ทีมไหน! หา”ทำเล” ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก “ธุรกิจ” ก่อนหาทำเล

หาทำเล ก่อนทำธุรกิจ หรือ หาธุรกิจก่อนเลือกทำเล? เหมือนปัญหาโลกแตก “ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน” ซึ่งคำตอบออกมาแบบไหนก็ล้วนแต่มีเหตุผลมารองรับทั้งนั้น

บางคนบอกต้องมี “ทำเล” ก่อน ถึงจะรู้ว่าเราจะทำธุรกิจอะไรหรือหาสินค้าอะไรมาขาย บางคนบอกต้องมี “ธุรกิจ” ก่อนถึงจะเลือกทำเลให้ถูกต้องและถ้าไม่รู้จะทำอะไรมีทำเลไปก็ไร้ประโยชน์ แต่เราก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้เช่นกันว่า “ทำเลที่ดี” มันก็ไม่ได้หากันง่ายๆ

คำว่า “ทำเลที่ดี” ในภาพรวมคือพื้นที่คนพลุกพล่าน การเดินทางสะดวกสบาย มีกำลังซื้อสูง มีความต้องการสินค้าที่หลากหลาย ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดก็มองที่ค่าเช่าควรสมเหตุสมผล มีการดูแลจากเจ้าของพื้นที่เป็นอย่างดี

ก่อนทำธุรกิจ

ดังนั้นบางคนที่มีความคิดว่าอยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างแล้วเจอ “ทำเลที่ดี” ก็อาจจะจิ้มเลือก “ทำเล” ก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยมาคิดอีกทีว่า “ทำเลดี” ตรงนี้จะขายอะไรที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด

ส่วนตัวแล้วเคยเห็นหลายธุรกิจที่ไปเปิดตามบริเวณทางเข้าห้างค้าปลีกใหญ่ๆ ซึ่งประเมินแล้วว่า “ทำเลดี” จากข้อมูลที่เคยถามเขาบอกว่าค่าเช่าประมาณ 15,000 บาท ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ แต่สินค้าที่ขายคือพวกไก่ทอดราคา 40-60 บาท

ก่อนทำธุรกิจ

นั่นแสดงว่าแต่ละเดือนเขาต้องขายให้ได้มากกว่า 15,000 เพื่อให้ร้านมีกำไร หรือตามหน้าร้านสะดวกซื้อเราเองก็เคยถามพวกร้านที่มาเปิดขายอยู่ด้านหน้าเขาบอกว่าเสียค่าเช่าเดือนละ 5,000 ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ

ซึ่งนั่นก็เป็นแค่ต้นทุนส่วนหนึ่งที่ยังไม่รวมเรื่องวัตถุดิบที่ต้องสั่งมาขาย แต่ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าลงทุนไหม แต่ก็ตัดสินใจลงทุนเปิดร้านเพราะเชื่อมั่นในศักยภาพทำเลและคิดว่าจะต้องขายดีมีกำไรได้

ก่อนทำธุรกิจ

คำว่า “ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” ก็อาจจะจริงบางส่วน เพราะทำเลที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทย์ทุกธุรกิจ บางคนได้ทำเลดี แต่ร้านกลับเจ๊งไม่เป็นท่า ปัจจัยก็มีหลายอย่างทั้งการแข่งขันที่สูงจากบรรดาร้านค้าในพื้นที่

รวมถึงเรื่องคุณภาพสินค้าและบริการที่อาจสู้คู่แข่งไม่ได้ สำคัญสุดคือการบริหารต้นทุนในร้าน ยิ่งพื้นที่ดีค่าเช่าก็มักแพงตาม ยังไม่นับรวมต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนด้านแรงงาน ใครที่บริหารเรื่องพวกนี้ไม่ดี ต่อให้อยู่ในทำเลดีแค่ไหนก็เจ๊งได้

ก่อนทำธุรกิจ

ตัดกลับมาในมุมของคนที่ “หาธุรกิจ” ก่อน “หาทำเล” การตัดสินใจขั้นสุดท้ายคือมองว่า ธุรกิจที่มีเหมาะสมกับพื้นที่ไหน เช่น ลงทุนแฟรนไชส์ชานมไข่มุก ก็ต้องไปหาทำเลที่ใกล้โรงเรียน โรงงาน ย่านตลาด ถ้าพิจารณาลึกลงไปก็ต้องดูเรื่องกำลังซื้อ จำนวนคู่แข่ง รวมถึงระยะเวลาว่าจะเปิดร้านช่วงไหนที่จะขายดีที่สุด เป็นต้น

แต่อย่าลืมเช่นกันว่าถ้าเราตัดสินใจเริ่มธุรกิจใดๆ ไปแล้ว เช่นมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์ มีการเข้าคอร์สอบรมเรียนต่าง ๆ มันจะมีต้นทุนสะสมถ้ายังมัวแต่หาทำเลที่ต้องการไม่ได้สักที ธุรกิจก็ยังเริ่มไม่ได้ รายได้ก็ไม่จะยังไม่มี วิธีการที่ดีที่สุดคือถ้าจะหาธุรกิจก่อนก็ต้องหาทำเลควบคู่กันไปในทันที เพราะจะไม่มีเวลาให้ยืดเยื้อได้ขนาดนั้น

หรือเดี๋ยวนี้หลายคนบอกว่าไม่จำเป็นต้องได้ทำเลที่ดีสุดเสมอไป เพราะใช้  “ตลาดออนไลน์” เข้ามาช่วยขาย ก็นับเป็นอีกวิธีที่ลดต้นทุนเรื่องค่าเช่าพื้นที่ไปได้ หลายธุรกิจเลือก “ทำเลรองๆ” บวกทำตลาดโซเชี่ยล อาจมียอดขายมากกว่าร้านที่เปิดในทำเลทองด้วยซ้ำ

ทั้งนี้หนึ่งในวิธีการลงทุนยุคนี้ที่ง่ายสุดไม่ต้องคิดเลยว่ามีธุรกิจก่อนทำเล หรือมีทำเลก่อนธุรกิจ คือการเลือกลงทุน “แฟรนไชส์” เพราะหลายแบรนด์มีพาร์ทเนอร์ให้เลือกทำเลเปิดร้านได้ทันที จบปัญหาทั้งเรื่องการสร้างธุรกิจและการหาทำเล ก็อยู่ที่เราว่าจเลือกลงทุนแฟรนไชส์แบบไหน ในยุคนี้ก็มีให้เลือกครบทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริหาร การศึกษา ค้าปลีก แต่ละแบรนด์ก็มีทีมงานคุณภาพคอยให้คำปรึกษาเป็นอย่างดีอีกด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด