ทำไม? เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเก็บค่าสิทธิ์ (Royalty Fee)

กว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะยอมให้ใครสักคนมาเป็นแฟรนไชส์ซีได้นั้น ต้องคัดแล้วคัดอีก เพราะกลัวได้คนไม่ดีเข้ามา จะพาลทำระบบเครือข่ายแฟรนไชส์มีปัญหา ชื่อเสียงดีๆ ที่สร้างมาตั้งนาน อาจมลายหายวับไปกับแฟรนไชส์ซีเพียงรายเดียวก็ได้ 

นอกจากจะคัดเลือกแฟรนไชส์ซีอย่างพิถีพิถันแล้ว คนที่จะเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี ยังต้องจ่ายเงินตอบแทนแก่แฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแฟรนไชส์) อีกด้วย โดยเฉพาะค่าสิทธิ์ Royalty Fee รายเดือน ที่นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงค่าใช่จ่ายเกี่ยวเนื่องในเรื่องการต่ออายุสัญญาแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกเหตุผลว่า ทำไม?? ธุรกิจแฟรนไชส์ หรือเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บค่า Royalty Fee จากแฟรนไชส์ซี รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ต่อเนื่องจนกว่าสัญญาแฟรนไชส์จะสิ้นสุด

ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซี ต้องจ่ายต่อเนื่อง!

8

ภาพจาก www.facebook.com/chesterthai/

ค่าใช้จ่ายต่อเนื่องในส่วนนี้มีหลายอย่าง อาทิ ค่าเช่ารายเดือน ค่าสินค้าที่ต้องสั่งซื้อเพิ่มเป็นประจำ ค่าเงินเดือนลูกน้อง ค่านํ้าไฟ โทรศัพท์ ฯลฯ อันที่จริงค่าใช้จ่ายพวกนี้ต้องจ่ายอยู่แล้วไม่ว่าจะอยู่ในระบบแฟรนไชส์หรือไม่

ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นแค่ส่วนประกอบ หัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์ จริงๆ ก็คือ “ค่าสิทธิ” (Royalty) และ “ค่าการตลาด” (Marketing Fee/ Advertising Fee) ค่าใช้จ่าย 2 อย่างนี้ เท่าที่เห็นส่วนใหญ่จะเก็บกันเป็นรายเดือน แต่ก็มีรูปแบบที่แตกต่างไปบ้างเหมือนกัน เดี๋ยวนี้เห็นบ่อยๆ ที่แฟรนไชส์บางเจ้าประกาศไม่เก็บค่าสิทธิ และถือเป็นจุดขายสำคัญ

แต่ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าสิทธิ แล้วจะไปเอารายได้จากส่วนไหน มาใช้ในการบริหารระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ไม่เช่นนั้นจุดขายของแฟรนไชส์ซอร์ จะกลายเป็นจุดตายของแฟรนไชส์ทันที

ค่าสิทธิ (Royalty Fee)

5

ภาพจาก www.facebook.com/chesterthai/

หลายคนอาจเรียกว่าค่า “ความภักดี” เพราะกว่าใครสักคนจะควักกระเป๋าให้อีกคนได้ ต้องมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมั่นกัน ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเก็บค่าสิทธิ์มากน้อยแค่ไหน และมีวิธีคิดหรือรูปแบบการเก็บอย่างไร แล้วแต่แฟรนไชส์ซอร์จะเลือกนำไปใช้

แต่ต้องระวังว่า ค่าสิทธิ คือ ค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งในระบบแฟรนไชส์ ถ้าแฟรนไชส์ซีต้องจ่ายมากต้นทุนก็เพิ่ม แฟรนไชส์ซอร์ต้องคำนึงว่าแฟรนไชส์ซีจะรองรับการลงทุนในระดับนั้นได้หรือไม่ ยิ่งลงทุนสูงแรงจูงใจให้คนลงทุนก็น้อยลง แต่ถ้าตํ่าเกินไปคนแห่เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีมาก แต่เงินที่ได้ไม่พอใช้จ่ายให้ระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี จะเป็นเป็นหาตามมาทีหลัง

แฟรนไชส์ซอร์ที่เตรียมการวางแผนมาดี จะรู้ว่าภายในปีหน้าจะขยายแฟรนไชส์กี่สาขา มีกองกำลังสนับสนุนที่มีอยู่ ต้องเพิ่มเติมปรับปรุงอย่างไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายเท่าไร จากนั้นก็เฉลี่ยไปตามตัวเลขสาขาที่ตั้งไว้

หลายคนให้ความเห็นว่า อัตราค่าสิทธิในธุรกิจค้าปลีกมักจะอยู่ที่ 5-10% ของยอดขายรายเดือน และมักจะเพิ่มเป็น 8-10% ในธุรกิจบริการ เป็นตัวเลขที่ให้เห็นเป็นแนวทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้อัตรานี้

วิธีการเก็บค่าสิทธิ์

4

ภาพจาก www.facebook.com/mytaroto/

ส่วนใหญ่การเก็บค่าสิทธิ์ จะเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ถ้าแฟรนไชส์ซีขายดี ค่าสิทธิ์ก็เยอะ ถ้าขายไม่ดี ค่าสิทธิ์ก็หดตามไปด้วย วิธีนี้แฟรนไชส์ซอร์อาจจะมีปัญหา ตรงที่ต้องมีการตรวจสอบยอดขายของแฟรนไชส์ซี

ระบบควบคุมยอดขายเป็นระบบหนึ่งที่ แฟรนไชส์ซอร์ต้องมีพร้อม เพราะไม่ใช่แค่กระทบยอดค่าสิทธิ์ของแฟรนไชส์ซอร์เท่านั้น แต่ถ้าระบบตรวจสอบควบคุมยอดขายไม่ดีจริง ก็เป็นช่องทางให้พนักงานในร้านของแฟรนไชส์ซี ทุจริตเงินยอดขายไปได้

3

ภาพจาก www.facebook.com/mytaroto/

บางแฟรนไชส์หนีจากเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ไปเก็บแบบเหมาจ่าย ซึ่งในแต่ละงวดต้องจ่ายค่าสิทธิ์เท่านั้นเท่านี้ เช่น เดือนละ 5,000 บาท หรือปีละ 40,000 บาท ก็ว่ากันไป แบบนี้ก็ไม่ต้องลงทุนระบบตรวจสอบยอดขายมาก

ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)

2

ภาพจาก www.facebook.com/Nbpancake/

ค่าการตลาดเป็นค่าสิทธิ์อีกอย่าง ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายต่อเนื่องให้กับแฟรนไชส์ซอร์เหมือนค่าสิทธิ์ (Royalty Fee ) หรือค่าภักดี ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภครู้จักตราสินค้า เพราะเป็นหัวใจของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ทำให้แฟรนไชส์ซีสนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์แฟรนไชส์สักยี่ห้อหนึ่ง

เช่น 7-11 สาขาแฟรนไชส์ซีต่างๆ จะต้องจ่ายค่าการตลาดให้กับบริษัท ซีพีออลล์ ในแต่ละเดือนด้วย เพราะเป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักว่า สาขาแฟรนไชส์แต่ละแห่งมีอะไรใหม่ๆ หรือลดราคา จัดโปรโมชั่นอะไรบ้าง กล่าว โฆษณาออกไปจากส่วนกลางทางสื่อต่างๆ คนจะรับรู้กันทั้งประเทศ แฟรนไชส์ซีเพียงแค่ขายอย่างเดียว

เงื่อนไขการให้จ่ายค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเหตุให้ทะเลาะกันได้ง่าย โดยเฉพาะตอนยอดขายตก เจ้าของแฟรนไชส์จึงควรเขียนให้ชัดในสัญญา และอธิบายถึงที่มาที่ไปให้ชัดว่า จะได้ไม่มาเข้าใจผิดกันทีหลัง ที่สำคัญต้องทำให้แฟรนไชส์ซีเห็นถึงประโยชน์ จากระบบสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ให้ได้ จะทำให้แฟรนไชส์ซีอยากควักเงินจ่าย

ตัวอย่างแฟรนไชส์ที่เก็บค่าสิทธิ์ (Royalty Fee) และ ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)

1

ภาพจาก https://bit.ly/2Qr5q5F

จะเห็นได้ว่าระบบแฟรนไชส์ การเก็บค่าสิทธิ์และค่าการตลาดจากแฟรนไชส์ซีนั้น มีความสำคัญต่อเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเป็นค่าใช้จ่าย ในการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีทั้งระบบตลอดอายุ

สัญญาแฟรนไชส์ ถ้าไม่เก็บค่าสิทธิ์และค่าการตลาดต่อเนื่องทุกเดือน ก็เหมือนกับว่ารถยนต์ไม่มีน้ำมันในการขับเคลื่อนไปถึงเป้าหมายข้างหน้า


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ds384v

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช