ทำไมคุณต้องเสียดาย! ที่ไม่ได้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
การซื้อธุรกิจ แฟรนไชส์ นั้นเป็นทางลัดในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ และทรงพลังมาก เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้ใช้ทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญในการสร้างธุรกิจ มาสนับสนุนผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์
ทำให้ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ต้องเริ่มต้นสร้างธุรกิจเอง ลองผิด ลองถูก เพียงแค่จ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการซื้อแฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด ก็สามารถรับเอาสินค้า ทักษะ และความรู้ ความเชี่ยวชาญของเจ้าของแฟรนไชส์มาใช้ได้ทันที ซึ่งทำให้ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์เริ่มต้นได้ทันที
แต่หลายๆ คนเลือกที่จะลงมือสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง ลองถูกลองผิดด้วยตัวเอง เพราะมีเงินทุน มีไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจ แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดได้ ต้องใช้เวลายาวนาน เสียเงินค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์จำนวนมาก
ที่สำคัญไม่รู้ว่าธุรกิจที่ทำนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ทำไปอาจเจ๊งก็ได้ จึงทำให้หลายๆ คนมาเสียใจภายหลัง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอว่า ทำไมคุณต้องเสียดาย ที่ไม่ได้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
1. ได้ตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
ภาพจาก facebook.com/phatarinfoods
เจ้าของแฟรนไชส์ได้ทุ่มเทเวลา และทรัพยากร ในการปลุกปั้นตราสินค้าขึ้นมา เพื่อทำให้สินค้าของเขา มีความแตกต่างจากสินค้าของคนอื่นๆ เมื่อเราตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ เราก็สามารถใช้ตราสินค้าของเจ้าของแฟรนไชส์ได้ทันที ไม่ต้องไปเสียเวลา สร้างตราสินค้าเอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทำได้สำเร็จหรือเปล่า ติดปากคนซื้อหรือไม่ เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้เมื่อไหร่
2. ได้ทักษะและวิธีการสร้างธุรกิจ
ภาพจาก facebook.com/muanchoncafe
เหนือสิ่งอื่นใดในการทำธุรกิจ คือ ทักษะและวิธีการสร้างธุรกิจ การซื้อแฟรนไชส์ทำให้เราได้ธุรกิจที่สำเร็จรูป ทำได้ทันที ทำแล้ว ประสบความสำเร็จแน่นอน เพราะเราไม่ต้องไปเสียเวลาลองผิด ลองถูก และเริ่มต้นใหม่ ตั้งแต่การผลิตสินค้า เลือกทำเล การบริหารจัดการสินค้าในสต็อก หรือแม้แต่การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ของธุรกิจใหม่
3. ง่ายแก่การคุยสินเชื่อกับธนาคาร
ภาพจาก bit.ly/2ZE6BGL
เงินทุนเป็นเรื่องสำคัญในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และมีความสำคัญมากต่อการซื้อแฟรนไชส์ เพราะถ้าเราไม่มีเงินทุน ทุกอย่างก็จบ เนื่องจากคุณไม่มีทั้งไอเดีย และทักษะในการสร้างธุรกิจด้วย แต่วันนี้ถ้าเราซื้อแฟรนไชส์ เราอาจจะสามารถเริ่มต้นได้ด้วยเงินทุนที่น้อยกว่าเดิม ปัจจุบันธนาคารนิยมปล่อยกู้ให้กับ คนที่ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ธนาคารกสิกรไทย เอสเอ็มอีแบงก์ ออมสิน เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเจ๊ง มีตัวอย่างความสำเร็จที่เห็นชัดเจนกว่า
4. ได้รับการช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอร์
ภาพจาก facebook.com/funnyfriesfunnyfries
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะให้การสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ เช่น มีการโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน แฟรนไชส์ซอร์จะดูแลการโฆษณา การส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการของตนเป็นประจำอยู่แล้ว แฟรนไชส์ซี่บางรายอาจจะร่วมรับผิดชอบโดยการจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการโฆษณา (Advertising Fee) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ตามแต่จะตกลงกัน
5. บริหารธุรกิจควบคู่กับงานอย่างอื่นได้
ภาพจาก bit.ly/3d63v2j
ด้วยความที่ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นระบบธุรกิจที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว คุณจึงเพียงแค่ดูแลธุรกิจห่างๆ เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับ คนที่ยังทำงานประจำ หรือประกอบอาชีพอิสระอยู่ เพราะว่าคุณไม่จำเป็นต้องออกจากงานประจำ หรือเลิกอาชีพเดิม เมื่อคุณซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว คุณก็สามารถจ้างพนักงานมาทำงานในระบบ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้ด้วยตัวเอง และคุณก็มีหน้าที่บริหารจัดการเรื่องสำคัญๆ เท่านั้น หากเป็นธุรกิจส่วนตัวแบบทั่วๆ ไป คุณต้องละทิ้งหน้าที่การงานเดิม และเอาชีวิตทั้งชีวิตมาแลก
ทั้งหมดเป็น 5 เหตุผลที่เราต้องเสียดาย!!! หากเราไม่ได้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ไปเปิด ซึ่งหลายๆ คนน่าจะประสบกับปัญหานี้มาแล้ว กว่าจะสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องใช้เงินทุน และเวลาจำนวนมาก กว่าจะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2ZLTDH3