ทางรอด ทางรุ่ง SuperRich โมเดลทำเงินยุค New Normal

การระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หลายคนอาจธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นธุรกิจโรงแรม ที่พัก และธุรกิจสายการบิน แต่จริงๆ ยังมีอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน

ก็คือ ธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริษัทรับแลกเงินที่หลายคนคุ้นเคยมานานอย่าง SuperRich สถานการณ์เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบถึง ทางรอด ทางรุ่ง SuperRich ครับ

ทางรอด ทางรุ่ง

ภาพจาก bit.ly/2DS4MxL

“Superrich สีส้ม” เป็นชื่อเล่นของ SPR Superrich (1965) บริษัทรับแลกเงินที่หลายคนคุ้นเคยมานาน โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เพราะเริ่มทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ตั้งแต่ปี 2508 โดย “วิบูลย์ ตันติเวชยานนท์” แรกเริ่มใช้ชื่อว่าร้าน “จิตรพาณิชย์” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจครอบครัว แต่ขณะที่กิจการกำลังลำบาก บวกกับเจอถูกโจรปล้นจนเสียหายหนัก คุณวิบูลย์และภรรยาจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อมาเป็น “Superrich” และใช้สีส้ม เนื่องจากเป็นสีมงคล เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

จุดเปลี่ยนสำคัญของ “SuperRich สีส้ม” เริ่มต้นขึ้นเมื่อ คุณปิยะ ตันติเวชยานนท์ (รุ่นลูก) เข้าบริหาร พร้อมสโลแกนของแบรนด์ไว้ว่า “Think of Money Exchange, Think of SuperRich” โดยริเริ่มความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในวงการนี้

เริ่มจากการขยายสาขาเข้าห้างที่ BIG C ราชดำริ ในปี 2544 ตามมาด้วยการเปิดที่สถานี BTS ชิดลม ทั้งนี้เพื่อทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการง่ายขึ้น และให้บริการได้ยาวขึ้น เพราะเวลาเปิด-ปิดที่ยาวขึ้น ในวันนี้ บริษัท ซุปเปอร์ริช เคอเรนซี่ เอ็กซ์เชนจ์ (1965) จำกัด คือผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้มาตรฐานสูงที่สุดในประเทศไทย

3

ภาพจาก bit.ly/3h8Uesg

แต่พอเกิดการระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ Superrich สีส้ม กำลังเจอฝันร้าย ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการปิดสาขาและจุดให้บริการแลกเงิน เพื่อบริหารจัดการต้นทุนให้บริษัทบาดเจ็บน้อยที่สุด

เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกแต่ละเดือนประมาณ 4-8 ล้านบาท โดยไม่มีรายได้เข้า เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่มีการล็อกดาวน์ ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกประเทศ ทำให้ธุรกรรมทั้งฝั่งซื้อและขายเงินตราต่างประเทศหายกว่า 95%

ปัจจุบันบริษัทมีสาขาทั้งหมด 40 แห่ง โดยภายในสิ้นปีจะหมดสัญญาเช่าประมาณ 5-6 แห่ง ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างเจรจาต่อรองกับเจ้าของพื้นที่ว่าจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปิดสาขาที่หัวหินไปแล้ว ส่วนที่ภูเก็ตปิดชั่วคราว ซึ่งจะต้องรอดูสถานการณ์ที่ทางการจะปลดล็อกท่องเที่ยวเป็น 3 เฟส

2

ภาพจาก bit.ly/2Q1lw7T

สำหรับแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ “ปิยะ ตันติเวชยานนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ริช เคอเรนซี่ เอ็กซ์เชนจ์(1965) จำกัด ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ ว่า เนื่องจากสถานการณ์การติดเชื้อในต่างประเทศยังไม่ดีขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์ลากยาว คาดว่าจะเห็นธุรกิจแลกเงินต้องปิดตัวและพนักงานตกงานอีกมาก

โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตราว 2,000 สาขา มีพนักงานเฉลี่ย 20 คนต่อแห่ง ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้จะเห็นคนตกงานราว 2 หมื่นคน

1

ภาพจาก bit.ly/321PVsf

ช่วงไตรมาสแรกยอดการแลกเงินตราต่างประเทศยังเติบโตได้ดี แต่มาดิ่งลงอย่างหนักในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งในช่วงเดือน เม.ย. ยังมีวอลุ่มเข้ามาประมาณ 1 พันล้านบาท และหล่นลงมาเหลือ 700 ล้านบาทในเดือน พ.ค. ขณะที่เดือนมิ.ย.หล่นลงมาอยู่ที่ราวๆ 400-500 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งบริษัทยังคาดการณ์ว่าทั้งปีน่าจะมีวอลุ่มการแลกเงินอยู่ที่ประมาณ 5,280 ล้านบาท เทียบกับช่วงปกติที่มีวอลุ่มเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้านบาท หรือตกราวๆ เดือนละ 9 พันล้านบาท

สำหรับแผนการฝ่าวิกฤติในระยะข้างหน้า SuperRich เตรียมปรับองค์กรด้วยการทรานส์ฟอร์มไปสู่ธุรกิจใหม่ในระบบดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มรับซื้อแลกเงิน เช่น นำสินค้าหรือเงินดิจิทัลมาแลกเป็นเงินสกุลต่างๆ

แต่ต้องรอประเมินสถานการณ์ ว่าน่านฟ้าจะกลับมาเปิดได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีเข้ามาบ้างหรือไม่ เพื่อดูว่ามีความคุ้มค่าพอที่จะทรานส์ฟอร์มตัวเองไปสู่สิ่งใหม่ๆ แต่แต่เชื่อว่าถ้าสนามบินกลับมาเปิด ด้วยชื่อเสียงของ SuperRich ลูกค้าจะมาหาอย่างแน่นอน

แต่แผนเฉพาะหน้าของ “SuperRich” สีส้ม ในเวลานี้ คือ ทำตัวเองให้ “อยู่รอด” หรือยื้อลมหายใจให้ได้นานที่สุด จนกว่าจะมี “วัคซีน” ออกมา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก https://bit.ly/32clXlL

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช