ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว 250 บาท ถ่ายรูปลงโซเชียลครั้งเดียว สร้างรายได้ร้อยล้านบาท

หากเอ่ยชื่อแบรนด์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของคุณผู้หญิง เชื่อว่าสาวๆ หลายคนน่าจะรู้จักแบรนด์ Hofstore กันเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีสาขาแล้วกว่า 20 สาขาอยู่ตามห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าชั้นนำของเมืองไทย แบรนด์เสื้อผ้า Hofstore มีจุดเริ่มต้น และมีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

จุดเริ่มต้นธุรกิจ

ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว

ภาพจาก https://bit.ly/3JOBhc1

แบรนด์เสื้อผ้าและร้าน Hofstore เกิดขึ้นจาก “คุณฝ้าย-พิมพิมล ก๋าเมืองลือ” ซึ่งเธอเป็นคนพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเธอเล่าว่าสมัยที่ยังเป็นเด็กๆ เธออยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่อย่าร้างกัน โดยแม่ของเธอเป็นคนเลี้ยงลูก 2 คน ต้องอดมื้อกินมื้อ จึงทำให้เธอต้องตั้งใจเรียนตั้งแต่ตอนนั้นมา และตั้งเป้าหมายของชีวิตว่าอยากทำอาชีพค้าขายเพื่อเลี้ยงดูคุณแม่

ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

แบรนด์ Hofstore จึงเป็นจุดเริ่มในอาชีพการค้าขายของเธอ เริ่มแรกเธอได้นำเสื้อผ้าที่ล้นตู้หรือไม่ได้ใส่ของเพื่อนๆ มาขาย ด้วยความที่เป็นคนรักการขาย ก็เลยอาสาช่วยขายเสื้อผ้าให้เพื่อนๆ เมื่อขายไปเรื่อยๆ ทำให้เธอมีประสบการณ์ในเรื่องแฟชั่นมากขึ้น จึงอยากเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยซื้อเสื้อผ้าจากร้านขายส่งมาใส่เป็นแบรนด์ของตัวเอง ตั้งร้านขายตลาดนัดหลังมหาวิทยาลัย ใช้ขื่อ HOFSHOP” ขายทั้งผ่านหน้าร้าน และขายผ่าน Instagram

ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ธุรกิจค้าขายเสื้อผ้าเล็กๆ น้อยๆ ของเธอก็ต้องมีอุปสรรค เพราะเธอได้ตั้งครรภ์ หลังจากคลอดได้ปีกว่าๆ จึงหางานที่ทำควบคู่กับการเลี้ยงลูกไปด้วย เธอจึงมองไปที่อาชีพค้าขายที่ตัวเองชอบเช่นเคย นั่นคือ ขายเสื้อผ้า แม้ว่าในช่วงเริ่มแรกธุรกิจของเธอจะมีฐานลูกค้าประจำ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเธอไม่ได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย อีกทั้งยังต้องเป็นหนี้เพราะคนมาเซ้งร้านโกง หลังจากนั้นเธอฝ่ามรสุมไปอีก 1 ปี จึงได้ทำเลเปิดร้านใหม่ที่ห้าง Night bazaar จังหวัดลำปาง และถือโอกาสทำการตลาดด้วยการออกบูธตามงานต่างๆ มากขึ้น

ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

ในช่วงนั้นคุณฝ้ายได้เปลี่ยนชื่อร้านกับทางห้าง มาเป็นชื่อ HOFSTORE และเปลี่ยนพื้นที่ขายมาในส่วน Local เมื่อผ่านการพิจารณาจากทางห้าง แต่ก็มาติดปัญหาเรื่องเงินลงทุนต่อเติมตามหลักเกณฑ์ของทางห้าง คิดว่าจะหมดหนทาง เพราะไม่มีใครให้ยืมเงิน แต่เธอยังโชคดีที่ได้เพื่อนที่เรียนมาด้วยกันช่วยเหลือ โดยยืมเงินจากเพื่อนมาลงทุน 40,000 บาท

ธุรกิจร้านเสื้อผ้าราคาเดียว

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

ก่อนเปิดร้านหุ้นส่วนธุรกิจของคุณฝ้ายได้เสนอให้ขายเสื้อผ้าราคาเดียว 250 บาท เพื่อเป็นเอกลักษณ์และเป็นจุดเด่นของร้าน ในตอนแรกเธอไม่เห็นด้วยเพราะได้กำไรน้อย ไม่พอกับค่าเช่า ควรที่จะขายหลายราคาปะปนหันไป จนกระทั่งถึงวันเปิดร้านเธอเปลี่ยนใจได้ตัดสินใจขายเสื้อผ้าราคาเดียว 250 บาท เพราะวิเคราะห์จากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ทั้งเศรษฐกิจและกำลังซื้อของลูกค้า อีกทั้งเวลาผู้หญิงสวมใส่จะไม่ชอบใส่หลายๆ ครั้ง ใส่แค่ครั้งเดียวเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล

26

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

ด้วยพลังของโลกโซเชียล ทำให้เกิดการบอกต่อ แชร์ไปเรื่อยๆ จึงทำให้แบรนด์ Hofstore เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เสื้อผ้าได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าผู้หญิง โรงงานผลิตเสื้อผ้าได้คุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงทางร้านยังมีการรับประกันคุณภาพเสื้อผ้าทุกชิ้นให้กับลูกค้า จากจุดนี้จึงเป็นจุเด่นของทางร้าน ในยุคที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง

ความน่าสนใจของร้าน Hofstore อีกอย่าง คือ ทางร้านมีการเปลี่ยนคอลเลคชั่นทุก 2 อาทิตย์ พร้อมกับฐานลูกค้าเดิม โดยทางร้านสามารถปิดยอดขายเดือนแรกราวๆ 750,000 บาท และขยายสาขาได้ 7 สาขาภายในปีแรก สร้างยอดขายได้มากกว่า 70 ล้านบาทใน 1 ปี หลังจากนั้นทำการขยายสาขาเพิ่มต่อเนื่อง เน้นขยายสาขาในห้างเซ็นทรัล พอธุรกิจดำเนินสู่ปีที่ 3 ขยายสาขาเพิ่มเป็น 19 สาขา ช่องทางจำหน่ายมีทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ปัจจุบันทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท

รายได้บริษัท ฮอฟสโตร์ จำกัด

27

ภาพจาก facebook.com/hofstoreofficial

  • ปี 61 รายได้ 77 ล้านบาท กำไร 5 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 165 ล้านบาท กำไร 7.9 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 53 ล้านบาท กำไร 4.72 แสนบาท

จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2563 เป็นช่วงเริ่มต้นการบาดโควิด-19 ในประเทศไทย รัฐบาลมีมาตรการล็อกดาวน์ ปิดห้างสรรพสินค้า ทำให้ร้านเสื้อผ้า Hofstore ซึ่งส่วนใหญ่เปิดในห้างสรรพสินค้าได้รับผลกระทบ จึงทำให้รายได้ลดลง

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3MgyQQU , https://bit.ly/37yg20K , https://bit.ly/3MdYHZN

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3839CGY

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด