ทำงานแบบ Tetris vs Roblock จะอยู่รวมกันได้ไหม?
Generation คือ การแบ่งกลุ่มตามหลักประชากรศาสตร์ (Demography) โดยมีการแบ่ง Gen ตามช่วงปีเกิดหลักๆ ก็มีอยู่ 5 Gen คือ Gen B , Gen X , Gen Y , Gen Z และ Gen Alpha
ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มคนมิลเลนเนียล (Gen Y) เป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีประชากรถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก คิดเป็น 23% ของประชากรทั้งหมด หากวิเคราะห์กันตามปีเกิดจะพบว่า
Gen Y หรือ Millennials คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2540 (1980-1997) เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์-อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีไอที
Generation Z หรือ Gen Z ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997 – 2012 เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อมรอบตัว มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เรียนรู้ได้รวดเร็ว และอยู่กับสื่อดิจิทัลโดยกำเนิด
มองผิวเผิน ระหว่างกลุ่ม Millennials กับ Gen Z ก็แทบจะไม่แตกต่างแต่ในความเป็นจริงมีอะไรที่แตกต่างกันพอสมควร อันเป็นผลมาจากยุคสมัยในแต่ละช่วงวัยซึ่งมีผลต่อพฤติกรรม รวมไปถึงแนวคิดในการทำงานที่ต่างกันด้วย
มีข้อมูลน่าสนใจระบุว่าภายในปี 2025 จะมีคน Gen Z เข้ามาทำงานถึง 27% ของตลาดแรงงานและภายในปี 2030 จะมีคน Gen Z และ Milennial ประมาณ 58% ของตลาดแรงงาน นั่นแสดงว่าหากคน Milennial และ Gen Z ทำงานด้วยกันไม่ได้ ก็อาจส่งผลต่อตลาดแรงงานในอนาคตด้วย
แล้วทำไมถึงจะทำงานด้วยกันไม่ได้?
หากให้วิเคราะห์กันแบบเข้าใจได้ง่ายๆ เรายกตัวอย่างเอาเกมฮิตในแต่ละยุคสมัยมาเป็นเกณฑ์จะพบว่า
กลุ่ม Millennials เติบโตมาพร้อมกับเกม Tetris ซึ่งเกมนี้พัฒนาตั้งแต่ปี 1985 และการทำงานของ Millennials ก็เป็นรูปแบบของ Tetris เช่นกัน ได้แก่
- มีความคิดในการทำงานแบบ “บนลงล่าง” หรือ Top – Down ที่พนักงานต้องทำตามคำสั่งจากผู้บริหารหรือหัวหน้าเท่านั้น
- มีแนวคิดในการทำงานที่คอยควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ เหมือนการเรียงบล็อกรูปทรงต่างๆ
ฉะนั้นแนวคิดการทำงานแบบ Tetris นี้มักไม่ค่อยคิดนอกกรอบ แต่เน้นให้ทำงานภายใต้คำสั่ง เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่คิดมาดีที่สุดแล้ว พนักงานจึงมีหน้าที่เพียงแค่ปฏิบัติตามเท่านั้น
แน่นอนว่าจะย้อนแย้งกับความคิดของ Gen Z ที่หากเปรียบก็คือเกม Roblock ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2003 และกลายเป็นที่นิยมมากในหมู่ Gen Z ช่วงปี 2024 โดยหากใครที่เคยเล่นเกมแนวนี้จะรู้ดีว่านี่คือเกมที่ให้อิสระกับผู้เล่นในการสร้างสรรค์โลกในจินตนาการของตัวเองได้อย่างเต็มที่ไม่ได้ยึดติดกับกรอบปฏิบัติเดิมๆ ผู้เล่นมีความยืดหยุ่นและมีความเป็นตัวเองสูง สอดคล้องกับแนวคิดของ Gen Z ได้อย่างดี
ดังนั้น คน Gen Z ที่อยู่ช่วงวัยทำงานจึงเป็นเด็กจบใหม่ไฟแรงมีแนวคิดการทำงานที่น่าสนใจคือ
- มีความกระตือรือร้นในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ กล้าแสดงออกชัดเจน
- กล้าตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่เห็นด้วย ทำงานรวดเร็ว ว่องไว ไม่ยึดวิธีการ
- ความอดทนน้อย รอคอยไม่ค่อยเป็น คิดแล้วทำเลย
- มีความสามารถเฉพาะตัว รักอิสระ โลกส่วนตัวสูง
ความต่างในแนวคิดของคน 2 ยุคจึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อการทำงานในองค์กรอย่างแน่นอน หรืออาจกล่าวได้ว่า Milennial คือ Generation Tetris ส่วน Gen Z คือ Generation Roblock ก็เป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะต้องหลอมรวมเอาคน 2 ยุคมาทำงานด้วยกันให้เกิดประสิทธิภาพ
เพราะถ้าว่ากันตามจริงแล้วทั้งกลุ่ม Millennials และ Gen Z ต่างมีข้อดีตามแบบฉบับของตัวเองและถือเป็นพนักงานที่มีประสิทธิภาพทั้งคู่ องค์กรจึงจำเป็นต้องทำให้คนทั้ง 2 รุ่นนี้ทำงานร่วมกันให้ได้และถ้าแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังก็จะช่วยลดความตึงเครียดในที่ทำงานได้อีกด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)