ทุน 2 ล้าน เปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ดี
เงินทุน 2,000,000 บาท แต่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ควรเลือกเปิดร้านด้วยตัวเอง หรือ ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ดี? เชื่อว่าหลายคนอาจมีความหนักใจ ว่าจะเลือกแบบไหนดีที่เหมาะกับตัวเอง และสถานการณ์ในปัจจุบัน
แต่ไม่ว่าจะเปิดร้านเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ ก็น่าสนใจทั้งสองอย่าง เพราะหากเปิดร้านเอง ถ้าสร้างแบรนด์ให้มีชื่อเสียง สินค้าและบริการติดตลาด ส่งผลให้เจ้าของกิจการสามารถต่อยอดด้วยการขายแฟรนไชส์ได้ แต่ถ้าเป็นการซื้อแฟรนไชส์เจ้าดังๆ สินค้าและบริการได้รับความนิยมในวงกว้าง ตั้งในทำเลที่ดี ก็มีสิทธิรวยได้เช่นเดียวกัน
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบให้ดูระหว่าง เปิดร้านเอง และ ซื้อแฟรนไชส์ ภายใต้เงินลงทุน 2,000,000 บาท แบบไหนมีความน่าสนใจมากที่สุด และเหมาะกับตัวเรามากที่สุดเช่นกันครับ
1. วัสดุและอุปกรณ์ในการเปิดร้าน (ต้นทุนประมาณ 1,500,000 – 1,700,000)
ภาพจาก www.facebook.com/kpnmusicacademy/
เปิดร้านเอง
ผู้ที่จะเปิดร้านเอง จะต้องจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการเปิดร้านทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องครัว การตกแต่ง ป้ายชื่อร้าน ป้ายชื่อเมนู และอื่นๆ โดยเจ้าของกิจการสามารถเลือกรูปแบบของร้านได้ตามใจชอบ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการจ้างช่างออกแบบตกแต่ง ค่าป้าย ซึ่งงบประมาณไม่คงที่ อาจบานปลายได้
ซื้อแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์จะเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการขายให้ทั้งหมด รวมถึงการออกแบบตกแต่งร้านให้เหมือนร้านต้นแบบทุกอย่าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์แทบไม่ต้องทำอะไร เจ้าของแฟรนไชส์จัดเตรียมให้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคีออส ป้ายชื่อ ป้ายเมนู รวมถึงอุปกรณ์ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าต้องใช้เงินลงทุนในส่วนนี้เท่าไหร่ งบประมาณคงที่ชัดเจน
2. วัตถุดิบ สินค้า และต้นทุนการผลิต (ต้นทุนประมาณ 200,000 – 300,000)
ภาพจาก bit.ly/30JCi1u
เปิดร้านเอง
ผู้ที่จะเปิดร้านเอง จะต้องคิดสูตรในการผลิตสินค้าขึ้นมาเอง ปรับสูตรใหม่ ลองผิด ลองถูกด้วยเองทุกอย่าง กว่าจะได้สูตรหรือสินค้าที่ลงตัว อาจจะต้องใช้เวลายาวนาน และต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบอาจจะบานปลายกับการทดลองสูตรใหม่ๆ เมื่อได้สูตรที่ลงตัวแล้ว จะต้องคิดราคาขายสินค้าเอง ตามต้นทุนของวัตถุดิบแต่ละช่วงเวลา ที่สำคัญต้องไปซื้อวัตถุดิบและสินค้ามาขายเองทุกอย่าง
ซื้อแฟรนไชส์
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสินค้าและวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาฐานจากบริษัทแม่แฟรนไชส์มาขาย ไม่ต้องคิดสูตร ไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิด ลองถูก เมื่อได้รับสิทธิแฟรนไชส์ ผ่านการอบรมการขาย การผลิตสินค้า ก็เปิดร้านขายได้ทันที ซึ่งราคาขายก็เป็นไปตามบริษัทแม่ ไม่ต้องคิดราคาขายให้ปวดหัว ที่สำคัญบริษัทแม่จะจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบให้ ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องมีต้นทุนในการขนส่ง เพียงแค่เลือกซื้อแฟรนไชส์ได้ตามงบประมาณที่มีอยู่ไม่เกิน 2ล้านได้เลย
3. การทำตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์
ภาพจาก facebook.com/kumonthailand
เปิดร้านเอง (50,000 – 100,000)
ผู้เปิดร้านเองจะต้องทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน หรือมากกว่านี้ในการทำให้สินค้าและบริการติดตลาด โดยต้นทุการทำตลาดประมาณ 10-15% ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของกิจการจะเลือกช่องทางการทำตลาดแบบไหน ที่สำคัญอาจจะต้องใช้ทีมงาน หรือจ้างคนนอกให้มาช่วยทำตลาดให้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ซื้อแฟรนไชส์
เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะมีหน้าที่ทำการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เติบโตไปด้วยกัน ยิ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์เติบโต บริษัทแม่ก็จะเติบโตไปด้วย ได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย (Royalty Fee) แต่บางครั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องเปิดเพจโปรโมทร้านเพื่อแจ้งโปรโมชั่นให้กับร้านของตัวเอง ดึงดูดลูกค้าในละแวกใกล้เคียงให้รับทราบต่อเนื่อง
4. วิธีการขายและบริหารจัดการร้าน
ภาพจาก www.facebook.com/extaplus/
เปิดร้านเอง
ผู้ที่เปิดร้านเองจะต้องวางแผนการขาย คิดค้นระบบการขาย วิธีการขาย การสต็อกสินค้า บริหารต้นทุน ระบบการเงิน ฯลฯ หากเจ้ากิจการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าคอร์สเรียนเพิ่ม หรือจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญมาวางระบบในการขายและบริหารจัดการร้านให้เป็นมาตรฐาน แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมายเพิ่มขึ้น ที่ไม่สามารถประมาณการได้ แต่รายได้จากการขายนั้น จะรับเต็มๆ ไม่ต้องแบ่งให้กับใคร ต้นทุนการขายอาจเพิ่มตามกาลเวลา
ซื้อแฟรนไชส์
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับคู่มือแฟรนไชส์ ซึ่งในนั้นจะรวบรวมวิธีการขาย วิธีการบริหารจัดการร้าน การสต็อกสินค้า ระบบการเงิน เรียกว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับขายและการบริหารจัดการร้าน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่มีความรู้ก็จะได้รับการอบรมจากบริษัทแม่แฟรนไชส์จนกว่าจะปฏิบัติได้ทุกอย่างได้อย่างเต็มรูปแบบ เพียงแค่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามระบบแฟรนไชส์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนรายได้จากการขายหากเป็นแฟรนไชส์อาจต้องแบ่งให้กับบริษัทแม่แฟรนไชส์ด้วย
5. งบประมาณและค่าใช้จ่ายโดยรวม
ภาพจาก bit.ly/33NHO5m
เปิดร้านเอง
ผู้ที่เปิดร้านเองจะต้องวางแผนด้านการเงินอย่างรัดกุม เริ่มตั้งแต่การออกแบบตกแต่งร้าน วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการผลิต การทำตลาด การขนส่ง เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนเหล่านี้อาจจะบานปลายได้ จากงบ 2 ล้านบาท เพิ่มเป็น 2 ล้านกว่าบาท
ซื้อแฟรนไชส์
สำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์จะรู้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าไหร่ ทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าแฟรนไชส์แรกเข้า หรือ ค่าตกแต่งร้าน วัสดุและอุปกรณ์ในการขาย จึงทำให้ไม่ยุ่งยาก เสียเวลาเหมือนเปิดร้านเอง จ่ายเงินครบทุกอย่างแล้วเปิดร้านขายได้ทันที ไม่ต้องทำการตลาด เพราะมีกลุ่มลูกค้ารองรับอยู่ก่อนแล้ว
ได้เห็นกันหรือยังว่า หากมีเงินทุน 2 ล้านบาท คุณอยากจะเปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ หากใครที่กำลังอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ลองพิจารณาอย่างรอบคอบครับ ว่าเปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน แต่เปิดร้านเองงบอาจบานปลายได้ครับ หากไม่รู้จักควบคุมให้ดี ส่วนซื้อแฟรนไชส์สามารถเลือกซื้อแฟรนไชส์ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ได้ครับ งบคงที่
- สนใจซื้อแฟรนไชส์ด้วยงบ 2,000,000 คลิก https://bit.ly/33M1mXA
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Y1J40T