ทุนหนาเจ๊งได้หลายรอบ กับ ทุนบางเจ๊งได้ครั้งเดียว ใครมีโอกาสสำเร็จมากกว่า?
เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากทำธุรกิจแล้วเจ๊ง แต่ในความเป็นจริงการทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงเสมอ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้วันนี้ ล้วนแต่ประสบกับความความล้มเหลวและเจ๊งมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง แต่พวกเขากระตือรือร้น ล้มแล้วต้องลุกขึ้นให้เร็ว ใจต้องกล้าที่จะก้าวข้ามผ่านปัญหา และมีกำลังใจที่ยืนหยัดสู้ต่อไปจนพบกับความสำเร็จ
ถ้าถามว่าในสภาพเศรษฐกิจแบบทุกวันนี้ คนที่มีเงิน ทุนหนาเจ๊งได้หลายรอบ กับ คนทุนน้อยทำธุรกิจสามารถเจ๊งได้แค่ครั้งเดียว ใครจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่ากัน
คำตอบ ทั้งสองคนมีโอกาสประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้เท่าๆ กัน ซึ่งตามหลักความจริงคนที่มีเงินทุนมากจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนมีเงินทุนน้อย เพราะถ้าเจ๊งก็ลงทุนใหม่ได้อีก ส่วนทุนน้อยพอเจ๊งก็ไม่มีเงินทุนไปต่อได้
#ลงทุนสูงให้ดัง ไม่ปังเสมอไป
ภาพจาก https://elements.envato.com
หลายๆ คนเริ่มทำธุรกิจมักมองว่า ต้องทำธุรกิจให้ใหญ่โตไปเลย ใช้เงินสร้างชื่อให้โด่งดัง ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจ แต่รู้หรือไม่การที่จะทำเรื่องเหล่านี้ได้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก เช่น การจัดงานเปิดตัวสินค้าใหญ่โต หรือเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่เปิดเป็นร้านอาหาร แต่พอมาเจอวิกฤตอย่างโควิดหรือภาวะเศรษฐกิจฝืดในปัจจุบันก็จอดสนิทได้เหมือนกัน
ส่วนคนที่มีทุนน้อย รู้จักวางแผนค่อยเป็นค่อยไป ก้าวเดินไปทีละนิดทีละหน่อย เช่น หากเปิดร้านอาหาร ก็อาจเริ่มจากการรับทำอาหารส่งที่ทำงาน หรือที่บ้านแบบเดลิเวอรี่ โดยไม่ต้องมีหน้าร้านให้เปลืองค่าเช่า
หรือถ้าอยากขายสินค้า แทนที่จะต้องเปิดร้านใหญ่โต ก็นำสินค้ามาวางขายบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ การเริ่มต้นธุรกิจแบบนี้เหมือนเป็นการชิมลาง ทดลองตลาด เพื่อค่อยๆ ขยายให้ใหญ่โตขึ้น ถ้าหากผลการตอบรับไม่ดี ก็สามารถหยุดได้เลยโดยไม่เจ็บตัว
ยกตัวอย่างอีกกรณี หลายคนเปิดร้านอาหาร อยากทำร้านดีๆ หรูๆ ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จ่ายค่าเช่าแพงๆ ขายถูกเอาใจลูกค้า เก็บเงินคนละ 35-50 บาท ช่วงเปิดร้านตอนแรกๆ คนเยอะ พอผ่านไปเดือนที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 แทบไม่มีคนเลย
ส่วนอีกคนมีเงินทุนน้อย แต่ทำอาหารอร่อย ขายราคาเท่าๆ กัน เริ่มแรกเปิดเป็นรานเล็กๆ ลงทุนน้อยๆ แต่มีลูกค้าประจำมาใช้บริการจำนวนมาก พอเปิดได้สัก 1 ปี หรือ 2 ปี เริ่มขยายการลงทุนเพิ่มตามกำลัง ตามเงิน และรายได้ที่มีเข้ามา
ล้ม…แล้วลุกไว เรียนรู้ข้อผิดพลาด
ภาพจาก https://elements.envato.com
ไม่ว่าใครจะมีทุนมากหรือทุนน้อย แต่ถ้าทำธุรกิจแล้ว “ล้มเหลว” ต้องลุกให้ไว ต้องมองว่าความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาในโลกธุรกิจ ตราบใดที่ยังมีแรง และความสร้างสรรค์ ก็สามารถกลับมาเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ได้เสมอ
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลายๆ คน ต่างประสบกับความล้มเหลวมาหลายครั้ง พวกเขาล้มแล้วลุกไว เรียนรู้ข้อผิดพลาดที่ทำให้ธุรกิจเจ๊ง เช่น การบริหารจัดการทางการเงิน ภาษีต่างๆ ต้องแยกกระเป๋าเงินธุรกิจกับกระเป๋าส่วนตัว
ถ้าไม่แยกก็จะไม่รู้รายได้ที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหา ขาดเงินหมุนเวียนไปจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าเงินเดือนพนักงาน สุดท้ายก็ขาดทุน ดังนั้น ถ้าไม่อยากเจ๊งในการทำธุรกิจ ควรแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวกับธุรกิจออกจากกัน
สุดท้าย ขอฝากคนที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจ อย่างแรกอย่าทำธุรกิจตามกระแส ควรศึกษาและเรียนรู้กับธุรกิจที่จะทำก่อน และดูว่าเหมาะสมกับตัวคุณหรือไม่ ต้องมีความอดทน มีความพยายาม รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ที่สำคัญต้องมีใจรักในธุรกิจที่ทำ เชื่อว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นกับคุณมากกว่าที่จะล้มเหลวอย่างแน่นอน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)