ทางรอด! ธุรกิจแฟรนไชส์ยุคโควิด-19

การระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ในเมืองไทย แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ แต่ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ที่ปรับตัวเข้ากับวิกฤตโควิดได้ กลับพบว่ามียอดขายและธุรกิจขยายตัวได้ดี

นั่นอาจเป็นเพราะผู้ประกอบการแฟรนไชส์ปรับตัวเข้ากับวิกฤตและพัฒนาสินค้าตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ดี วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเคล็ดลับ ทางรอด ธุรกิจแฟรนไชส์ยุคโควิด-19 มานำเสนอให้ทราบครับ

ทางรอด

การระบาดของโรคโควิด-19 ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเหมือนกันกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซี ที่ยังจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ท่ามกลางยอดขายและจำนวนลูกค้าลดลง

สำหรับ “ค่าใช้จ่าย” ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ต้องแบกรับและเป็นปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ก็คือ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสิทธิรายเดือน การค่าการตลาด ขาดเงินทุนหมุนเวียน และอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชส์บางประเภทยังถูกสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้รับผลกระทบไปตามกัน และไม่รู้ว่าแฟรนไชส์ซีที่โดนปิดกิจการชั่วคราว ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซอร์หรือไม่

61

สำหรับแนวทางการปรับตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกในช่วงวิกฤตโควิด-19 นั้น ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันเป็นอันดับแรก โดยการจับมือก้าวไปด้วยกัน แฟรนไชส์ซอร์ต้องให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือแก่แฟรนไชส์ซี โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์นั้นจำเป็นต้องติดตามสอบถามปัญหาของแฟรนไชส์ซีตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขาดกระแสเงินสด ยอดขาย รายได้ จำนวนลูกค้า ค่าใช้จ่ายต่างๆ (โดยเฉพาะช่วยเหลือชะลอจ่ายค่าสิทธิชั่วคราว) การปิดร้าน ความสะอาดและสุขอนามัยในร้าน การลาพักของพนักงาน การขาดแคลนวัตถุดิบ-สินค้า

สิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรทำ ช่วงโควิด-19

62

  1. ให้มองว่าวิกฤตจะผ่านพ้นไป และเตรียมแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 4 และช่วง 2, 3 และ 5 ปีข้างหน้า
  2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และวิธีการขายทุกช่องทาง จากออฟไลน์เป็นออนไลน์และซื้อกลับบ้าน รวมถึงปรับธุรกิจให้มีขนาดเล็กลง (ร้านเล็กลง) และไม่จำกัดทำเลเปิดร้านเฉพาะในห้างสรรพสินค้าอย่างเดียว
  3. รีบติดต่อแลนด์ลอร์ด หรือห้างสรรพสินค้า เพื่อต่อลองค่าเช่าพื้นที่ให้ลดลงมากที่สุด หากสาขาไหนไปไม่รอดจริงๆ ก็ต้องรีบปิดดำเนินการร้านสาขาให้เร็วที่สุด
  4. หากมองหาทำเลเปิดร้านใหม่ในห้างสรรพสินค้า ควรเลือกช่วงเวลาที่คนเข้าใช้บริการในห้าง 60-70% เพราะจะได้ค่าเช่าที่ถูกลง
  5. สอบถามถึงปัญหา การขาย ต้นทุนสินค้า และวางมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี
  6. ตรวจสอบว่าผลกระทบของแฟรนไชส์ซีจากโควิด-19 สอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์หรือไม่
  7. สื่อสารกับแฟรนไชส์ซีผ่านช่องทางต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที และหากมีสินค้าใหม่ๆ ควรที่จะเปิดตัวสินค้าให้รวดเร็ว อย่ารอช้า เพราะจะยิ่งได้รับผลกระทบจากยอดขายซ้ำอีก
  8. ปรับเปลี่ยนคู่มือปฏิบัติงาน และข้อตกลงบางอย่างในสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อช่วยแฟรนไชส์ซีทำงานง่ายขึ้น
  9. สื่อสารออกไปให้ลูกค้าได้ทราบว่า ภายในร้านมีความปลอดภัย มาตรการรักษาความสะอาด และสุขอนามัยอย่างไร
  10. พยามยามสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤต เพื่อช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีขายของได้
  11. อย่าตื่นตระหนก ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจช่วงวิกฤต ดึงดูดลูกค้า และวางแผนธุรกิจสำหรับอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3vqabBR

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช