ทฤษฏี “ไข่ดาว” สู่การสร้างยอดขาย “ไม่ต้องระดมทุน”
ทำธุรกิจก็ต้องการสร้างยอดขาย รูปแบบและวิธีการในการสร้างยอดขายก็แตกต่างกันไปตามแต่ละธุรกิจ ยกตัวอย่างถ้าเป็นการขายสินค้าก็มีทั้งแบบขายปลีก ขายตรง และการสร้างเครือข่าย อย่างที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทุกวันนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างยอดขายด้วยวิธี “ระดมทุน” ที่สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตตามข่าวที่ได้ทราบๆ กัน
ตัดกลับมาในอีกด้านก็มีการขายที่ ไม่ต้องระดมทุน แถมยังเป็นการขายสินค้าที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ทำให้มีอะไร และก็ขายดีมากซะด้วย ถ้ายังสงสัยก็ลองนึกภาพตาม ว่าทำไมบางแบรนด์ถึงขายดีทั้งที่ความจริงสินค้าก็ดูง่ายๆ ไม่มีอะไร
อย่างแบรนด์เสื้อผ้าบางยี่ห้อ ไม่ได้มีดีไซน์แปลกใหม่อะไร ดูธรรมดา แต่ปรากฏว่าถูกใจลูกค้าซะงั้นหรืออย่างเครื่องดื่มก็เช่นกันไม่ต้องพรีเมี่ยม ไม่ต้องดูแพง แต่เน้นไอเดีย กลายเป็นขายดีได้ บางครั้งการเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่างเรามองไกลเกินไปจนลืมนึกถึงว่า “ความง่าย” นี่แหละคือจุดขายที่เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด
มีทฤษฏีหนึ่งที่น่าสนใจเรียกว่า ทฤษฎีการก้าวข้ามเรียนรู้ (หรือบางคนก็เรียกว่าเป็นทฤษฏีไข่ดาว) หลักการของทฤษฏีนี้บอกว่า การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเมื่อเรานั้นเดินเข้าสู่ “พื้นที่เสี่ยง” เปรียบเทียบเหมือนไข่ดาว ที่มีไข่แดงอยู่ตรงกลาง โดยมีไข่ขาวรายล้อม
การที่มนุษย์จะก้าวจากพื้นที่ที่เคยอยู่ไปในจุดที่ไม่คุ้นเคยแม้จะเป็นความเสี่ยงแต่อีกนัยน์หนึ่งก็คือพื้นที่แห่งการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีทฤษฏีไข่ดาวนี้ไม่ได้บอกให้คิดอะไรง่ายๆ โดยปราศจากหลักการและเหตุผล
สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทฤษฏีนี้คือ “ความง่าย” ของแต่ละคนนั้น “ไม่เหมือนกัน” ยกตัวอย่างไข่ดาวที่เป็นเมนูง่ายๆ บางคนชอบสุกเยิ้มๆ บางคนชอบสุกพอดี บางคนชอบแบบไข่ดาวสุกๆ ไปเลย สิ่งเหล่านี้คือความง่ายและความชอบที่นำมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดได้ แน่นอนว่าทฤษฏีนี้ไปสอดคล้องกับ การตลาดแบบ Personalized Marketing ด้วยเช่นกัน
อธิบายง่ายๆก็คือการทำการตลาดที่มุ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันไม่จำเป็นต้องชอบสินค้าหรือบริการตัวเดียวกัน การเสนอขายสินค้าหรือบริการจะพิจารณาจากข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ได้มา
สิ่งเหล่านี้คือการตลาดยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ โดยไม่ว่าจะทฤษฏีไข่ดาวหรือว่า Personalized Marketing ก็มีเคล็ดลับสำคัญคือ
- เสนอสิ่งที่ตรงตามความสนใจ = เพิ่มโอกาสในการขายให้มากขึ้น
- ให้บริการเสมือนคนที่รู้ใจ = สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า
- ยิ่งตอบโจทย์ความต้องการได้มาก = เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
- ทุกช่องทางสื่อสารสอดคล้องกัน = มีกี่ช่องทางก็ถูกใจทุกช่องทาง
การที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ต้องเกิดจากการมีข้อมูลของลูกค้าที่มากพอ และทฤษฏีเหล่านี้ไม่ใช่แค่การขายสินค้าทั่วไป สินค้าในกลุ่มบริการเองก็สามารถนำไปผนวกใช้ได้ ยิ่งเป็นยุคโซเชี่ยลแบบนี้ที่คนมีสิทธิ์ มีตัวเลือกมากขึ้น อะไรที่ถูกใจพอใจ คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างมาก
มีหลายแบรนด์ที่ผนวกใช้ทฤษฏีนี้กับสินค้าอย่างได้ผล เอาที่เห็นชัดที่สุดเช่น “ช้างดาว” ซึ่งเป็นรองเท้าแตะระดับตำนานที่ดีไซน์คือเรียบง่ายมาก แต่เป็นสินค้าที่ขายดีมากว่า 6 ทศวรรษ และสังเกตว่าการตลาดของ ช้างดาวนี่ไม่ธรรมดาเกาะติดเทรนด์โซเชี่ยลได้อยู่เสมอ
อย่างปี 2022 ออกแบบรองเท้ารุ่น “นันยางพริ้ง” เกาะกระแสของ “แบล็กพิงก์” ที่กำลังโด่งดัง แม้จะเป็นแคมเปญระยะสั้นๆ แต่ก็ขายได้กว่า 105,739 คู่ สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ราว 10 เท่า หรือจะเป็นรุ่นนันยางเรด เกาะกระแสลิเวอร์พูล ก็มียอดขายกว่า 12,000 คู่
อีกสักตัวอย่างที่น่าจะเห็นภาพได้ชัดๆ คือเสื้อห่านคู่ที่ดีไซน์เรียบง่ายมาก แต่ขายดียอดขายกว่า 100 ล้านซึ่งปัจจุบันเสื้อห่านคู่ก็ยังแข่งขันในธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง มีการเพิ่มคอลเล็กชั่นต่างๆ มีการออกแบรนด์ลูก เช่น ‘ห่านคู่ PLUS+’ กับ ‘DBGS’ นอกจากนี้ห่านคู่พยายามหาลูกค้าใหม่ๆ และพยายามค้นหาความต้องการของลูกค้า โดยทำ collaboration กับแบรนด์อื่นอีกด้วย
หรือแม้แต่กลุ่มร้านชานมไข่มุกที่แข่งกันเอาใจลูกค้าด้วยไอเดียการตลาดใหม่ๆ ไม่เน้นลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และธุรกิจร้านอาหารทั้งหลายก็มีการออกเมนูที่ถูกใจและแปลกใหม่อยู่เสมอ การที่แต่ละแบรนด์ขยันออกมาอัพเดทและพัฒนาสินค้านั้นก็เพื่อให้มีตัวเลือกที่หลากหลาย เพราะเข้าใจดีว่า “ความชอบ” ในแต่ละคนนั้นแตกต่าง หากไม่พัฒนาและย่ำอยู่กับที่คิดว่าสิ่งนี้คือดีที่สุด ธุรกิจนั้นไม่มีวันไปรอด มีแต่ทรงกับทรุดลงไปเรื่อยๆ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)