ทำไม คนไทยสนใจ Mixue มากกว่า DQ

หนึ่งในแฟรนไชส์ที่คนไทยสนใจมากที่สุดในช่วงปี 2566 ก็คือ Mixue แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน มีเอกลักษณ์สีแดงโดนเด่น มาสคอตเป็น “ราชาหิมะ” เมนูหลากหลายราคา 15-50 บาท เพิ่งเปิดร้านครบ 200 สาขาไปเมื่อไม่นาน

ปัจจัยที่ทำให้ Mixue ได้รับสนใจจากผู้บริโภคและนักลงทุนชาวไทยมากกว่าแบรนด์อื่นๆ รวมถึง “แดรี่ควีน” ทั้งที่อยู่ในเมืองไทยมายาวนานกว่า 18 ปี อยู่ที่ราคาสินค้าเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง เมนูยังมีให้เลือกมากกว่าร้านชานมไข่มุกด้วยซ้ำ

ทำไม คนไทยสนใจ Mixue

ไม่เพียงเท่านี้ ยังสามารถแข่งกับตลาดเครื่องดื่มอื่นๆ ได้อย่างสูสี เชื่อว่าถ้ามีร้าน Mixue อยู่ข้างหน้าคู่กับคาเฟ่ อเมซอน ลูกค้าหลายๆ คนก็คงเลือกที่จะเข้าร้าน Mixue ราคาต่างกันลิบเลย มีทั้งไอศกรีม ชาผลไม้ ชานมไข่มุก แถมมีกาแฟอีกต่างห่าง พอเป็นแบบนี้จึงทำให้คนไทยสนใจ Mixue จำนวนมาก ถึงขั้นต้องหยุดขายแฟรนไชส์ไปชั่วคราวเมื่อช่วงต้นปี 2567

ทำไม คนไทยสนใจ Mixue

ความน่าสนใจอีกอย่างของ Mixue ก็คือ เราแทบไม่เห็นแบรนด์จากจีนโฆษณาตามสื่อเลย มีแต่ลูกค้าไปซื้อแล้วโพสต์โชว์ตามโซเชียลจนกลายเป็นกระแสที่รวดเร็วมาก ถ้าเป็นคนซื้อแฟรนไชส์แทบไม่ต้องทำอะไรเลย แค่เปิดร้านวันแรกก็มีลูกค้าอยากไปลองแล้ว

แถมยังมีระบบการจัดการที่แข็งแกร่ง สินค้าขายง่าย มีให้ลูกค้าเลือกมากมาย ส่วนผู้บริโภคได้ซื้อไอศกรีมและเครื่องดื่มราคาถูก แต่อาจจะแพงกว่าแดรี่ควีนที่ขายโคนละ 12 บาท แต่โดยรวมราคาถือว่าถูก รสชาติดีด้วย

ทำไม คนไทยสนใจ Mixue

ในแง่การลงทุนแฟรนไชส์ Mixue ก็ยังถูกกว่าแดรี่ควีนหลายเท่าตัว เงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดร้าน Mixue ดังนี้

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
  • ค่าจัดการ 25,000 บาท/ปี
  • ค่าอบรม 10,000 บาท/ปี
  • ค่าค้ำประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ 2,500 บาท/ครั้ง, ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง

รวมงบลงทุนเริ่มต้น 887,500 – 890,000 บาท (ยังไม่รวมค่าเช่า+ก่อสร้าง+ตกแต่งร้าน)

ทำไม คนไทยสนใจ Mixue

ส่วนเงินลงทุนแฟรนไชส์แดรี่ควีน ต้องเตรียมไว้ราวๆ 15 ล้านบาท เพราะทางแบรนด์บังคับให้เปิดอย่างน้อย 3 สาขาในจังหวัดเดียว แบ่งออกเป็น

  • ค่าแฟรนไชส์ 1.5 ล้านบาท
  • Royalty Fee 5%
  • Marketing Fee 6%
  • งบก่อสร้าง+ออกแบบ+ตกแต่งร้าน 3-3.5 ล้านบาท
  • ระยะสัญญา 10 ปี

ทำไม คนไทยสนใจ Mixue

เงื่อนไขการลงทุน

  • 1 สาขา ใช้เงินประมาณ 3 – 3.5 ล้านบาท ต้องเปิดร้านอย่างน้อย 3 สาขา
  • ฝึกอบรมประมาณ 30 วัน

ผู้สมัครแฟรนไชส์ มีพื้นที่นำเสนอ 3 จุด และพร้อมวางเงิน 1,500,000 บาท เปิดสาขาแรก ภายใน 60 วันหลังจากทำสัญญา และ อีก 2 สาขาภายใน 12 เดือน นับจากเปิดสาขาแรก

นอกจากต้องใช้เงินลงทุนที่สูงแล้ว แดรี่ควีนยังพิจารณาคัดเลือกแฟรนไชส์ซี จะดูเรื่องเงินลงทุนเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน รวมถึงทำเลเปิดร้านที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่งเข้าไปด้วย พิจารณาว่าทำเลนั้นส่งเสริมแบรนด์อิมเมจของแดรี่ควีนหรือไม่ และตอบโจทย์ที่ทาง Land Lord ต้องการหรือเปล่า เป็นการส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกัน ทำให้ภาพลักษณ์แดรี่ควีนดีด้วย

คนไทยสนใจ Mixue

ทั้งหมดเป็นเหตุผลทำให้ Mixue แฟรนไชส์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้จากจีน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าตลาดไอศกรีมและชาผลไม้ราคาถูกในประเทศไทยจะร้อนแรงไปได้อีกยาวไกลแค่ไหน เพราะเชื่อว่ายังมีอีกหลายแบรนด์จ่อเข้าไทยตาม Mixue, Ai-cha และ Wedrink 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช