ทำความรู้จัก สมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์ The Philippine Franchise Association (PFA)
เชื่อหรือไม่ว่า ประเทศฟิลิปปินส์กำลังจะเป็นศูนย์กลางของธุรกิจแฟรนไซส์อาเซียน โดยแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้ฟิลิปปินส์ เป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟรนไชส์ของอาเซียนนั้น ใกล้เป็นความจริง
เนื่องจากการไหลเข้ามาของแบรนด์สินค้าแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 400% จากหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ
ประกอบกับประเทศฟิลิปปินส์มีระบบแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งสุดๆ เพราะสมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์ (The Philippine Franchise Association: PFA) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ภายในประเทศให้มีความแข็งแกร่ง สามารถเติบโตก้าวออกไปขยายสาขาในต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเอารูปแบบระบบแฟรนไชส์สหรัฐอเมริกามาใช้เลย
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ สมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์ (The Philippine Franchise Association: PFA) ถือว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศให้เติบโตและแข็งแกร่ง อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการจัดงาน Franchise Asia Philippines ประจำทุกปี
งานแสดงสินค้า Franchise Asia Philippines เป็นงานที่รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์ ที่น่าสนใจและโดดเด่นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จึงส่งผลให้ฟิลิปปินส์มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจแฟรนไชส์ของอาเซียนมาโดยตลอด
ที่มา goo.gl/mwoXeu
PFA เป็นองค์กรกำกับดูแลการทำธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศฟิลิปปินส์ ถือเป็นองค์กรที่ให้การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ในประเทศและนอกประเทศ ทั้งกลุ่มธุรกิจอาหาร การค้าปลีก บริการและธุรกิจประเภทอื่นๆ
โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1995 โดยสมาคมผู้ค้าปลีกฟิลิปปินส์ (PRA) ด้วยการสนับสนุนจากการลงทุนและโอกาสทางการค้าประเทศฟิลิปปินส์ (PITO-P) สมาชิกของ PFA ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน Fair Franchising Standards (FFS)
ซึ่งแนะนำให้สมาชิก ทั้ง 184 แฟรนไชส์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
ประเภทของการเป็นสมาชิก
1.สมาชิกแฟรนไชส์
สมาชิกสามัญ
- แฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงและฐานะทางการเงินที่ดี
- ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน Fair Franchising Standards (FFS), จรรยาบรรณของกลุ่ม
- สมาชิกที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำของการทำงานอย่างน้อย 3 ปีโดยมีร้านค้าของ บริษัท อย่างน้อย 3 แห่งและร้านค้าแฟรนไชส์อย่างน้อย 3 แห่ง (กฎ 3-3-3)
สมาชิกทดลอง
- สมาชิกที่สามารถส่งเอกสารข้อกำหนดและสามารถปฏิบัติตามกฎข้อที่ 2-3-3 ได้
2.สมาชิกสมทบ
นิติบุคคลหรือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจจัดหาบริการอุปกรณ์และ / หรือวัสดุแก่อุตสาหกรรมแฟรนไชส์
ปฏิบัติอย่างโปร่งใสและยุติธรรม PFA ส่งเสริมให้แฟรนไชส์พัฒนาเศรษฐกิจโดยสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศ เมื่อเร็วๆนี้ PFA ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาพันธ์แฟรนไชส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APFC) นอกจากนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะทำงานของ World Franchise Council (WFC)
PFA คณะกรรมการของ TRUSTEES
ที่มา bit.ly/2LOqNjP
ขั้นตอนการสมัครสมาชิก PFA โหลดใบสมัคร คลิก! https://bit.ly/2n3kidW จากนั้นยื่นเรื่องนี้ไปที่สำนักเลขาธิการ PFA ที่อาคาร Citrilum 701 OMM, San Miguel Avenue, Ortigas Center, Pasig City;
หรือ ผู้สมัครสามารถกรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิก PFA ออนไลน์ได้ การสมัครสมาชิก PFA จะได้รับการทบทวนโดยคณะกรรมการสมาชิกซึ่งจะให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการมูลนิธิและคณะกรรมาธิการจะมีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการ
ประโยชน์ของการเป็นสมาชิก PFA
- ได้รับความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ
- สมาชิก PFA ปฏิบัติตาม มาตรฐาน Fair Franchising Standards (FFS), จริยธรรมของสมาคม
- มีโอการมีเครือข่ายแบบแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
- การประชุมสมาชิกทั่วไป
- มีแพลตฟอร์มเพื่อโปรโมตแบรนด์และรับสมัครตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพ
- แฟรนไชส์เอเชียฟิลิปปินส์ – งานแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
- งานแฟรนไชส์ระดับภูมิภาคและช่วงการจับคู่ทางธุรกิจ
- การสัมมนาแฟรนไชส์รายเดือนที่ศูนย์ฝึกอบรม PFA
- เว็บไซต์ PFA และสื่อสังคมออนไลน์
- จดหมายข่าว PFA
- มีโอกาสการขยายตัวระหว่างประเทศ
- อัตราสมาชิก PFA ในงานแฟรนไชส์ระดับนานาชาติที่จัดโดยสมาชิกสภาการค้าแฟรนไชส์โลก (WFC) และสมาพันธ์แฟรนไชส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- โอกาสในการเป็นส่วนหนึ่ง ในภารกิจทางธุรกิจในต่างประเทศ
- โอกาสในการเป็นตัวแทนในบูธ PFA ในงานแฟรนไชส์นานาชาติ
- มีการขยายโอกาสแห่งชาติ
- ภารกิจทางธุรกิจระดับภูมิภาค
- แฟรนไชส์ระดับภูมิภาคและงานแสดงสินค้าอื่น ๆ
- มีการเข้าถึงซัพพลายเออร์และนักธุรกิจ
- ที่ปรึกษา
- สถาบันการเงิน
- ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและผู้อื่น
- มีอัตราสิทธิพิเศษในงานแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย – แฟรนไชส์เอเชียฟิลิปปินส์
- การประชุมแฟรนไชส์นานาชาติ
- งานแฟรนไชส์นานาชาติ
- ผู้บริหารแฟรนไชส์ที่ผ่านการรับรอง
- การเข้าร่วมฟรีประจำปีสำหรับการจัดสัมมนาด้านการสร้างขีดความสามารถของ PFA 2 ครั้ง
- อัตราพิเศษในกิจกรรมที่จัดโดยกลุ่มอื่น ๆ ที่ PA ร่วมเป็นสมาชิก
- การศึกษาต่อเนื่องและโอกาสในการยกระดับอาชีพ
- PFA เสนอ โครงการผู้บริหารแฟรนไชส์ที่ผ่านการรับรอง ภายใต้สถาบันผู้บริหารแฟรนไชส์ที่ผ่านการรับรอง (ICFE) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลที่ได้มาตรฐานสูงสุด
- มีโอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพ
- การสัมมนาและการฝึกอบรม
- การให้คำปรึกษา
- พัฒนาความเป็นผู้นำ
- โอกาสในการแบ่งปันความสามารถและฝึกฝนทักษะของคุณในคณะกรรมการ PFA
- โอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งในโฆษณาของ PFA
- การเป็นตัวแทนที่แข็งแกร่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
- ทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จสำหรับสถานะการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องของภาค
- สำหรับการเข้าถึงข้อมูลของสมาชิกเท่านั้น
- งานนำเสนอในกิจกรรมต่างๆที่มีการจัดทำ PFA
- อัพเดตอุตสาหกรรมทั่วโลก
- บันทึกประจำสัปดาห์ PFA
- กิจกรรม CSR
- PFA มุ่งมั่นที่จะปลูกฝังและส่งเสริมการมีสัญชาติที่ดีในหมู่สมาชิกด้วยการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ที่ริเริ่มโดย PFA ในทำนองเดียวกัน PFA มีส่วนร่วมในการสำรวจวิธีที่จะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของประเทศ
เก็บค่าธรรมเนียมสมาชิกสมาคมแฟรนไชส์ฯอย่างเหมาะสม
สมัครเป็นสมาชิก การสมัครสมาชิกมีค่าธรรมเนียมการสมัครตามนี้
- แฟรนไชส์ระดับไมโคร ราคา 2500 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 1567 บาท)
- แฟรนไชส์ระดับเล็ก ราคา 5000 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 3134 บาท)
- แฟรนไชส์ระดับกลาง ราคา 7500 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 4701 บาท)
- แฟรนไชส์ระดับใหญ่ ราคา 10000 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 6268 บาท)
- แฟรนไชส์ต้นแบบ ราคา 15000 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 9402 บาท)
- สมาชิกเสริม ราคา 2000 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 1253 บาท)
- ค่าธรรมเนียมการจัดการสำหรับสมาชิกใหม่ / ผู้สมัคร ราคา 5500 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 3447 บาท)
หากสนใจ PFA สามารถติดต่อได้ที่ MANILA OFFICE: Unit 701 One Magnificent Mile (OMM Citra) Bldg., San Miguel Avenue, Ortigas Center, Pasig City
โทรศัพท์: (+632)687-03 65 to 67
มือถือ: (SMART) 0999-8833732 | (SUN) 0932-8792732 |
(GLOBE) 0917-8320732
Fax : (+632) 687-0635
จะเห็นได้ว่า สมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์ (The Philippine Franchise Association: PFA) มีบทความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศฟิลิปปินส์ จนสามารถกลายเป็นศูนย์กลางของแฟรนไชส์อาเซียนได้ และถือเป็นสมาคมแฟรนไชส์ที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุดในอาเซียนอีกด้วย เห็นได้จากการจัดงาน Franchise Asia Philippines อย่างยิ่งใหญ่ทุกปี
จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปินส์ สะท้อนการเติบโต
จากข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2560 ประเทศฟิลิปปินส์มีจำนวนแบรนด์สินค้าต่างๆ ถึง 1,500 แบรนด์ โดยมีจำนวนร้าน 140,000 ร้าน และ 68% ของแบรนด์สินค้าเหล่านี้เป็นของประเทศฟิลิปปินส์ ในภาคส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์นั้น แบ่งเป็นด้านบริการ 24% ด้านร้านค้าปลีก 34% และร้านอาหาร 42%
โดยสามารถสร้างงานได้ถึง 1.2 ล้านตำแหน่ง ผลทางเศรษฐกิจของธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์มีประมาณ16,000,000,000 เหรียญสหรัฐ ธุรกิจแฟรนไชส์ของฟิลิปปินส์ 10 แบรนด์ได้ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนและในแต่ละแบรนด์นั้นจะมีร้านโดยเฉลี่ยมากกว่า 65 ร้านทั่วภูมิภาคอาเซียน
ส่องแบรนด์แฟรนไชส์สัญชาติฟิลิปปินส์
สำหรับนักลงทุนที่สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทางไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ได้รวบรวมข้อมูลแฟรนไชส์แต่ละประเทศเอาไว้ คลิก! bit.ly/2AxZh4R และ bit.ly/2M8Azct
ในฟิลิปปินส์มีสมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปินส์ ในเมืองไทยไทยก็มี สมาคมแฟรนไชส์ไทย (Thai Franchise Association (TFA)) และสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (The Philippine Franchise Association: PFA) ที่ช่วยดูแลและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศให้เติบโต และก้าวออกไปขยายสาขาในต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพ
อนาคตก็หวังว่า เราจะได้เห็นธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ก้าวออกไปขยายสาขาในต่างประเทศได้มากขึ้น เพราะความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์ของไทย ในการช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์ไทยอย่างจริงๆ จังๆ
ที่มา
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2WV2mUG
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)