ธุรกิจบัตรเครดิต มีรายได้จากทางไหนบ้าง
เวลาไปธนาคารเคยสงสัยกันไหมว่านอกจากธนาคารจะคอยขายประกันแบบต่างๆ ให้เราแล้ว บางธนาคารยังถามเราอีกด้วยว่ามีบัตรเครดิตหรือยัง และก็ทันทีหากเราตอบว่าไม่มี หรือมีแล้วแต่ไม่ใช่ของธนาคารนี้พนักงานจะขอเวลาในการอธิบายเหตุผลต่างๆ ให้เราตัดสินใจทำบัตรเครดิต
เป็นเรื่องน่าสงสัยว่าบัตรเครดิตเล็กๆ1ใบสร้างรายได้อย่างไรให้ธนาคาร และคนที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากการรูดบัตรเครดิตของเรานั้นมีใครบ้าง www.ThaiSMEsCenter.com นำเสนอข้อมูลนี้
เป็นความรู้ให้เราก้าวทันสังคมยุคใหม่ที่เขาพยายามผลักดันให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้น ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีกฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีบัตรเครดิตอย่างน้อย 1 ใบก็เป็นได้
ภาพจาก www.freepik.com
มาเริ่มที่คำถามง่ายๆว่าบริษัทเจ้าของบัตรเครดิต ธนาคารผู้ออกบัตร ธุรกิจเหล่านี้ได้ประโยชน์อะไรจากบัตรเครดิต คำตอบก็คือ “ค่าธรรมเนียม” โดยปกติค่าธรรมเนียมที่ว่านี้จะถูกเรียกเก็บ 2-3% ของราคาสินค้า
ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็ใช่ว่าธนาคารเจ้าของบัตรจะได้รับไปเต็มๆ คนเดียว ยังมีตัวแบ่งอีกหลายส่วนตั้งแต่ธนาคารเจ้าของเครื่องรูด ตัวกลางในการตัดเงิน เป็นต้น
ภาพจาก www.freepik.com
เพื่อให้เห็นภาพเส้นทางการเงินของการรูดบัตรเครดิตแต่ละครั้งว่าเงินที่เราเสียไปนั้นกระจายไปที่ไหนบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจ องค์ประกอบของผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีด้วยกัน 5 ส่วนคือ
- ลูกค้าผู้จ่ายเงิน
- ร้านค้าที่รับเงิน
- ธนาคารของลูกค้า
- ธนาคารของร้านค้า
- ตัวกลางในการตัดเงินระหว่างธนาคารของลูกค้าและร้านค้า ซึ่งก็คือชนิดของบัตรเครดิตในมือของเรานั่นเอง
ภาพจาก www.freepik.com
ลองยกตัวเลขสินค้าราคา 100 บาท เริ่มจากเรารูดบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคาร X (สมมุติ) จากร้านค้าที่มีเครื่องรูดเงินของธนาคารY (สมมุติ) เงินจะเริ่มต้นเดินทางจากธนาคาร X ไปยังบริษัทบัตรเครดิต 98.2 บาท
ธนาคารเจ้าของบัตรได้เงินค่าธรรมเนียมทันที 1.8 บาท และหลังจากที่บริษัทบัตรเครดิตได้เงิน 98.2 บาท ก็จะส่งต่อให้ธนาคาร Y ในฐานะเจ้าของเครื่องรูดเงิน 98.09 บาท
แสดงว่า บริษัทบัตรเครดิตได้ค่าธรรมเนียม 0.11 บาท และเมื่อธนาคาร Y ได้เงิน 98.09 บาท ก็จะส่งต่อให้ร้านค้าที่ลูกค้าซื้อสินค้าไป 97.76 บาท โดยตัวเองกินค่าธรรมเนียม 0.33 บาท
ภาพจาก www.freepik.com
ทีนี้ก็คงจะเข้าใจเหตุผลว่าทำไมธนาคารที่เรามีบัญชีเงินฝากเขาถึงอยากให้เรามีบัตรเครดิต ก็เพราะตัวธนาคารเองจะได้ค่าธรรมเนียมจากการใช้จ่ายของเรามากที่สุด เขาถึงได้จัดแคมเปญต่างๆ ออกมามากมายเพื่อล่อตาล่อใจให้เราใช้บัตรเครดิตมากขึ้น
ซึ่งตัวธนาคารเองก็ใช่จะกินเปล่าค่าธรรมเนียมแบบไม่เสียอะไร เพราะตัวธนาคารเองก็มีต้นทุนที่ต้องใช้งบประมาณมาทำการตลาด รวมถึงมีเงินสำรองจ่ายให้ลูกค้าก่อนเรียกเก็บทีหลัง ไม่รวมพวกหนี้เสียที่ธนาคาต้องคอยตามจัดการ จึงถือได้ว่าตัวธนาคารเองก็ต้องเหนื่อยเหมือนกันกับธุรกิจบัตรเครดิตรนี้
ภาพจาก www.freepik.com
แม้แต่ร้านค้าเองก็ตามเรามักจะเห็นบางร้านติดป้ายว่ารับชำระด้วยบัตรเครดิตเมื่อมียอดใช้จ่าย 500 บาทขึ้นไป เพราะถ้ายอดบิลต่ำกว่านั้นแล้วถูกหักไปอีก 2-3% ก็อาจจะไม่เหลือกำไรเลยก็ได้
แต่ถ้ามองดูตัวเลขก็พอทำให้ชื่นใจได้อยู่บ้างเพราะแม้จะเป็นค่าธรรมเนียมแค่ 1.8 บาท ที่ดูไม่เยอะแยะนักแต่จากข้อมูลในแต่ละปีจะมีคนรูดบัตรเครดิตมูลค่ารวมเป็นแสนล้าน ดังนั้นรายได้เข้าธนาคารลองเอาตัวเลข 1.8 ไปคูณต่อคนก็ถือว่าไม่ธนรรมดา
และยิ่งมีการส่งเสริมให้เป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้นก็เท่ากับเปิดช่องทางการแข่งขันเรื่องนี้อย่างเต็มตัว ธุรกิจบัตรเครดิตจึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนของธนาคารที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
SMEs Tips (ผู้ทีส่วนได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต)
- ลูกค้าผู้จ่ายเงิน
- ร้านค้าที่รับเงิน
- ธนาคารของลูกค้า
- ธนาคารของร้านค้า
- ตัวกลางในการตัดเงินระหว่างธนาคารของลูกค้าและร้านค้า
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)