ถูกละเมิด “เครื่องหมายการค้า” ฟ้องร้องอะไรได้บ้าง?

พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ได้กำหนดว่าผู้ที่ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าสามารถฟ้องร้องและเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ซึ่งโดยปกติพรบ.เครื่องหมายการค้าจะให้สิทธิผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อน

ตามหลัก First to file เมื่อเครื่องหมายนั้นรับจดทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อมีเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันมาขอยื่นจดทะเบียน นายทะเบียนจะสั่งปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มาเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว

กรณีที่เราพบว่าโดนละเมิดเครื่องหมายการค้าสามารถฟ้องละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ รวมถึงกรณีลวงขาย (Passing off) กล่าวคือ การที่บุคคลภายนอกทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าสินค้าของตนมีความเกี่ยวข้องหรือเข้าใจว่าเป็นสินค้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทางการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสามารถฟ้องการลวงขายดังกล่าวภายใต้ มาตรา 46 พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ได้

นอกจากนี้สามารเพิกถอน หรือ คัดค้าน ต่อเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้าย ที่ทำให้กระทบสิทธิของตน โดยสามารถแสดงหลักฐานว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และดำเนินการคัดค้านหรือเพิกถอนการจดทะเบียน ตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า 2534 อีกทั้งสามารถฟ้องในความผิดเกี่ยวกับการค้า มาตรา 272 – 274 ตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย

เครื่องหมายการค้า
ภาพจาก https://elements.envato.com

บทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดสิทธิ เครื่องหมายการค้า

  1. การปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย ร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 108)
  2. การเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 109)
  3. การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วมาใช้สำหรับสินค้าของตนเองจนอาจเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียนเเล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 109/1)
เครื่องหมายการค้า
ภาพจาก https://elements.envato.com

กรณีถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า หลักฐานที่ต้องนำมาประกอบได้แก่

  1. ทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งนายทะเบียนรับรองความถูกต้องที่เป็นต้นฉบับมาแสดง (จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร)
  2. หนังสือรับรองนิติบุคคลกรณีเจ้าของเครื่องหมายเป็นนิติบุคคล
  3. หนังสือมอบอำนาจให้ตัวแทนมีอำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ กรณีเจ้าของเครื่องหมายเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลต่างประเทศ โดยหนังสือมอบอำนาจต้องเป็นต้นฉบับ ถ้าจะใช้สำเนาต้องมีการรับรองความถูกต้องแท้จริงโดยวิธีการตามกฎหมายของประเทศนั้น
  4. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลถูกต้อง
  5. ตัวอย่างสินค้าของจริง และตัวอย่างสินค้าของปลอม
  6. หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการโฆษณาสินค้า สำเนาใบเสร็จรับเงินจากการจำหน่ายสินค้าหลักฐานแสดงความแพร่หลายของสินค้า เป็นต้น

ในกรณีเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร จะต้องนำทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นต้นฉบับมาแสดงร่วมด้วย

เครื่องหมายการค้า
ภาพจาก https://bit.ly/3xICC3M

ทั้งนี้มีกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเป็นเคสของ Cafe’ Amazon แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังที่นอกจากมีสาขาในประเทศยังมีการขยายสาขาไปต่างประเทศด้วย ซึ่งเคยมีรายงานข่าวว่ามีร้านหนึ่งในกัมพูชาตั้งชื่อร้านว่า Café Amazing และมีรูปแบบร้านที่เหมือนกับ Cafe’ Amazon อย่างมากต่างกันเพียงแค่ชื่อร้านเท่านั้น แน่นอนว่าเรื่องนี้ทาง Café Amazon ได้ให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมหลักฐาน เพื่อยื่นฟ้องร้องร้านกาแฟดังกล่าวด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด