ทำน้ำพริกขายออนไลน์ สร้างรายได้ดีแค่ไหน

การขายสินค้าออนไลน์คือช่องทางเพิ่มรายได้ที่ดีที่สุด แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่จะมีรายได้ดี บางคนทำแล้วดี บางคนบอกทำแล้วไม่ดี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสินค้า กลยุทธ์การตลาดเป็นสำคัญ หนึ่งในสินค้าที่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนอยากทำขายออนไลน์คือ “น้ำพริก” เพราะถือเป็นเมนูบ้านๆ ที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี แต่คำถามคือถ้าจะเริ่มต้นอาชีพนี้เราควรทำอย่างไร และการขายน้ำพริกออนไลน์จะสร้างรายได้ดีแค่ไหน

อยากเริ่มขายน้ำพริกออนไลน์ ต้องทำอย่างไร

ทำน้ำพริกขายออนไลน์

1.สำรวจความพร้อมตัวเอง

บางคนเห็นคนอื่นทำขายแล้วมีรายได้ดีก็คิดอยากทำตาม แต่พอทำจริงและเจอปัญหาก็ไม่คิดจะสู้ต่อ หมดกำลังใจที่จะทำ ซึ่งในความจริงเราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ใจเราพร้อมและรักที่อยากจะทำด้านนี้จริงๆหรือไม่ หากคำตอบคือไม่ใช่ขอแนะนำให้ไปหาตัวเลือกที่เหมาะสมกับเราจะดีกว่า

10

2.มีสูตรน้ำพริกที่อร่อยได้มาตรฐาน

ปัจจุบันมีน้ำพริกหลายอย่างเช่น น้ำพริกนรก , น้ำพริกแมงดา , น้ำพริกปลาย่าง , น้ำพริกกากหมู , น้ำพริกเห็ดนางฟ้า , น้ำพริกเผากุ้งสด เป็นต้น การจะเริ่มทำน้ำพริกขายเราต้องหาสูตรน้ำพริกที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเราเอง ถ้าทำแล้วอร่อย ลองให้เพื่อน ญาติ หรือคนในละแวกบ้านชิมแล้วติดใจ ก็สามารถทำขายได้

1

3.รู้จักการสร้างกลยุทธ์ตลาดออนไลน์

ในสังคมออนไลน์ตอนนี้มีคนที่ขายน้ำพริกอยู่เยอะมาก แน่นอนว่าบางคนขายดี บางคนขายไม่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลยุทธ์การตลาด การเข้าถึงผู้บริโภค ในช่วงแรกเราต้องโปรโมทเพจ ให้คนรู้จักแบรนด์ของเรา อาจไม่สร้างรายได้ในทันทีซึ่งเราควรมีกลยุทธ์การขายที่ดีร่วมด้วย

8

4.มีมาตรฐาน อย.

หลายคนที่ขายน้ำพริกแต่ไม่ได้ขอมาตรฐาน อย. ซึ่งหากตรวจสอบข้อมูลจะพบว่า “น้ำพริก” อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้ต้องมีฉลากแสดง อย. โดยหากเป็นน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมทานสามารถขอเครื่องหมาย อย. โดยไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารมาตรวจวิเคราะห์ ซึ่งหากแบรนด์ของเรามีมาตรฐาน อย.จะทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น

5

5.สร้างช่องทางการขายที่หลากหลาย

ไม่ใช่แค่ช่องทางออนไลน์เท่านั้น ถ้าเราทำน้ำพริกขาย เราควรมีช่องทางการขายที่หลากหลายเช่น ฝากขายตามร้านค้า , ส่งเดลิเวอรี่ , ตั้งโต๊ะขายตลาดนัด โดยวิธีการเหล่านี้จะทำให้มีคนรู้จักสินค้าของเรามากขึ้น เพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นด้วย

ทำน้ำพริกขาย ลงทุนเท่าไหร่? กำไรดีแค่ไหน?

7

น้ำพริกแต่ละสูตร ใช้วัตถุดิบและการลงทุนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่ายของน้ำพริกชนิดนั้น ต้นทุนเริ่มต้นขึ้นอยู่กับว่าเรามีอุปกรณ์มากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ต้องลงทุนเครื่องบด หรือกระทะสำหรับผัด หรือเอาอุปกรณ์ในครัวที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ โดยรวมค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เริ่มต้นประมาณ 1,000-2,000 บาท

สำหรับการลงทุนกับวัตถุดิบสด โดยน้ำพริกเกือบจะทุกรสชาติ 1 กิโลกรัม จะใช้เงินลงทุนประมาณ 200-300 บาท บวกลบ ตามวัตถุดิบในการทำและราคาวัตถุดิบตอนนั้น และสถานที่ซื้อ ยกตัวอย่าง น้ำพริกแมงดา ที่การลงทุนไม่สูงมากนัก

ทั้งคนนิยมกิน เก็บรักษาได้นาน และมีขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากมาก เป็นน้ำพริกชนิดแรกๆ ที่อยากแนะนำให้ทำขาย และการทำน้ำพริกแต่ละครั้งในทุกสูตร ควรผัดอย่างน้อย 6 กิโลกรัม เพื่อให้คุ้มกับค่าแก๊สและเวลาที่เสียไป โดยปกติน้ำพริกจะมีกำไรเฉลี่ยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

การตั้งราคาขายน้ำพริกก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเราต้องนำต้นทุนวัตถุดิบ + ต้นทุนแพคเกจจิ้ง + ต้นทุนในการทำเช่นค่าแก๊ส ค่าไฟ เมื่อได้ตัวเลขต้นทุนรวมให้นำมาเฉลี่ยกับปริมาณน้ำพริกที่เราทำได้จะได้ราคาเฉลี่ยต่อกระปุก ซึ่งเราไม่ควรตั้งราคาขายให้ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย

ข้อควรระวังในการทำน้ำพริกขายออนไลน์

2

1.อายุของน้ำพริก

โดยถ้าต้องการยืดอายุน้ำพริกให้เก็บได้นานขึ้นควรนำมาผ่านการนึ่งหรือฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะสามารถเก็บได้นานกว่า 6 เดือน ส่วนน้ำพริกที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในการผลิต โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของน้ำพริกประเภทแห้ง เช่น น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง จะเก็บได้นานกว่าน้ำพริกประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก โดยปกติแล้วน้ำพริกประเภทแห้งจะเก็บได้ประมาณ 5-10 วัน ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

2.น้ำพริกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการเก็บไม่เหมือนกัน

ถ้าเราเลือกขายน้ำพริก เช่น น้ำพริกแห้ง น้ำพริกผัด เราอาจจะไม่ต้องมานั่งทำวันต่อวัน เพราะค่อนข้างเก็บได้นานพอสมควร และง่ายต่อการจัดส่ง แต่ถ้าเป็นน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนผสม และทำวันต่อวัน ควรจะต้องบอกวิธีเก็บรักษาเพื่อยืดอายุของน้ำพริก หรือต้องบอกให้ชัดเจนว่าต้องกินให้หมดภายในกี่วัน

3.ควรมีบรรจุภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ

แพคเกจจิ้งก็เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการขายออนไลน์ เราควรมีบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าก่อนจำหน่าย เป็นบรรจุภัณฑ์ที่แน่ใจว่าปิดได้สนิทและสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ แม้ว่าบางครั้งเราอาจต้องลงทุนเพิ่มในเรื่องบรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งควรทำเพื่อให้ลูกค้าประทับใจในสินค้า

3

แนวคิดการลงทุนทำน้ำพริกขายออนไลน์ถือว่าน่าสนใจ แต่ในช่วงแรกของการเริ่มต้นควรหาจุดเด่น จุดขายของตัวเองและมีสูตรน้ำพริกที่อร่อย อาจเริ่มจากน้ำพริกเพียงไม่กี่ชนิด ให้ขายดีมีลูกค้ามากขึ้นค่อยพัฒนาสูตรน้ำพริกใหม่ๆ ขึ้นมา เชื่อว่าจะสร้างรายได้ที่ดีให้กับเราได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3jtcOPn , https://bit.ly/3t4ZtQI , https://bit.ly/3t4sPhT , https://bit.ly/3zy8hRi , https://bit.ly/3BqQwEb , https://bit.ly/3zAfu3s , https://bit.ly/3zyxIlD

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wsXnga


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด