ทำไม “โกโก้ไอ้ต้น” ขายดี ไม่ถึงครึ่งปีมากกว่า 170 สาขา
หากพูดถึงร้านเครื่องดื่ม “โกโก้” ที่กำลังมาแรง มีคนพูดถึงกันมาก และแชร์ต่อกันบนโลกออนไลน์ในขณะนี้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น ” โกโก้ไอ้ต้น ” ด้วยเอกลักษณ์หน้าร้านเป็นตัวถัง ตกแต่งสีเหลือง-ดำ ประดับด้วยไฟส่องแสงโทนสีเหลือง ออกแบบโลโก้ร้านใช้รูปติดบัตรนักเรียนเป็นจุดขาย ที่ดึงดูดความสนใจของลูกค้า
ทำให้คนที่เดินผ่านเกิดความสงสัย ว่าเป็นใคร ขายอะไร จนได้รับความสนใจและบอกต่อมีลูกค้ายืนต่อคิวซื้อ ก่อนมีผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์อย่างล้นหลาม หลายคนอาจสงสัยว่า “โกโก้ ร้านไอ้ต้น” ทำไมถึงขายดี มีสาขามากกว่า 170 สาขาทั่วประเทศ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
โกโก้ร้านไอ้ต้น มาจากชื่อเจ้าของร้านชื่อ “ต้น” โดยก่อนจะมาเปิดร้านโกโก้ที่ได้รับความนิยมและโด่งดัง คุณต้นมีอาชีพร้องเพลงและเล่นดนตรีตามผับบาร์ต่างๆ พอโควิด-19 ระบาด ร้านผับบาร์ปิด ทำให้ได้รับผลกระทบ ขาดรายได้ จึงออกมาเปิดร้านขายกาแฟท้ายรถบิ๊กไบค์ ชื่อ “ชาน-ชา-ลา” หนึ่งในเมนูขายดีของร้าน ก็คือ “โกโก้” ลูกค้าหลายๆ คนซื้อไปแล้วกลับมาซื้อใหม่ กลายเป็นลูกค้าประจำ จึงปรึกษาแฟนนำเงินก้อนจากการขายกาแฟประมาณ 5,000 บาท เปิดร้านขายโกโก้
หลักการและเทคนิคการตั้งชื่อร้านใช้คำไม่เกิน 3-4 คำสั้นๆ ทำให้คนจำได้ง่าย จึงมาลงตัวที่ “โกโก้ร้านไอ้ต้น” เป็นชื่อของคุณต้น ที่สำคัญอยากให้ลูกค้าเกิดความสงสัย อยากคำตอบว่า “ไอ้ต้น” เป็นใคร มาจากไหน ขายอะไร ซึ่งก็ได้ผล คือ คนอยากรู้ว่าเป็นใคร ส่วนโลโก้ร้านใช้รูปติดบัตรนักเรียนสมัย ป.6 โดยคุณต้นได้ไอเดียจากวงดนตรีวงหนึ่งที่เขาชื่นชอบ
สำหรับหน้าร้าน มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ใช้ถังสีเป็นเคาน์เตอร์ ทาสีดำ ใส่ล้อใต้ถังให้เข็นได้ ทำเสาติดไฟส่องสว่าง วางถังน้ำแข็งด้านหลัง กลางคืนเปิดไฟส่องจะออกโทนสีเหลืองๆ สวยงาม ดึงดูดสายตาผู้คนได้เป็นอย่างดี
เมนูจะมีโกโก้เมนูเดียว ลูกค้าสามารถเลือกได้ 3 ระดับ
- ละอ่อน เหมาะสำหรับคนชอบหวาน
- เข้ม รสชาติจะมีความขมมากกว่าระดับแรก เหมาะสำหรับคนสายกลาง
- โคตรเข็ม รสเข้มข้นมาก หวานน้อย เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ชอบผู้ชายเซอร์ๆ ไว้หนวดเครา
โดยเมนูระดับความละอ่อนและเข้มจะขายดีที่สุดในร้าน ราคา 45 บาทต่อแก้วขนาด 16 ออนซ์
โกโก้ร้านไอ้ต้น เปิดขายวันแรกเมื่อช่วงเดือนมกราคม 2565 ปรากฏว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ขายไม่ถึงชั่วโมงของหมดร้าน ขายได้วันละ 300 แก้ว เพียงแค่ 5 ชั่วโมง บางวันได้ถึง 400 แก้ว ทำรายได้หมื่นกว่าบาท เพราะมีลูกค้าต่อแถวจำนวนมาก
โกโก้ร้านไอ้ต้นเปิดได้ไม่กี่เดือนมีคนติดต่อทางเพจขอซื้อแฟรนไชส์เป็นจำนวนมาก แต่คุณต้นไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ จึงทำการศึกษาหาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์จากแหล่งต่างๆ โดยตั้งราคาขายแฟรนไชส์ 35,900 บาท ระยะสัญญา 1 ปี ได้รับอุปกรณ์พร้อมขายรวมๆ 29 รายการ คืนทุนภายใน 10 วัน โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องซื้อผงโกโก้จากทางร้าน ส่วนนม แก้ว ซื้อจากที่อื่นได้ หมดสัญญา 1 ปี ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถต่อสัญญาได้ ใครที่ไม่อยากทำต่อก็ได้
ภาพจาก www.facebook.com/cocoaiton
นับตั้งแต่โกโก้ร้านไอ้ต้นเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2565 ผ่านไปเพียงครึ่งปี “โกโก้ร้านไอ้ต้น” เริ่มขยับขยายจากสาขาแรกตลาดพลูไปสู่สาขาต่างๆ กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็วมากกว่า 170 สาขา ถือเป็นร้านเครื่องดื่มที่ได้รับกระแสดีเกินคาดโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความกวนของ “โลโก้” ที่เอารูปสมัยติดบัตรเรียนมาแปะบนแก้ว รวมถึงเมนูที่ท้าให้ลองไล่ระดับความเข้ม 3 ระดับ ปัจจุบันเห็นว่ามีหลายๆ ร้านเอาไปทำตามแล้ว
ข้อมูลจาก www.facebook.com/cocoaiton
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QOsdII
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)