ทีมไหน! ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

หลายคนต้องเคยทานอาหารที่ไหนสักแห่งแล้วอร่อยมากๆ จนมีความคิดแว๊บหนึ่งว่า “อยากได้สูตร” นี้ไปทำขายบ้างจัง? ซึ่งสูตรอาหารนี่ก็ไม่ใช่จะให้ใครก็ได้นะ การ “หวงสูตร” มีให้เห็นอยู่ไม่น้อย

เหตุผลที่ต้องหวงสูตรก็เพราะกว่าจะได้สูตรอร่อยมาก็ต้องแลกกับการลองผิดลองถูก โดนบ่นก็เยอะ โดนด่าก็แยะ จนได้สัดส่วนผสมที่ลงตัวกลายมาเป็น “สูตรเฉพาะ” ที่เป็นเอกลักษณ์ของร้านนั้นๆ โดยเฉพาะพวก “สูตรอาหาร” อย่างน้ำจิ้มข้าวมันไก่ , สูตรข้าวหมูแดง , สูตรก๋วยเตี๋ยว, สูตรหมูกรอบ ยิ่งแบรนด์ดังมาก

คนยิ่งอยากได้สูตร หรือแม้แต่ KFC ที่ตอนนี้เราก็ยังไม่รู้เลยว่าเขามีสูตรในการทอดไก่ยังไงให้อร่อย กรอบได้ขนาดนั้น

ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

แต่เมื่อมีคนที่ “หวงสูตร” ก็มีอีกกลุ่มเช่นกันที่พร้อม “ขายสูตร” ให้คนสนใจ

เคยมีกระทู้ในเว็บบอร์ดถามว่า “ถ้าอยากขายสูตรอาหาร ควรตั้งราคาเท่าไหร่” ซึ่งคำตอบก็หลากหลายขึ้นอยู่กับสูตรอาหารที่ว่านั้นอร่อยจริงไหม ถ้าดีจริงแพงแค่ไหนก็มีคนกล้าจ่าย เพราะประเมินแล้วว่าถ้าเอาสูตรนี้ไปเปิดร้านจะต้องมีรายได้เกินคุ้ม

และวิธีการ “ขายสูตร” เดี๋ยวนี้ก็มีหลายแบบที่ขายสูตรกันตัวต่อตัว หรือเลือกทำเป็นธุรกิจชัดเจน อย่างการจัดคอร์สอบรม หรือการสอนสูตรแบบออนไลน์ เก็บค่าเรียนจากผู้สนใจเป็นครั้งละเท่าไหร่หรือราคาต่อคอร์สก็ว่ากันไป

ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

ในอีกมุมหนึ่งถามว่าถ้าเรามี “สูตรอร่อย” เลือก “ขายแฟรนไชส์” จะดีกว่าไหม?

ถ้าวิเคราะห์ในแง่รายได้ การขายสูตรอย่างเดียว สิ่งที่จะได้ก็คือ รายได้จากคนที่มาสมัครเรียนในแต่ละครั้ง เช่นคิดราคาต่อคอร์ส 5,000 มีคนเรียน 10 คน จะมีรายได้ 50,000 บาท หักลบต้นทุนต่างๆ เช่น ค่าอุปกรณ์+วัตถุดิบ คนที่เปิดคอร์สก็จะมีกำไรเหลือพอสมควร

ซึ่งข้อดีของการขายสูตร คือไม่ต้องไปวุ่นวายกับเรื่องอื่น คิดแค่การขายสูตรสอนคนเรียนให้เอาไปเปิดร้านต่อได้ หลังการเรียนก็อาจมีการติดตามผลว่าคนเรียนไปแล้วเป็นอย่างไร เอาไปเปิดร้าน ขายดีไหม มีอะไรก็ปรึกษาได้ เป็นต้น

ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

แต่การขายสูตรก็มีข้อเสียบางประการเช่นคนที่เรียนไปแล้ว ไปทำผิดสูตร ไม่อร่อยเหมือนสูตรที่เรียน ก็เสียหายมาถึงสูตรต้นตำหรับได้ แต่การขายสูตรก็ต้องอัพเดทเทรนด์อยู่เสมอ เพื่อให้สูตรอาหารนั้นทันยุคสมัยและมีคนสนใจอยากมาเรียนอย่างต่อเนื่อง

แตกต่างจากการ “ขายแฟรนไชส์” ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับ “ค่าแฟรนไชส์” ที่เรากำหนด เช่น ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาทถ้ามีคนสนใจขยาย 10 สาขาก็จะมีรายได้ 500,000 บาท แต่ก็ต้องหักลบต้นทุนที่สูงกว่าทั้งค่าอุปกรณ์+วัตถุดิบ+ค่าการตลาดต่างๆ การคำนวณว่าควรตั้งราคาแฟรนไชส์แค่ไหนก็แตกต่างกันไปตามแต่ละแบรนด์ ซึ่งถ้ามองในแง่ของ “คนซื้อ” การลงทุน “แฟรนไชส์” อาจคุ้มค่ากว่า

ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

เพราะนอกจากได้สูตร ยังได้ Knowhow และได้ชื่อเสียงของแบรนด์ รวมถึงได้ระบบบริหารจัดการ + การดูแลจากทีมงาน + การส่งเสริมด้านการตลาดต่างๆ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้น แตกต่างจากการได้เฉพาะ “สูตรอาหาร” ที่แม้การลงทุนจะน้อยกว่าแต่ก็ต้องไปบวกต้นทุนเพิ่มในการจัดร้านแต่งร้านและยังต้องไปสร้างฐานลูกค้าของตัวเอง ในมุมนี้ก็มองดูว่าการลงทุนในแฟรนไชส์ดูจะได้เปรียบมากกว่า

ซึ่งปัจจุบันการลงทุนแฟรนไชส์ก็มีหลายราคาให้เลือกได้ตามเหมาะสม เริ่มตั้งแต่หลักพันเป็นพวกปิ้งย่าง มีโต๊ะตัวเดียวก็เปิดร้านได้ รับวัตถุดิบมาขาย ไม่ต้องคิดสูตรเอง เอามาปิ้งขายได้เลย หรือจะขายพวกเครื่องดื่ม ก็มีแพ็กเกจแบบราคาไม่แพง แต่จะได้ทั้งสูตรและการสอนเทคนิคเปิดร้าน มีฐานลูกค้าที่รู้จักเป็นทุนเดิม ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ โอกาสประสบความสำเร็จก็เร็วกว่า

ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์

อย่างไรก็ดีการขายสูตร หรือ ขายแฟรนไชส์ มีความยากง่ายในตัวเองที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล คนที่เอาดีด้านการขายสูตรและสามารถสร้างรายได้จากคอร์สเรียน คอร์สฝึกอบรม ก็มีอยู่เยอะ หรือคนที่ขายแฟรนไชส์แล้วประสบความสำเร็จในปัจจุบันก็มีไม่น้อยเช่นกัน

แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือไม่ว่าจะขายสูตรหรือขายแฟรนไชส์ คนที่มาซื้อจากเราไปถือเป็นลูกค้าที่เราต้องเอาใจใส่ดูแลติดตามผลว่าเขาเป็นอย่างไร สิ่งที่ได้ไปเขาเอาไปต่อยอดได้ดีแค่ไหน ไม่ใช่การขายแล้วขายเลย ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง คิดแต่จะเอาเงินเขาอย่างเดียว เรื่องสามัญสำนึกจึงสำคัญมากไม่ว่าจะขายสูตรหรือขายแฟรนไชส์ก็ตาม 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด