ทำอย่างไร ให้แฟรนไชส์ขายง่ายในยุคโควิด-19

การทำธุรกิจในยุคโควิด-19 มีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานต่างๆ ของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาด ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดให้บริการชั่วคราว หรือเปลี่ยนให้ซื้อกลับไปทานที่บ้าน

และหากใครที่จะขยับขายธุรกิจในช่วงนี้ก็อาจทำได้ยากลำบากหน่อย แต่หากเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะง่ายกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะคนว่างงานอยากมีรายได้จากการเปิดร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่

ซึ่งแฟรนไชส์ที่น่าจะได้รับความนิยมจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องมีขนาดเล็ก นอกห้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำในการทำแฟรนไชส์ให้เป็นแบรนด์ที่ถูกเลือกในช่วงโควิด-19

1.รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/pizzanpizzath/

รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ การตกแต่งสวยงาม ใช้พื้นที่ในการเปิดร้านน้อย หากใครจะขายแฟรนไชส์ขนาดเล็ก อย่างแรกต้องสร้างและออกแบบร้านให้มีความโดดเด่น สีสะดุดตา มีความเป็นเอกลักษณ์ ผู้บริโภคมองเห็นรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นร้านขายอะไร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม อาหาร เบเกอรี่ ที่สำคัญโลโก้ต้องชัดเจน ดึงดูด จำง่าย เช่น พิซซ่า แอนด์ พิซซ่า , ชิคชอน ไก่กรอบเกาหลี , เลอมง ราเมง , มารุชา , มินิบาร์ แฟรนไชส์ น้ำม็อกเทลอินเตอร์ , ร้านใส่นม , คามุ คามุ ที , ปังอั้ยยะ ปังปิ้งไส้เยิ้ม

2. สินค้าและบริการตอบโจทย์วงกว้าง

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/franchiserosdednoodle/

แฟรนไชส์ขนาดเล็กส่วนมากจะเน้นการขายสินค้า ส่วนมาเป็นของกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ชาเย็น กาแฟ สเต็ก เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะขายได้ง่าย เพราะผู้บริโภครู้จักกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะไปแห่งหนตำบลใด ก็ขายสินค้าเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อคุณมาซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปเปิดในจังหวัดของเขา สินค้าและบริการของคุณก็จะต้องขายได้ง่าย ทุกคนกินได้ สัมผัสได้ เช่น รสเด็ด ก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน , นาเนีย สเต็ก , ฮิปสเตอร์ สเต็ก , โชกุน สเต็ก , เกาเหลาเนื้อ ธัญรสธงไชย ผัดไทย , ภัทรินทร์ฟู้ดส์ ศูนย์รวมแฟรนไชส์ไอศกรีม

3. สินค้าและบริการขายราคาไม่แพง

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/lookchingiantfc/

เมื่อสินค้าและบริการของแบรนด์แฟรนไชส์คุณเป็นรู้จักในวงกว้างแล้ว หากจะให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กของคุณขายง่าย มีคนอยากซื้อไปเปิด สินค้าและบริการจะต้องราคาไม่แพงด้วย เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปจะขายได้ง่าย เช่น ถ้าซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดไปเปิด ขายลูกค้าละ 5 บาท ก็จะทำให้ผู้บริโภคไม่อยากซื้อ อาจจะขายลูกละบาท ทำให้ผู้บริโภคสัมผัสได้ เป็นต้น เช่น ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิดซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด , อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช , ต.เนื้อย่าง , ชอบชา , บั๊บ , โนมิชา

4. ปรับรูปแบบร้านให้มีขนาดเล็ก

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/lookchingiantfc/

แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะได้รับความนิยม เพราะลงทุนง่าย มีกระบวนการผลิตสินค้าไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะอย่างที่บอกไป ร้านแฟรนไชส์จะใช้พื้นที่น้อย ใช้คนน้อย อาจจะ 1 หรือ 2 คน ความเสี่ยงจะต่ำ และหากมีระบวบการผลิตสินค้าซับซ้อน ก็จะไม่ค่อยมีคนซื้อไปเปิด ดังนั้น แฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนต่ำ จะขายดี เช่น บอมเบอร์ด๊อก , กุ้งอบวุ้นเส้นเศรษฐี (เห็ดหอม) , เอชเจ เฟรชมิลค์ ปังหยา-นมสด , คาเฟ่ ชากัญ , กาแฟเขาทะลุ ชุมพร , ฟันนี่ ฟรายส์ , ชีสซี่ฟราย สแน็ค

5. ทำเลที่ตั้งตามแหล่งคนพลุกพล่าน

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/Givemecocoa/

แฟรนไชส์จะต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สถานที่ตั้งร้านจะต้องอยู่ตามตลาดทั่วไป แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งคนพลุกพล่าน เพราะจะทำให้ขายสินค้าได้ง่าย คนเดินผ่านสามารถหยิบจับซื้อได้ทันที ไม่ใช่ทำเลอยู่ตามห้างที่ค่าเช่าแพงๆ เช่น กีฟว มี โกโก้ , ควิก เซอร์วิส , เบสท์ เอ็กซ์เพรส , ฟาส เดลิเวอรี่ , ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส , ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด , เจ วอช ซิสเท็ม , อินเตอร์ เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์ , ร้านน้องฟ้า เซอร์วิส

6. ใช้เงินลงทุนน้อย คืนทุนได้เร็ว

20

ภาพจาก facebook.com/sushi8899/

แฟรนไชส์ที่จะขายได้ดีในยุคโควิด-19 ใช้เงินลงทุนไม่มาก เหมาะสำหรับคนที่อยากมีรายได้ คนที่อยากอาชีพ คนตกงาน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่สามารถหาเงินหลักแสนมาลงทุนได้ ดังนั้น แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะต้องใช้เงินลงทุนหลักพันไปจนถึงหลักหมื่นกว่าๆ จะทำให้ขายแฟรนไชส์ได้ง่าย คนอยากมีอาชีพจึงอยากซื้อไปเปิด เพราะคืนทุนได้เร็วภายใน 1-3 เดือน เป็นต้น เช่น ซูชิหมีพ่นไฟ

ทั้งหมดเป็น 6 เคล็ดลับในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ขายดีในยุคโควิด-19 ต้องเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด ใครที่เป็นเจ้ากิจการอยากขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว ไม่อยากสร้างระบบแฟรนไชส์ให้ยุ่งยากซับซ้อน ลองพิจารณาแฟรนไชส์สร้างอาชีพดู เพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก คืนทุนเร็ว

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RCeefy

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช