ทำไม? แฟรนไชส์กาแฟสดทั่วโลกถึงเฟื่องฟู
วัฒนธรรม การดื่มกาแฟ อยู่คู่กับมนุษยชาติมีมายาวนาน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ยุคสมัย “กาแฟ” ยังคงเป็น 1 ใน 3 ของเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกดื่มมากที่สุด รองจาก น้ำเปล่า และชา และเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก
โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ประชากรของพวกเขาจะนิยมดื่มกาแฟกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้จากในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในอังกฤษมีข้อมูลรายงานว่า แต่ก่อนประชากรอังกฤษจะนิยมดื่มเครื่องดื่มชาเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นประเทศแห่งนักดื่มชา แต่มาในปัจจุบันนี้เครื่องดื่มกาแฟดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมแซงชาไปแล้ว
วันนี้ www.ThaiFSMEsCenter.com จะพาคุณไปเจาะลึกตลาดธุรกิจร้านกาแฟ โดยเฉพาะร้านกาแฟแบรนด์ดังๆ ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ทั่วโลก ว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้แฟรนไชส์กาแฟทั่วโลกได้รับความนิยม หวนหวนขนาดนี้
ชาวอังกฤษจ่ายค่ากาแฟในร้านเฉลี่ย 2,200 ปอนด์ / คน
ภาพจาก goo.gl/images/RDMxcf , goo.gl/images/LaASvB
รายงานการวิจัยในปี 2017 พบว่า ชาวอังกฤษจะเสียค่าใช้จ่ายให้กับเครื่องดื่มกาแฟเฉลี่ยสูงถึง 2,210 ปอนด์ / คน ในร้านกาแฟในประเทศของพวกเขา โดยผู้ใหญ่กว่า 80% จะนิยมเข้าไปใช้บริการในร้านกาแฟอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาประชากรว่า 83% ยังคงนิยมดื่มกาแฟเป็นชีวิตประจำวันอยู่เช่นเดิม
โดยแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา คือ สตาร์บัคส์ ส่วนในอังกฤษจะเป็น Costa Coffee โดยในช่วง 10 ที่ผ่านมา คอสต้า มีจำนวนสาขาในอังกฤษเพียงแค่ 170 สาขาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีมากกว่า 2,300 สาขา
ภาพจาก goo.gl/images/LSrR5o
ส่วนสตาร์บัคส์มีสาขาในอังกฤษเพียงแค่ 400 สาขาเท่านั้น โดยการขยายสาขาแฟรนไชส์ของสตาร์บัคส์มากกว่า 50% ยังเป็นบริษัทแม่ดูแลเองทั้งหมด ซึ่งพื้นที่จะดำเนินรูปแบบแฟรนไชส์ คือ สหราชอาณาจักร ยุโรป ตะวันออก แอฟริกา เป็นต้น
คอสต้า Vs สตาร์บัคส์ แย่งตลาดใหญ่ในจีน
ภาพจาก goo.gl/images/Z5DkPF
การทุ่มเงิน 5,100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.65 แสนล้านบาทของโคคา โคลา เพื่อซื้อร้านกาแฟชื่อดังสัญชาติอังกฤษอย่าง Costa Coffee จากเครือ Whitbread เพราะเป็นร้านที่มีสาขาทั่วโลก โดยเฉพาะในสนามบิน ที่เชื่อแน่ว่าแบรนด์นี้จะเป็นที่ผ่านมาคนชั้นกลางของจีน ที่เดินทางออกท่องเที่ยวไปทั่วโลกจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ครั้งนี้ ไม่ใช่การซื้อร้านกาแฟครั้งแรกของโค้ก แต่เป็นการเลือกแบรนด์ที่มีศักดิ์ศรีมากพอ ที่จะต่อกรกับสตาร์บัคส์ในตลาดใหญ่อย่างจีนได้ เพราะต้องใช้แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักและจัดเป็นแบรนด์ในระดับนานาชาติด้วยกัน
ภาพจาก goo.gl/images/a2jykg
ยิ่งในยุคที่ธุรกิจกาแฟกำลังได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน มีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากทั่วโลก ทำให้บริษัทต่างๆ ล้วนอยากเข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจที่กำลังเติบโตนี้เหมือนๆ กัน
ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานอกจากบิ๊กดีลระหว่าง โคคา โคลา กับคอสต้า ยังมีบิ๊กดีลรายอื่นให้เห็น เช่น Nestle ที่ลงทุนในกิจการร้านกาแฟ Blue Bottle รวมทั้งยังมีการขยายร้านกาแฟของตัวเองจากที่เคยเปิดตัวในญี่ปุ่น ก็เริ่มเข้ามาขยายธุรกิจร้านกาแฟในไทยเพิ่มขึ้นในชื่อ Nescafe Hub เป็นต้น
ปัจจุบัน คอสต้า มีสถานที่ตั้งร้านกาแฟอยู่เกือบ 4,000 แห่งในกว่า 32 ประเทศ ซึ่งถือเป็นกลุ่มตลาดแรกที่โคคา โคลา จะใช้เป็นต้นแบบก่อนจะขยายสู่ตลาดอื่นๆ
ส่วนกาแฟสตาร์บัคส์มีแผนชัดเจนในการขยายสาขาในจีนแบบเร่งด่วน เฉพาะช่วงก่อนปี 2560 ที่ผ่านมา ขยายไปแล้วถึง 2,000 สาขาในจีน และคาดว่าภายในปี 2021 จะขยายเพิ่มอีก 2,000 แห่งรวมเป็นไม่น้อยกว่า 5,000 สาขา ซึ่งคอสต้า คอฟฟี่ (Costa Coffee) ก็มีแผนชัดเจนที่เจาะตลาดจีนเช่นกัน
ภาพจาก goo.gl/images/xxz2UT
ปัจจุบัน คอสต้า มีสถานะเป็นแบรนด์ร้านกาแฟอันดับ 1 ในอังกฤษ และถือเป็นเชนร้านกาแฟเบอร์ 2 ของโลก รองจากสตาร์บัคส์ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างก็ไม่ได้คาดหวังว่า คอสต้าจะสามารถโค่นสตาร์บัคส์ได้ ซึ่งโคคา โคลา เองก็คงมองออกเช่นกัน แต่สิ่งที่ คอสต้า จะทำได้ คือ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศทั่วโลกได้ดีขึ้น
แน่นอนว่า อาจจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสตาร์บัคส์ ที่กำลังวางแผนขยายธุรกิจของตัวเอง โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ทั้งสองแบรนด์กำลังมองหาตลาดขนาดใหญ่ในการขยายธุรกิจ หลังจากที่ยอดขายจากฝั่งประเทศตะวันตกเริ่มลดลง โดยจีนจะถือว่าเป็นตลาดกาแฟสดที่สำคัญของโลกต่อไป
ขณะที่มีแนวโน้มเป็นไปได้ด้วยว่า อีกไม่นานคนไทยเองก็อาจจะได้เห็น คอสต้า คอฟฟี่ ที่เคยเข้ามาเปิดร้านในไทย โดยเลือกทำเลอย่างสยามพารากอน ที่เพิ่งปิดตัวไปประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา อาจจะกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่ส่งผลให้แฟรนไชส์ร้านกาแฟสดทั่วโลก หวนหอม
ภาพจาก goo.gl/images/KvGCCG
ด้วยโปรดักส์หรือสินค้ากาแฟเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทุกระดับ การบริโภคก็ขยายวงกว้างขึ้น ด้วยเป็นสินค้าที่มีฐานผู้บริโภคที่กว้างแล้ว จะเห็นการเข้ามาลงทุนประเภทเครื่องดื่มพบว่า กาแฟยังเป็นอันดับแรกที่คนนึกถึงก่อน การลงทุนในเครื่องดื่มประเภทอื่น โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนแบบแฟรนไชส์ ยิ่งทำให้ภาพการเติบโตจากการขยายสาขาที่เป็นเครือข่ายอย่างรวดเร็ว
หากมองถึงปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการเข้ามาลงทุนธุรกิจกาแฟ ตัวโปรดักส์ที่เข้าถึงกลุ่มคนฐานกว้าง ฉะนั้นทำเลก็กว้างตามไปด้วย ประกอบกับการรวมตัวกันของพันธมิตรธุรกิจขยายทำเลใหม่หรือที่เรียกว่า community mall นั้น
ได้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากให้บริการสินค้า บริการ ที่มีกลุ่มลูกค้าที่ใกล้เคียงกันสอดรับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายที่ใกล้เคียงกัน เช่น คาร์แคร์ ร้านหนังสือ ร้านไอศกรีม สถาบันสอนร้องเพลง สอนดนตรี สปา ฯลฯ ทำให้เป็นแหล่งทำเลที่ดึงดูดคนเข้ามาใช้บริการ และเป็นแหล่งที่รองรับการขยายตัวของผู้ที่ลงทุนอยู่เดิมและรายใหม่ที่เล็งหาทำเลทำธุรกิจ
ที่ผ่านมา จะเห็นตัวอย่างของการหาช่องทางสร้างทำเลใหม่ หรือเจาะทำเลใหม่ แทนการกระจุกตัวในห้างสรรพสินค้า ที่ต่างมองกันว่าเป็นทำเลทองนั้นได้เปลี่ยนไป ประกอบกับธุรกิจต่างๆ ได้ขยายการให้บริการนอกเหนือจากธุรกิจหลัก
ภาพจาก goo.gl/images/ap2c8S
เครื่องดื่มเป็นธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเพื่อบริการลูกค้าที่มากขึ้น ที่จะเห็นในช่วงที่ผ่านมา เช่น โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ เอกชน รวมถึงธุรกิจที่มีพื้นที่เองอย่างคาร์แคร์ สถานเสริมความงามในลักษณะคีออสหรือคอนเนอร์ ที่เป็นพื้นที่ให้เช่าหรือเจ้าของธุรกิจนั้นๆ ลงทุนเพื่อหารายได้เสริมหรือการให้บริการแก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจหลัก
ปัจจุบันยอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจกาแฟดุเดือด ด้วยจำนวนคู่แข่งในตลาด ทั้งการลงทุนของนักลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการขยายธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์ ขยายสาขาครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
ภาพจาก goo.gl/images/kbknh8
แต่ภายใต้การแข่งขันดังกล่าว กลับสร้างตลาดธุรกิจกาแฟคั่วบดให้ใหญ่ขึ้น เป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้าทั่วไปมากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟใหญ่ขึ้น และมีการแบ่งแยกเซ็กเม้นท์ของลูกค้าชัดเจนขึ้น ทำให้แต่ละแบรนด์ก็มีฐานลูกค้าของตน ซึ่งวัดความชื่นชอบได้ทั้งจากรสชาติ ทำเล บรรยากาศการตกแต่งร้าน ราคา เป็นต้น
จากพัฒนาการของการทำธุรกิจเกิดช่องทางใหม่ๆ ที่มีมากขึ้น ทำเลก็มากขึ้นตามไปด้วย และจากที่กล่าวมาข้างต้นเครื่องดื่มประเภทกาแฟในอนาคต น่าจะสามารถเข้าไปได้ทุกแหล่งทำเลอย่างแน่นอน
การลงทุนแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่จะทุ่มไปที่การตกแต่งร้าน และเครื่องชงกาแฟเป็นหลัก ซึ่งบรรยากาศร้านช่วยเสริมสร้างอรรถรสในการดื่มได้เป็นอย่างดี ส่วนเครื่องชงกาแฟนั้นปัจจุบันที่วางขาย ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน แต่ละรุ่น แต่ละราคา จะชงกาแฟแตกต่างกัน ส่งผลต่อรสชาติ และคุณภาพของกาแฟแก้วนั้นด้วย
ภาพจาก goo.gl/images/4TypA4
ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดแฟรนไชส์กาแฟสดทั่วโลก ตลอดจนการรับรู้ของผู้บริโภค ว่ากันกลุ่มเศรษฐีที่มีฐานะทั่วโลก มีกำลังซื้อกาแฟรวมกันกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และกลุ่มคนเหล่ามักจะบ้าโซเซียลอีกด้วย ทำให้ต่างฝ่ายต่างหากาแฟที่มีรสชาติที่ดี แม้ธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟยังมีโอกาสอีกมาก แต่ควรพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://goo.gl/8znvpL
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://goo.gl/eeoiV2
อ้างอิงข้อมูล
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Uab834