ทำไมแฟรนไชส์ ถิงถิง บิงซู ถึงดัง ขยายเร็ว!

“ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” เป็นร้านขนมหวานสไตล์ไทย-จีน สำหรับคนรักสุขภาพด้วยเมนูสุขภาพที่หลากหลาย กำลังได้รับความนิยมและมีคนพูดถึงกันมากในช่วงการระบาดโควิด-19

อะไรที่ทำให้แฟรนไชส์ร้าน ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง มีชื่อเสียงโด่งดัง ขยายสาขาได้รวดเร็ว www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

เข้าถึงทุกเพศ ทุกวัย

ถิงถิง บิงซู

ร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” แม้จะออกแนวโบราณ อาม่า อากง แต่เจ้าของร้านเป็นคนรุ่นใหม่ ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของร้านให้ดูทันสมัย และพัฒนาเมนูให้มีความหลากหลาย เช่น บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เฉาก๊วย น้ำขิง ฯลฯ รวมถึงเพิ่มเมนูชานมไข่มุก เมนูขนมหวานต่างๆ ที่เป็นทางเลือกให้เด็ก วัยรุ่นกินได้ ไม่เฉพาะคนสูงวัยเท่านั้น

รสชาติแปลกใหม่

ถิงถิง บิงซู ถิงถิง บิงซู

เดิมทีน้ำขิงเป็นของร้อน แต่ทางร้านได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับของเย็น จนกลายมาเป็น “บิงซูน้ำขิง” ที่เป็นขนมหวานสำหรับผู้บริโภครุ่นอาม่าได้เป็นอย่างดี ส่วนผสมต่างๆ ทางร้านวางแผน และทดลองด้วยตัวเองเน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลัก แม้จะเป็นขนมหวานแต่เป็นขนมหวานเน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลัก เช่น งาดำ ถั่วเหลืองออร์แกนิค น้ำขิง เป็นต้น

ร้านตั้งอยู่ใกล้ชุมชน

ถิงถิง บิงซู

ปัจจุบันร้าน ถิงถิง บิงซูน้ำขิง เปิดมาได้ประมาณ 3 ปี มีจำนวนร้านทั้งหมดราวๆ 24 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยในแต่ละสาขาจะถูกออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย และได้บรรยากาศเป็นกันเอง เวลาคนสูงวัยมากินขนมของที่ร้านก็จะพาลูกหลานมาด้วย ซึ่งเมนูของทางร้านไม่เพียงแค่ผลิตออกมาเพื่อรองรับแต่คนสูงวัยเท่านั้น ยังมีเมนูขนมหวานที่เด็ก วัยรุ่น สามารกินได้ เช่น ชานมไข่มุกบุก ที่มีความแตกต่างจากชานมไข่ทุกทั่วไปคือเป็นชาจีน จะให้ความแตกต่างและรสชาติที่ไม่ซ้ำใคร อีกทั้งเพื่อการรักสุขภาพยังมีไข่มุกบุก ที่ไม่มีส่วนผสมของแป้งอีกด้วย

ขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์

ถิงถิง บิงซู

ร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่า 24 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยค่าใช้จ่ายรวมในการเปิดร้านประมาณ 1.2-1.5 ล้านบาท

ลูกค้าติดใจช่วยบอกต่อ

5

สิ่งที่ทำให้ร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” ดัง ก็คือ กลยุทธ์สร้างแบรนด์อาศัยการบอกต่อของลูกค้า เดิมทีมีฐานลูกค้าประจำที่เป็นคนสูงวัย เมื่อกินแล้วติดใจครั้งต่อไปก็จะพาลูกหลานมากินด้วย ทางร้านเปิดเป็นร้านขายขนมทั่วไป บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เฉาก๊วย แบบปกติ แต่พอลูกค้าเข้ามาในร้านก็จะพบเมนูที่แปลกใหม่ พอลองแล้วก็จะกลับมาอีกครั้ง

เมนูหลากหลาย

4 3

จุดเด่นของทางร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” นอกจากจะมีเมนู “บิงซูน้ำขิง” ยังมีเมนูอื่นๆ ที่ขายดี เช่น บิงซูชาไทยไข่มุก ชานมไข่มุกอาม่า เต้าฮวยเบิร์นไฟ น้ำเต้าหู้ไข่มุกบราวน์ชูก้า และเมนูอื่นๆ นมสดลาว่าคัสตาร์ดไข่เค็ม ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาตามเทรนด์ในปัจจุบัน วัยรุ่นกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ซึ่งทางร้านจะมีน้ำตาลไว้เพื่อให้ลูกค้าเติมระดับความหวานด้วยตัวเอง หากใครชอบหวานน้อยหรือหวานมากก็สามารถเติมได้ตามความต้องการ

รูปแบบร้านมีเอกลักษณ์

ถิงถิง บิงซู

 

ร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” จะมีการออกแบบร้านในแต่ละสาขาคล้ายๆ กัน คือ ออกแบบในโทนสบายตา เรียบง่าย สะอาด สว่าง ลูกค้าจะรู้สึกจับต้องและเข้าถึงได้ง่าย โดยร้านสาขานต่างๆ จะเปิดใกล้ชุมชน สาขาแรกที่เปิดคือสาขาสาธุประดิษฐ์ ซึ่งเป็นร้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

เปิดบริการเดลิเวอรี่

1

การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ร้านขนมหวาน “ถิงถิง Ting Ting บิงซูน้ำขิง” ปรับรูปแบบการให้บริการทั้งซื้อจากร้านและสั่งขนมหวานที่ดีต่อสุขภาพผ่านแอปฯ เดลิเวอรี่ เช่น LineMan / GrabFood / Gojek / FoodPanda / Robinhood ได้

นั่นคือ เหตุผลว่าทำไม ร้านขนมหวาน “ถิงถิง บิงซูน้ำขิง” ร้านขนมหวานสไตล์ ไทย-จีน มีชื่อเสียงโด่งดัง ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่มีเมนูคนสูงวัยเท่านั้นที่ชื่นชอบ ยังเมนูหลากหลายเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณรูปภาพจาก facebook.com/tingtinggingerbingsu/

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/3hPGUL0 , https://bit.ly/3wsrZvE

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hycJJ8

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช