ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอดยากจริงหรือ?
ใครอยากทำแฟรนไชส์ ในยุคโควิด-19 ให้รอด และตอบโจทย์คนตกงาน คนว่างงาน รวมถึงคนอยากมีรายได้เพิ่ม ต้องทำงานหนักมากขึ้น และปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์
เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น แม้ว่าธุรกิจจะดีหรือเจ้าของแฟรนไชส์จะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจไปไม่รอด มาดูกันว่าการ ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด ยากหรือไม่ ต้องทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
1. สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภค
ก่อนเป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ อันดับแรกจะต้องอ่านตลาดให้ออก และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งผู้บริโภคนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่หมายความถึงกลุ่มผู้ซื้อ ที่จะเป็นลูกค้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์
ขณะเดียวกัน สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นแตกต่างกับผู้อื่น เพราะการที่มีสินค้าและบริการแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน ย่อมทำให้กลายเป็นจุดเด่น และมีโอกาสเพิ่มขึ้น ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นที่แตกต่างนั้น ต้องเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารก็ต้องรสชาติอร่อย บริการแตกต่าง
2. ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี น่าลงทุน ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ระบบการบริการจัดการด้านกระบวนการผลิตสินค้า รูปแบบการบริการ การสต็อก ระบบไอทีในการจัดการการฝึกอบรม ตลอดจนมีคู่มือในการปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องนำเสนอระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา เพื่อสร้างการเติบโตให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปพร้อมๆ บริษัทแม่แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนระบบการบริการจัดภายในร้าน การทำตลาด การประชาสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์ การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคตลอดเวลา ฯลฯ
3. ธุรกิจมีรายได้และเติบโต
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคนอยากซื้อไปลงทุน คือ ธุรกิจที่กำลังเติบโต เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการแฟรนไชส์จะต้องสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ธุรกิจมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดีแก่ธุรกิจแฟรนไชส์
แต่ทั้งนี้ การสร้างธุรกิจให้มีการเติบโตในระบบแฟรนไชส์ ไม่ได้หมายถึงการเติบโตของจำนวนสาขา หากแต่เป็นการเติบโตของปริมาณความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด กล่าวคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม หากมีปริมาณลูกค้าและความต้องการ หรือชื่อเสียง ความนิยมชมชอบของผู้บริโภคที่มากกว่า ย่อมเป็นที่สนใจของนักลงทุน
4. ธุรกิจหรือกิจการมีชื่อเสียง
ชื่อเสียงที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือได้ว่าเป็นลักษณะที่ดีและสำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สนใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุน โดยชื่อเสียงของธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ ดูได้จากความนิยมชมชอบของผู้บริโภคต่อธุรกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า ระบบและรูปแบบการให้บริการ รวมถึงความสามารถของบุคลากร ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปพิจารณาในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุนก่อนแบรนด์อื่นๆ
5. ระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือ Know-How ที่ไม่ยุ่งยาก เป็นระบบแบบแผน ผ่านการลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด ระบบบัญชี การฝึกอบรม การสต็อกสินค้า เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ สาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
6. เงินลงทุนไม่สูง และทำเลดี
เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุนของคนที่อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องนำเสนอรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงงบประมาณเงินลงทุนที่จะใช้ในการเปิดร้าน ถ้าเงินลงทุนหลักพันถึงหมื่นบาท รวมถึงทำเลนอกห้าง ย่านชุมชน ขายผ่านเดลิเวอรี่ได้ ก็อาจจะมีนักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น
นั่นคือ แนวทางการ ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด และขายดี ในยุคโควิด-19 หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ไม่มากก็น้อยครับ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2TEZMnJ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)