ธุรกิจกำไรน้อย เน้นขายเยอะ ทำ 100 รวย10

ธุรกิจต้องการ “กำไร” แต่คำถามคือจะใช้วิธีไหนเพื่อไปสู่เป้าหมายได้เร็วที่สุด หนึ่งในการตลาดแบบคนจีนที่น่าสนใจ กล่าวว่า

“กำไรมาก ขายน้อย คือ กำไรน้อย
กำไรน้อย ขายมาก คือ กำไรมาก”

เราจึงได้เห็นว่าสินค้าจากจีนไม่ได้เน้นขายแพง แต่เน้นเชิงปริมาณ สมัยก่อนก็เช่นกันที่ชาวจีนเข้ามาในเมืองไทย ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการค้าขาย ได้กำไรนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร อาศัยเก็บเล็กผสมน้อย + ความขยันและเอาเงินทุนที่ได้ ไปต่อยอดขยายธุรกิจ จนทุกวันนี้ในเมืองไทยมีบรรดาเศรษฐีที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนอยู่เยอะมาก

หรือถ้ายังเห็นภาพไม่ชัด ลองดูในสมัยนี้ที่ “สินค้าจากจีน” เป็นที่นิยมและขายดีมาก เพราะอะไร?

เพราะ “ขายถูก” นี่แหละสำคัญสุด

Hisense แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนที่ตอนนี้ครองส่วนแบ่งตลาดทีวีขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับ 2 ของโลก

ธุรกิจกำไรน้อย

ภาพจาก www.hisense.co.th

  • รายได้ 373,628 ล้านบาท
  • กำไร 7,229 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 1.9%

Xiaomi โทรศัพท์สามาร์โฟนจากจีน ตอนนี้ขายดีเป็นอันดับ 3 ของโลก

ธุรกิจกำไรน้อย

ภาพจาก FB : Xiaomi Thailand

  • รายได้ 1,411,757 ล้านบาท
  • กำไร 12,471 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 0.9%

BYD รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ตอนนี้มียอดส่งมอบแซงหน้า Tesla ไปแล้ว

ธุรกิจกำไรน้อย

ภาพจาก www.byd.com/en-th

  • รายได้ 2,132,907 ล้านบาท
  • กำไร 83,606 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 3.9%

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากแบรนด์เหล่านี้คือแม้ตัวเลขรายได้จะดูเยอะมาก แต่ถ้ามองที่กำไรสุทธินั่นน้อยมากเช่นกัน แต่ก็เป็นกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เน้น “ปริมาณ” กำไรน้อยก็ไม่เป็นไร โดยหวังผลในเรื่องการครองส่วนแบ่งการตลาด ซี่งก็ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลมาก ยิ่งในยุคนี้ที่การจับจ่ายใดๆ คนส่วนใหญ่เน้นไปที่สินค้าราคาถูกเป็นหลัก ก็ยิ่งไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ดังกล่าว

หรือถ้ามองให้ใกล้ตัวเข้ามาอีกหน่อย ไปดูกลยุทธ์ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7 – Eleven ที่ใช้หลักการคล้ายๆ กัน คือเน้นขายเยอะในราคาไม่แพง แต่มีสินค้าหลากหลาย และเน้นกระจายสาขาให้เข้าถึงคนทั่วทั้งประเทศ นับถึงตอนนี้มีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 14,000 แห่ง

ธุรกิจกำไรน้อย

การตลาดล่าสุดนำมาใช้คือ ร้าน 7-Eleven ไซซ์ใหญ่ เพื่อเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น เป็นโมเดลที่มองว่ามีโอกาสสร้างรายได้ต่อสาขาเพิ่มขึ้นเพราะลูกค้ามีโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้น การใช้จ่ายต่อบิลต่อครั้งก็จะสูงขึ้น ถ้าดูจากตัวเลขในช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า

  • ยอดซื้อต่อบิลต่อคนประมาณ 82 บาท
  • มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 959 คน
  • ยอดขายจากสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม 75%
  • ยอดขายสินค้าอุปโภคและบริโภค 25%

ซึ่งหลายคนอาจแย้งว่าวิธีนี้มันใช้ได้ผลจริงก็ต่อเมื่อเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ อำนาจต่อรองเยอะ ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กจะใช้กลยุทธ์ “ราคา” สู้ได้อย่างไร

เรื่องนี้ก็เป็นความจริงเช่นกัน ก็ต้องมาดูกันอีกว่า หากเราเป็นรายย่อยจะมีวิธีสูตรตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้อยู่รอดได้

ส่วนใหญ่ก็ใช้สูตรพื้นฐานคือ

ราคาขายสินค้า = ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ

เช่น ข้าวผัดกระเพรา ต้นทุน 1 จานประมาณ 20 บาท อยากได้กำไร 10 บาท ก็ตั้งราคาขายที่ 30 บาท เป็นต้น

ธุรกิจกำไรน้อย

แต่ถ้าคิดให้ละเอียดมากขึ้น ว่าต้องการกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ก็มีอีกสูตรที่ใช้ได้คือ

ราคาขาย = ต้นทุนทั้งหมดต่อชิ้น + (%กำไรที่ต้องการ x ต้นทุน)

เช่น ชานมไข่มุกต้นทุนต่อแก้ว 20 บาท ต้องการกำไร 15% จากราคาขาย

ราคาขาย = 20 + (15% x 20) = 23 บาท

แสดงว่าชานมไข่มุกแก้วนี้ต้องขายที่ราคาประมาณ 25 บาท จึงจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 15% เป็นต้น

สิ่งที่เราเรียนรู้จากการตลาด “กำไรน้อย ขายมาก คือ กำไรมาก” สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจที่ทำอยู่ได้ แต่เราต้องรู้ต้นทุนสินค้าของเรารวมถึงต้นทุนโดยรวมทั้งหมดที่มีเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ค่าเช่าพื้นที่ ตัวเลขเหล่านี้ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อตั้งราคาขาย โดยไม่เน้นขายกำไรมาก แต่เน้นขายให้ได้เยอะๆ เพื่อให้คนรู้จัก คนพูดถึง

ซึ่งอาจจะดีกว่าการขายแบบหวังกำไรเยอะ แต่ขายได้น้อย สุดท้ายก็จะตอบคำถามได้ว่า “กำไรน้อย แต่ขายเยอะ” ทำแบบนี้รวยได้จริง แต่วิธีนี้ไม่ใช่รวยทันที ต้องใช้เวลาและความขยัน และต้องรู้จักการต่อยอดพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงต้องมีวิสัยทัศน์ในด้านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด