ถูกง่ายกว่าหวย! กินปลากระป๋อง “ลุ้นรับเงินแสน” เจอ จ่าย จริง!
การตลาดแบบ “กล่องสุ่ม” เราเคยเจอมาแล้ว ตอนนี้เราจะให้ทุกท่านได้รู้จักกับการตลาดแบบ “ปลากระป๋องสุ่ม” กันบ้าง ซึ่งในยุคที่ค่าครองชีพแพง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าแคมเปญการตลาดขั้นเทพดังกล่าวนี้ถือว่าสุดยอดมาก เพราะนอกจากจะเพิ่มยอดขายได้ยังทำให้เกิดกระแสเป็นไวรัลเพิ่มจำนวนคนที่ได้เห็นได้รู้จักสินค้ามากขึ้น
โดยงานนี้เป็นไอเดียของการตลาดของปลากระป๋องตรากัปตันเรือโดยบริษัทเอสพีเอส บาย ซานต้า จำกัด ที่จัดแคมเปญ “เจอ 3 จ่ายแสน” แค่เปิดปลากระป๋องแล้วเจอปลา 3 ตัวทำตามกติกาที่กำหนดไว้ก็รับไปทันที 100,000 บาท
ถูกง่ายกว่าหวย! จ่ายจริง รับเงินแสนกันถ้วนหน้า
ภาพจาก https://bit.ly/3tz6SK3
แคมเปญดังกล่าวนี้ไม่ได้ทำออกมาเล่นๆ แต่จริงจังและมีคนได้รับเงินรางวัลชัดเจน เปิดตัวแคมเปญครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ปรากฏว่ามีผู้ที่ได้รับรางวัลในรอบแรกกว่า 31 คน เฉลี่ยมีคนโชคดีประมาณ 1 คนต่อวัน ถ้านับเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วถูกง่ายกว่าหวยแน่นอน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่เปิดเจอจะได้เงิน 100,000 ทันที เพราะงานนี้ก็มีกติการคือ
1.เมื่อได้รับสินค้าแล้ว ให้ทำการอัดวิดีโอตั้งแต่เปิดกระป๋องจนถึงขณะเทออกโดยไม่มีการหยุดพัก ไม่มีการตัดต่อ ไม่มีการ Jump Cut ไม่มีการดัดแปลง ปรับสีหรือแสงใดๆ และภาพเนื้อปลารวมทั้งกระป๋องจะต้องอยู่ในเฟรมวีดีโอ โดยไม่หลุดออกจากเฟรมวีดีโอเด็ดขาด ซึ่งก่อนทำการเปิดกระป๋องในวิดีโอจะต้องแสดงเห็นเลข Lot. สินค้าบริเวณใต้กระป๋องอย่างชัดเจน เห็นภาพขณะชั่งน้ำหนักทั้งก่อนเทและหลังเทชัดเจน ภาพต้องนิ่ง โดยความยาววิดีโอต้องไม่เกิน 1 นาที ต้องเห็นตัวบุคคลขณะดำเนินการอย่างน้อยครึ่งตัว ทั้งนี้ไฟล์วิดีโอต้องเป็น Original File เท่านั้น
2.ก่อนเทต้องชั่งน้ำหนักทั้งกระป๋องด้วยเครื่องชั่งแบบดิจิตอลเท่านั้น เพื่อให้ทราบน้ำหนักมาตรฐานแบบแม่นยำ โดยน้ำหนักต้องอยู่ที่ 155 กรัมขึ้นไป ก่อนเทใส่ภาชนะให้นำภาชนะเปล่ามาชั่งก่อน เมื่อชั่งภาชนะเปล่าเสร็จแล้วให้เปิดกระป๋องและเทใส่ภาชนะที่อยู่บนตราชั่งได้เลย หลังจากนั้นจดรายละเอียดน้ำหนัก และตรวจสอบจำนวนปลาต่อไป
3.เงื่อนไขการได้รางวัล หากเทออกมาแล้วพบปลาซาร์ดีนอยู่ด้านใน 4 ตัว หรือ 4 ตัวขึ้นไป ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานตามที่บริษัทฯ กำหนด แต่หากเทออกมาแล้วพบว่ามีปลาซาร์ดีน 3 ตัวหรือน้อยกว่า 3 ตัวใน 1 กระป๋อง ถือว่าเป็นไปตามกฏกติกาที่แคมเปญกำหนด
4.ปลาซาร์ดีน 1 ตัว ต้องพิจารณาจากช่วงลำตัวจรดหาง จึงถือว่าเป็น 1 ตัว ความยาวอยู่ที่ 8-12 เซนติเมตร กรณีปลามีความยาวช่วงลำตัว หรือช่วงหางอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น 1 ตัว ให้ถือว่าเป็น 1 ชิ้นเท่านั้น
วิเคราะห์ “เจอ 3 จ่ายแสน” สุดยอดการตลาดในยุคของแพง
ภาพจาก https://bit.ly/3Kj3k4B
อันดับแรกต้องยกนิ้วให้กับคนที่คิดแคมเปญนี้ออกมาในยุคที่ค่าครองชีพแพงเหลือเกิน ซึ่งตลาดปลากระป๋องในเมืองไทยมีมูลค่าประมาณ 8,000 – 9,000 ล้านบาท/ปี และมีหลายแบรนด์ให้ลูกค้าเลือก แน่นอนว่าหากเป็นแบรนด์น้องใหม่ก้าวเข้าสู่วงการนี้การจะตีตลาดรุ่นใหญ่นั้นทำได้ยาก
แต่แคมเปญนี้คือวิธีลัดที่ได้ทั้งยอดขายและได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเพราะการมีรางวัลล่อใจแบบนี้ทำให้คนอยากเสี่ยงที่จะซื้อ เหมือนสมัยก่อนที่มีแคมเปญของชาเขียวในการส่งหมายเลขใต้ฝามาลุ้นรับรางวัล นั้นก็เพิ่มยอดขายให้สินค้าได้มหาศาล ปลากระป๋องก็เช่นกันยกตัวอย่างคนที่ได้รางวัลเงิน 100,000 ก็ซื้อมาถึง 50 กระป๋อง เพื่อลุ้นรางวัลนี้ แล้วถ้านับรวมคนอื่นๆ ด้วยจะเพิ่มยอดขายได้มากขนาดไหน
ไม่นับรวมเรื่องกติกาของบริษัทที่กำหนดให้ถ่ายคลิปซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่จะมีการโพสต์ลงในโซเชี่ยล โดยเฉพาะ TikTok ที่บางคลิปมีคนดูเป็นล้าน นั่นก็หมายความว่า ประมาณ 1 ล้านได้เห็นผลิตภัณฑ์นี้ โดยที่ทางบริษัทไม่ต้องลงทุนโฆษณาเพิ่มขึ้นแต่อาจได้ฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งความร้อนแรงของแคมเปญ “เจอ 3 จ่ายแสน” นี้ ดีถึงขนาดที่มีการจัดอีกครั้งเป็นรอบที่ 2 ในเดือนมกราคมนี้ แต่มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อยคือ
ภาพจาก https://bit.ly/3FxpIUk
แคมเปญในรอบที่ 2 นี้มีการกำหนดช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 10-31 มกราคม พ.ศ.2565 วิดีโอที่บันทึกก่อนหรือหลังช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมและจำกัดจำนวนสิทธิ์ 10 ท่านแรกเท่านั้น โดยหากครบจำนวนหรือสิ้นสุดตามที่ระยะเวลากำหนดแล้ว ถือว่าสิ้นสุดกิจกรรมดังกล่าวและบุคคลใดเคยได้รับเงินจากกิจกรรมนี้แล้ว จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินในกิจกรรมนี้อีก ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ภาพจาก https://bit.ly/3qAfyOA
เราจะเห็นได้ว่าการตลาดที่แท้จริงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว สำหรับคนที่มีไอเดีย มีแนวคิดที่พิเศษ มักจะได้รับความสนใจจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้น สำคัญคือสินค้าต้องจับความรู้สึก จับความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ และไม่ว่าจะแคมเปญใดๆ ต้องกำหนดกติกาและมีความโปร่งใสชัดเจน เพราะยุคนี้คือโลกของโซเชี่ยลที่ทุกอย่างแพร่กระจายไปไวมาก
แคมเปญอาจเป็นได้ทั้งการตลาดที่ดีการสร้างชื่อที่ดี แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ควบคุมหรือกฏกติกาไม่ชัดเจนอาจนำมาซึ่งชื่อเสียงในทางไม่ดีที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3FDr2F2 , https://bit.ly/3fvUna0 , https://bit.ly/3tCA6be
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3rwDWA1
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)