขอย่างไม่เป็นทางการบนเว็บไซต์ https://www.pattanakit.net/ ระบุว่า

  1. การพูดคุยโดยตรงกับเจ้าหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ยินยอมให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยอาจจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาเหมือนเดิม ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน
  2. การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เช่น การเปลี่ยนหนี้บางรายการ จากระยะสั้นเป็นระยะยาว หรือเปลี่ยนหนี้เป็นทุน โดยปัจจุบันมีวิธีแก้ปัญหาปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย แบงก์ชาติต้องการช่วยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
  3. การยืดระยะเวลาชำระหนี้ พูดคุยกับเจ้าหนี้ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อน โดยเจ้าหนี้ยังได้รับการชำระหนี้เต็มจำนวนที่ยังคงค้างไว้
  4. การประนอมหนี้ ต่อรองให้เจ้าหนี้ยินยอมลดจำนวนหนี้สินของธุรกิจลง แม้บางครั้งอาจจะเป็นการชำระหนี้ที่ไม่สูงแต่ยังดีกว่าที่เจ้าหนี้จะไปฟ้องร้องเอา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมากมาย
  5. การเลิกกิจการ โดยลูกหนี้ขอเลิกกิจการแบบไม่เป็นทางการกับเจ้าหนี้โดยตรง หากเจ้าหนี้ยินยอมก็จะมีการชำระบัญชีนำสินทรัพย์ออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งชำระหนี้ หากมีสินทรัพย์เหลือก็จ่ายคืนทุน วิธีนี้ทำให้เจ้าหนี้ได้รับผลตอบแทนสูง

ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ

ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ

ภาพจาก bit.ly/3xfBTkw

ทั้งหมดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับ ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ ทั้งแนวทางการช่วยเหลือจากแบงก์ชาติและสถาบันการเงิน ผ่านโครงการแก้หนี้สำหรับภาคธุรกิจ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ธุรกิจด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ และการพูดคุยเจราจาโดยตรงกับเจ้าหนี้

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3lLUuCG

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช