ธุรกิจประสบความสำเร็จเร็วขึ้น 20 เท่า! ด้วยกฎ 20 ไมล์
คำว่า “กฎ 20 ไมล์” ไม่ได้หมายความจะมีกฎ 20 ข้อ แต่ คำว่า “20ไมล์” คือระยะที่ตั้งไว้ในแต่ละวันที่จะต้องทำให้ได้ เป็นเหมือนระยะทางของคนทำธุรกิจที่อาจเริ่มต้นจากศูนย์และหวังว่าสักวันจะต้องไปถึงจุดสุดยอด แต่ทว่าการจะเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปถึงความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
“กฎ 20 ไมล์” ที่ว่านี้ www.ThaiSMEsCenter.com คาดว่าน่าจะเป็นกรอบปฏิบัติให้ทุกคนที่ทำธุรกิจมีแบบอย่างในการก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
กฎ 20 ไมล์คืออะไร?
Robert Falcon Scott (ซ้าย) และ Roald Amundsen (ขวา)
ภาพจาก bit.ly/2WK5fWB
กฎ 20 ไมล์หรือที่เรียกว่า The 20 Mile March ต้นแบบความคิดนี้เกิดขึ้นใน ศ.ศ. 1911 จากนักสำรวจ 2 ทีมคือ Robert Falcon Scott นักสำรวจจากอังกฤษ และ Roald Amundsen นักสำรวจจากนอร์เวย์ ที่แข่งกันว่า
ใครที่จะเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้ (South Pole) ได้เร็วกว่ากัน ทั้ง 2 ทีมมีตัวแปรที่ใกล้เคียงกัน ทั้งอายุ ความแข็งแรง ประสบการณ์ แต่ผู้ชนะในการแข่งครั้งนี้คือทีมของ Roald Amundsen
ภาพจาก bit.ly/2HmtXHl
วิเคราะห์ว่าอะไรคือความแตกต่างสรุปได้ว่าทีมของ Robert Falcon Scott จากอังกฤษใช้วิธีเดินทางแบบมุทะลุ วันไหนอากาศดีก็จะเดินทางไปให้ไกลที่สุด มากที่สุด วันไหนอากาศไม่ดีก็จะหลบอยู่ในเต้นท์ที่พัก แต่ทีมของผู้ชนะ กลับใช้กลยุทธ์การเดินแบบ “20ไมล์” คือพยายามเดินทางให้ได้ 10-20 ไมล์ หรือได้แค่ 15 ไมล์ก็ยังดี
ภาพจาก bit.ly/2EcimsK
ส่วนวันไหนอากาศดีๆ ทีมของเขาก็ยังเดินทางแค่ 20 ไมล์เท่านั้น ผลก็คือทีมของเขาเดินทางมาถึงที่หมายพร้อมกับลูกทีมที่ยังแข็งแรงกันดีในขณะที่ทีมของผู้แพ้นอกจากมาถึงทีหลังทีมงานก็ยังเหลือรอดแค่ไม่กี่คนเท่านั้น
กฎ 20 ไมล์ กับการทำธุรกิจ
หลายคนสงสัยว่าแล้วเรื่องนี้มันเกี่ยวอะไรกับการทำธุรกิจ อยากบอกว่า “มันเกี่ยวสุดๆ เลยละ” เรื่องนี้มันสอนให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะเดินไปถึงเป้าหมายนั้น ไม่ได้เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ บางวันเราต้องเจอเรื่องแย่ๆ บางวันอาจเจอเรื่องที่ยากแสนสาหัส สิ่งที่เราควรทำคือ “เดินไปข้าหน้าวันละนิด”
โดยที่ไม่คิดจะหยุดพักแม้จะต้องเจอเรื่องอะไรก็ตาม และมีเป้าหมายในการเดินทางที่ชัดเจนของตัวเองว่าใน 1-2 ปีนี้ ธุรกิจของเราควรไปอยู่จุดไหน เป็นการตั้งความหวังที่เหมือนขั้นบันได ไล่เป็นสเต็ปๆไป ซึ่งคนที่ลงมือทำธุรกิจส่วนใหญ่มักมองข้ามจากจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่มองหาจุดหมายปลายทาง ทั้งที่ไม่รู้ว่าระหว่างทางที่เดินนั้นจะต้องมีแบบแผนอย่างไร
5 ข้อคิดจากกฎ 20 ไมล์ ให้คนอยากมีธุรกิจควรจำ!
ภาพจาก bit.ly/2YBFNn1
1.ตั้งเป้าความสำเร็จในแต่ละขั้น
ไม่ว่าคุณจะคิดทำธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ต้องมีเป้าหมายในแต่ละขั้น ไม่เกี่ยวกับว่าคุณจะมีเงินลงทุนมากแค่ไหน ยิ่งเป็นกิจการเล็กๆ ก็ควรตั้งเป้าจากเล็กๆ เช่น เปิดร้านข้าวแกงหน้าบ้านตัวเอง
ก็ต้องวางแผนว่าในอีก 1 ปีข้างหน้าเราต้องขยับขยายไปขายข้าวแกงในตลาดให้ได้ หรืออีก 2 ปีข้างหน้าเราต้องมีสาขาร้านข้าวแกงเป็นของเราเอง ซึ่งการมีเป้าหมายจะทำให้เรารู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง ไม่ใช่ขายของไปวันๆ หรือมองแต่เรื่องกำไรในแต่ละวันเป็นหลักเท่านั้น
2.อย่ากดดันตัวเอง
การตั้งเป้าหมายไม่ใช่การกดดันตัวเองแต่เป็นการบอกตัวเองว่าต้องทำอะไรต่อไป คนทุกคนมีขีดจำกัดในตัวเองที่ไม่เท่ากัน สิ่งที่เราต้องคิดเสมอคือจะไปถึงเป้าหมายอย่างไรให้ตัวเองบาดเจ็บน้อยที่สุด การลงทุนก็เช่นกันอย่าหักโหมและทำอะไรที่เกินกำลังการที่เร็วเกินไป ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป
ภาพจาก bit.ly/2Jml3vZ
3.ต้องมีแผนการที่ชัดเจน
เขาถึงบอกว่าการลงทุนต้องมีแผนธุรกิจเพื่อให้รู้ว่าจุดอ่อนจุดแข็งของเราคืออะไร และแผนที่ว่านี้ต้องสามารถยืดหยุ่นปรับไปตามสถานการณ์รอบข้างได้ คนทำธุรกิจที่มีแผนธุรกิจที่ดีก็เหมือนการมีเข็มทิศที่ชี้นำได้อย่างถูกต้อง
4.ตั้งกรอบเวลาให้ตัวเอง
การกดดันตัวเองเกินไปก็ไม่ดี แต่การที่ไม่มีกรอบเวลาอะไรซะเลยก็จะเป็นเรื่องไม่ดียิ่งกว่า อย่าปล่อยให้เป้าหมายที่เราตั้งใจอยู่อย่างเลื่อนลอยเด็ดขาด กำหนดไปเลยว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่ตั้งเวลาเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ดูให้สมเหตุผลว่าควรไปถึงจุดที่สูงขึ้นในเวลาเท่าไหร่ จะทำให้การลงทุนของเรานั้นดูกระตือรือร้นมากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2HmgwaH
5.ดูความพร้อมของทีมงานด้วย
ในการทำงานถ้าเรามีลูกน้องที่ช่วยเริ่มต้นธุรกิจ อย่ามัวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเรามีกำไรโดยไม่สนใจทีมงาน ในกรณีของ Roald Amundsen เขารู้ว่าทีมงานมีศักยภาพในการเดินทางแค่ไหน
เขาพยายามเซฟทีมงานไม่ให้เหนื่อยเกินไปจนหมดกำลังใจหรือท้อแท้ การลงทุนก็เช่นกัน หากทีมงานหมดกำลังใจ ทำงานแบบขอไปที ธุรกิจก็เติบโตได้ยาก แม้เราจะบอกว่าเราจ้างทีมมาทำงานแต่เราก็ควรใส่ใจให้ทีมงานรู้สึกอยากทุ่มเทเพื่อประโยชน์ของธุรกิจเราเองด้วย
กฎ 20 ไมล์ อาจจะเป็นเพียงแนวทางที่อาจไม่แตกต่างหรือหลายคนอาจมองว่ามีกรอบปฏิบัติที่ดีกว่านี้ ซึ่งไม่ว่าผู้ลงทุนจะยึดกรอบปฏิบัติแบบไหน สิ่งสำคัญคือ “แบบแผน” ที่เอามาใช้ต้องให้เหมาะสมกับธุรกิจ
และอย่าลืมว่ายิ่งธุรกิจเติบโตก็ยิ่งต้องวางแผนให้รัดกุมมากขึ้น นอกจากใส่ใจการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกแล้ว ภายในทีมงานก็ต้องมีความแข็งแกร่ง สร้างกำลังใจให้ผู้ร่วมงานรู้สึกอยากก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับผู้ลงทุน ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการเติบโตได้อย่างสูงสุด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
ขอบคุณข้อมูลจาก bit.ly/2JmYGGq