ทุกข์ของร้านอาหาร ใช่ว่าทุกร้านจะทำเดลิเวอรี่ได้
ในช่วงเกิดการระบาดโควิด-19 ทำให้ร้านอาหารเกือบทั่วประเทศถูกสั่งห้ามจำหน่ายแบบนั่งรับประทานในร้าน ขายได้แต่นำกลับไปรับประทานที่อื่น ยิ่งทำให้ทางเลือกการขายมีจำกัด ส่งผลให้ตลาดเดลิเวอรี่กลายเป็นช่องทางหลักในการสร้างยอดขายให้กับร้านอาหาร ไม่ว่าจะร้านแบรนด์ใหญ่ กลาง เล็ก ทุกร้านต้องมีเดลิเวอรี่
แต่จะว่าไปแล้วบริการเดลิเวอรี่ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรมี เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมบางร้านยอดเดลิเวอรี่ดี แต่ขาดทุน และบางรายเสียลูกค้าประจำไป เป็นเพราะสาเหตุอะไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบเกี่ยวกับปัญหา ทุกข์ของร้านอาหาร ในยุคโควิด-19
ที่ผ่านมาเกือบตลอดทั้งปี จะเห็นได้ว่าการให้บริการแบบเดลิเวอรี่ กำลังมาแรงมากในการทำธุรกิจอาหารในประเทศไทย ร้านอาหารให้ความสนใจทำเดลิเวอรี่ เพราะตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการแข่งขันในเรื่องตลาดเดลิเวอรี่ค่อนข้างสูง มีตัวเลือกที่มากขึ้น หลายร้านพยายามหากลยุทธ์ในการส่งฟรี เพื่อดึงลูกค้าใช้บริการร้านตัวเองให้ได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริการเดลิเวอรี่ จะตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย และหากร้านอาหารใดมีบริการเดลิเวอรี่ด้วย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้ออาหารจากร้านนั้น แต่หากพิจารณาตามความจริงแล้ว ในมุมผู้ประกอบการร้านอาหารแล้ว การเปิดบริการเดลิเวอรี่ถือเป็นปัญหาที่หลายๆ ร้านอาหารกำลังประสบอยู่
กล่าวคือ ในอดีตผู้ประกอบการร้านอาหาร จะเป็นคนส่งอาหารเอง ต่อมาก็มีการพัฒนาเรื่องการรับ-ส่ง โดยมีบริการรับส่งอาหารจาก Grab / Uber / Lineman ฯลฯ ซึ่งบริการเหล่านี้บางรายจะมีการคิดค่าบริการ (GP) จากเจ้าของธุรกิจร้านอาหารด้วย นั่นจึงทำให้ร้านอาหารมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากบริการเดลิเวอรี่ ที่ผู้ประกอบการร้านต้องจ่ายเพิ่ม โดยผู้ให้บริการเดลิเวอรี่แต่ละเจ้าก็จะมีการเรียกเก็บค่าบริการในราคาที่แตกต่างกันไป ซึ่งถือเป็นต้นทุนการทำร้านอาหารทั้งสิ้น
เมื่อร้านอาหารมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เจ้าของร้านต้องหาจุดสมดุลระหว่างหน้าร้าน และบริการเดลิเวอรี่ให้ได้ เช่น ถ้าต้นทุนเป็น 100% แล้วต้องจ่ายให้เดลิเวอรี่ประมาณ 30% เหลือ 70% เป็นต้นทุนอาหาร 30% ค่าเช่า 20% ร้านจะเหลือ 20% ยังไม่รวมเงินเดือน ถ้าเงินเดือน 15% เหลือ 5% ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องตระหนักตรงนี้ เพราะถ้าร้านอาหารเปิดให้มีนั่งในร้านได้ แต่รายได้ส่วนใหญ่มาจากบริการเดลิเวอรี่ ถือว่าเป็นปัญหาอย่างแน่นอน
แต่ถ้าหากร้านอาหารทำเดลิเวอรี่เอง ใช้พนักงานของร้านที่มีความพร้อมเป็นไรเดอร์ สวมบทพนักงานส่งอาหารให้กับลูกค้าในรัศมี 5-10 กิโลเมตร โดยอาจแจ้งลูกค้าทราบว่า ในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรร้านส่งให้ฟรี เกินจากนั้นไปมีค่าส่งกิโลเมตรละ 5-7 บาท วิธีนี้จะช่วยให้ร้านไม่โดนค่า GP แน่นอน โดยร้านอาหารสามารถทำควบคู่กันไปทั้ง 2 วิธี แต่ถึงอย่างไรบริการ เดลิเวอรี่ก็เป็นสิ่งต้องทำควบคู่กับการให้ลูกค้านั่งรับประทานในร้าน เพื่อเพิ่มยอดขาย และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/3vCHnWa
สิ่งสำคัญหากร้านอาหารทำเดลิเวอรี่จริงๆ ต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าที่นั่งทานที่ร้านด้วย เพราะเมื่อมีออเดอร์เดลิเวอรี่มาเป็นจำนวนมาก อาจกระทบกับลูกค้านั่งในร้านออกล่าช้า และอาจจะสูญเสียลูกค้าประจำไปในที่สุด
จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องพยายามหาจุดสมดุลให้ได้ระหว่างเดลิเวอรี่กับหน้าร้าน ที่สำคัญการตลาดที่ดี คือการบริหารจัดการหน้าร้านชั้นยอด บริการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดการบอกปากต่อปาก
และหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารให้รอดในวิกฤติ คือ ต้องบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้เป็น ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ได้ หากอยู่ในห้างไม่ได้ ก็ต้องย้ายออกมานอกห้าง เพื่อความอยู่รอด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bjh6UX