ทำยังไงให้คนมาขอซื้อแฟรนไชส์ โดยไม่ต้องโฆษณา
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์มักบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าขายแฟรนไชส์ไม่ได้เลยช่วงนี้ แม้จะทุ่มงบลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อและช่องทางต่างๆ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังเงียบกริบอยู่ดี เจ้าของแฟรนไชส์ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวนี้ รวมถึงเจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ให้ขายดี มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ โดยไม่ต้องโฆษณา มาดูเคล็ดลับพร้อมๆ กัน
1.สินค้าและบริการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค
คำว่าตอบโจทย์ความต้องของผู้บริโภคสื่อความหมายได้หลายอย่าง เช่น ถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหารรสชาติต้องอร่อย ถูกปากลูกค้า กินแล้วอยากกินอีก ราคาไม่แพงจนเกินไป แต่ถ้าแพงต้องคุ้มค่ากับเงินที่ลูกค้าจ่ายไป องค์ประกอบของธุรกิจแฟรนไชส์แบบนี้จะช่วยดึงดูดให้คนที่มากินร้านของเราอยากจะขอซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด เพราะเขาเชื่อว่าทำเงินให้เขาได้แน่นอน
2.สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ
ชื่อเสียงของธุรกิจแฟรนไชส์จะสร้างความน่าเชื่อให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด โดยแนวทางการสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้มีชื่อเสียงทำได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ร้านอาหาร เมนูอาหารอาจจะไม่หลากหลายก็ได้ แต่ต้องทำให้รสชาติอร่อย หากินที่ไหนไม่ได้เลย ต้องมากินที่ร้านนี้ร้านเดียวเท่านั้น เมื่อลูกค้ามากินเยอะๆ กินแล้วกินอีก ก็จะมีการบอกปากต่อปากกันเอง โดยที่เราไม่ต้องโฆษณาอะไรเลย สุดท้ายแบรนด์ก็มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ
3.สร้างระบบแฟรนไชส์ไม่ซับซ้อน ถ่ายทอดได้ง่าย
อีกหนึ่งองค์ประกอบของธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะดึงดูดให้คนมาขอซื้อแฟรนไชส์แฟรนไชส์ โดยไม่ต้องโฆษณา ก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีระบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน จนไม่สามารถถ่ายทอดหรือสอนวิธีการทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของการจัดเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการเปิดร้าน-ปิดร้าน การบริหารจัดการร้าน การสั่งซื้อวัตถุดิบและการจัดส่ง ตลอดจนรูปแบบการให้บริการลูกค้าภายในร้าน การรับ-สั่งออเดอร์ การจ่ายเงินของลูกค้าต้องง่าย สะดวก รวดเร็ว เป็นต้น
4.งบการลงทุนแฟรนไชส์สมเหตุสมผลกับแบรนด์
แบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์มีชื่อเสียงแม้จะตั้งราคาขายอย่างไร เชื่อว่าก็ต้องมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แม้งบลงทุนจะสูง แต่ก็มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด จนสามารถขยายสาขาไปแล้วกว่า 14,000 สาขาทั่วประเทศ หรือแฟรนไชส์กาแฟ คาเฟ่ อเมซอน งบลงทุนหลัก 2 ล้านบาท แต่มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์เดือนละ 500 ราย เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคชอบใช้บริการมากกว่าแบรนด์อื่นๆ
5.มีทีมงานสนับสนุนและให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนอยากซื้อไปเปิดมากที่สุด ต้องมีทีมงานคอยช่วยเหลือ คอยสนับสนุน และสามารถโทรไปปรึกษาได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะก่อนเปิดร้าน หรือหลังเปิดร้านไปแล้ว ถ้าเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารก็ต้องมีทีมงานจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบที่รวดเร็ว ตรงเวลา วัตถุดิบจะต้องไม่ขาดในร้าน เพราะถ้าขาดเมื่อไหร่ รายได้ของแฟรนไชส์ซีก็หายไปทันที
สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนอยากซื้อไปเปิดมากที่สุด หลักๆ แล้วต้องเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีการบอกปากต่อปาก สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค ระบบบริหารจัดการของธุรกิจแฟรนไชส์ไม่สลับซับซ้อน ถ่ายทอดและสอนวิธการทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ง่าย ธุรกิจที่มีองค์ประกอบเหล่านี้ เชื่อว่าจะสามารถขายแฟรนไชส์ได้โดยที่ไม่ต้องการโฆษณาประชาสัมพันธ์เลยก็ได้
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)