ทำไมธุรกิจจีนบุกไทย แบบเอาเป็นเอาตาย!
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้าให้กับประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จาก 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มาเป็น 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน นั่นแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาสินค้าจีนข้ามาในประเทศไทยมากกว่าสินค้าไทยส่งออกไปยังประเทศจีน
ไม่เพียงแค่สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาในไทย ยังมีธุรกิจหรือทุนจีนกำลังบุกตลาดในเมืองไทย แบบเอาเป็นเอาตาย ชนิดที่ว่าทั้งบุกและยึด ทั้งธุรกิจค้าปลีก ท่องเที่ยว อาหาร เกษตร อุตสาหกรรม ยานยนต์ เทคโนโลยี อสังหา วัสดุก่อสร้าง การศึกษา คาดว่าจะทยอยยึดครองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้โมเดลธุรกิจจากผู้ส่งออกมาตั้งโรงงานต้นทุนต่ำ
การบุกตลาดอย่างรวดเร็วของทุนจีน ยกตัวอย่างกรณีธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็น MIXUE, WEDRINK, Zhengxin Chicken Steak, COTTI COFFEE ฯลฯ รวมไปถึงร้านหมาล่าสายพานในย่านต่างๆ ชูกลยุทธ์ขายถูกเริ่มต้น 15 บาท ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการไทยในธุรกิจเดียวกันเป็นจำนวนมาก แต่มองมุมทำให้ผู้บริโภคได้เปรียบ
ทุนจากจีนที่เข้ามาบุกตลาดเมืองไทยแทบทุกช่องทางทั้งทางออนไลน์ และบุกมาซื้อกิจการเป็นเจ้าของธุรกิจทั้งทางตรงทางอ้อมในหลายธุรกิจทั่วประเทศ สร้างความปั่นป่วนให้กับธุรกิจ SME ในแต่ละพื้นที่ที่ทุนจีนบุกไปถึง
ถ้าถามว่า ทำไมธุรกิจจีนบุกไทย แบบเอาเป็นเอาตาย!
1. การเปิดเสรีทางการค้า FTA
ส่วนหนึ่งมาจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างกัน ไทยมี FTA กับจีน และไทยยังมี FTA อาเซียน-จีน รวมถึง RCEP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อาเซียน กับ อีก 5 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ดังนั้น การเปิดเสรี การลดกำแพงภาษี เพิ่มโอกาสให้สินค้าจีนเข้ามาในไทยได้ง่าย ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า แต่จริงๆ ตัวเร่งให้สินค้าและธุรกิจจีนบุกไทย คือ กระแสสงครามการค้าจีนกับอเมริกา ทำให้ทุนจีนเบนเข็มไปค้าขายและลงทุนในประเทศอื่นๆ มากขึ้น
2. โอกาสทางการค้าในระดับภูมิภาค
ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยมีประชากรจำนวนมากและเป็นตลาดที่กำลังเติบโต อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประตูสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียนอีกต่างหาก
3. ทิศทางและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ
ประเทศไทยถือว่าทิศทางและแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการสนับสนุนในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของไทยจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้นักลงทุนจีนเข้ามาตั้งฐานการผลิตและธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้
4. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ประเทศไทยมีการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการขนส่งต่างๆ และระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้การลงทุนในธุรกิจและการค้าขายของทุนจีนมีความสะดวกมากขึ้น
5. ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน
ต้องยอมรับประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมายาวนานกว่า 100 ปี เป็นมิตรและมีความร่วมมือในหลายด้าน เช่น โครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง และนโยบายการสนับสนุนการลงทุนอย่างรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
6. การขยายตัวของบริษัทจีน
บริษัทจีนหลายแห่งมีแผนขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยเลือกประเทศไทยเป็นเป้าหมาย เนื่องจากที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวยกว่าหลายๆ ประเทศ อีกทั้งมีการส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ให้สิทธิพิเศษ เช่น การยกเว้นภาษี 8 ปี และการนำเข้าแรงงานได้อย่างอิสระ
7. ความต้องการตลาดและผู้บริโภค
ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง แต่ชอบสินค้าราคาถูก ชอบสินค้าหรือธุรกิจที่เป็นกระแส เป็นของนอกยิ่งดี อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าจีน อาหารจีน จึงเปิดโอกาสให้กับธุรกิจจีน
สุดท้าย ยังมีอีกปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจจีนบุกตลาดเมืองไทยแบบเอาเป็นตาย อยู่ที่นโยบาย Free Visa เข้าประเทศไทยไม่ต้องขอวีซ่า อยู่ในประเทศไทยได้ถึง 2 สัปดาห์ ทำให้การเดินทางเข้ามาและเริ่มธุรกิจในไทยของนักลงทุนจีนเป็นเรื่องง่ายและสะดวก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)