ถามใจ! เจ้าของที่ทำเอง หรือ ให้เช่า อันไหนดีกว่า

เจ้าของที่ทำเอง กับ ให้เขาเช่าเปิดร้าน แบบไหนดีกว่า ถ้าเจ้าของที่ลงทุนทำเองก็ต้องใช้เงินลงทุน ดูแลกิจการเอง แต่ถ้าให้เขาเช่า ก็รอรับค่าเช่าอย่างเดียว ใครเป็นเจ้าของที่กำลังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะทำเอง หรือให้เขาเช่า มาดูกัน

ยกตัวอย่าง…

เจ้าของที่ทำเอง

ถ้าคุณเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่อยากให้คนอื่นเช่า อยากทำธุรกิจเอง เปิดร้านอาหาร หรือลงทุนทำตลาดนัด แต่คุณไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะด้านการทำอาหาร ไม่มีความสามารถบริหารตลาดนัด ก็มีสิทธิเจ๊งได้ คุณอาจจะจ้างคนอื่นมาช่วยทำก็ตาม ก็ต้องมีค่าใช้จ่สายเพิ่มขึ้นอยู่ดี แต่ถ้าให้คนอื่นเช่าทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ เจ้าของที่ดินจะไม่มีความเสี่ยงในธุรกิจเลย ไม่ต้องคิดว่าจะขายได้มั๊ย จะมีลูกค้ามั๊ย เจ้าของที่ดินรอรับเงินค่าเช่าอย่างเดียว ไม่ต้องเหนื่อยอีกด้วย

อีกกรณีหนึ่ง เจ้าของที่ดินสามารถสร้างรายได้ 2 ทาง จากค่าเช่าที่ดิน และ การทำธุรกิจ โดยลงทุนทำเอง เปิดแฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven เองเลย นำเสนอพื้นที่ให้ซีพีออล์พิจารณาก่อนอันดับแรก ถ้าเขาสนใจ ต่อรองเงื่อนไข ได้เซ็นสัญญาเช่าเลย

เจ้าของที่ทำเอง

ปัจจุบัน 7-Eleven มีรูปแบบการลงทุน 2 แบบ คือ

  • รูปแบบ 1 (ผู้จัดการร้าน) ใช้เงินลงทุน 1.480 ล้านบาท (รายได้ 29,000 บาท/เดือน)
  • รูปแบบ 2 (เจ้าของ) ใช้เงินลงทุน 2.630 ล้านบาท (รายได้ 54% ของกำไรขั้นต้นต่อเดือน)

ราคาค่าเช่าในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ถ้าที่ดินอยู่ทำเลทองหน่อยราคาอาจจะสูงถึง 7-8 หมื่นบาทบาท/เดือน ต่างจังหวัดราวๆ 25,000-30,000 บาท/เดือน ถ้าเป็นตามตึกแถวเขาคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 250-300 บาท/เดือน

นอกจากเจ้าของที่ดินจะเปิดร้าน 7-Eleven บริหารเอง เพื่อสร้างมูลค่าให้ที่ดินเปล่า คุณยังให้คนอื่นเช่าทำโกดังสินค้า หรือคุณจะทำเองก็ได้ ยิ่งถ้าเป็นย่านโลจิสติกส์ บางพลี สมุทรปราการ ราคาเช่าที่ยิ่งแพง สมมติคนอื่นเช่าทำโกดัง แล้วเขาให้คนอื่นเช่าเก็บสินค้า ได้ค่าเช่าเดือนละ 70,000 บาท แบ่งค่าเช่าให้คุณอีก 20,000 บาท เขาก็เหลือ 50,000 บาท คุ้มค่าสำหรับการเช่าที่ดินของคุณ แต่ถ้าคุณลงมือทำเอง ก็รับคนเดียวเต็มๆ แต่ก็ต้องขึ้นกับความสามารถด้วยนะ

เจ้าของที่ทำเอง

ตัวอย่างสุดท้าย การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของที่ดินให้เช่า แต่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การทำห้างสรรพสินค้า ปล่อยเช่าให้เซ็นทรัลทำห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ระยะเวลาสัญญา 20 ปี (19 ธ.ค.2551 – 18 ธ.ค. 2571)

แบ่งเป็นรายได้จากค่าเช่ารายปี 18,687,730,000 บาท และ ค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิ์ 2,611,103,000 บาท รวมผลตอบแทนหรือรายได้ตลอดอายุสัญญา 21,298,833,000 บาท แทบไม่ต้องทำอะไรเลย

ล่าสุดปี 2567 ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวจ่ายค่าเช่าที่ให้การรถไฟฯ กว่า 1,387,603,000 บาท เหลือสัญญาอีก 5 ปี

ส่วนคนเช่าอย่างเซ็นทรัล ก็มีรายได้จากการเช่าที่ทำห้างฯ ปี 2566 กว่า 46,790 ล้านบาท กำไร 15,062 ล้านบาท

เจ้าของที่ทำเอง

สรุปก็คือ ไม่ว่าเจ้าของที่จะทำเอง หรือ ให้คนอื่นเช่า ต้องพิจารณาก่อนว่าตัวเองมีความรู้ความสามรถด้านไหนบ้าง ถ้าเจ้าของที่ไม่มีความรู้อะไรเลย ทำธุรกิจอะไรไม่เป็น ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ ปล่อยเช่าไปเถอะ รอเก็บเงินค่าเช่าอย่างเดียว ส่วนเจ้าของที่ดินที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในธุรกิจที่อยากทำ ควรทำเองดีกว่า ธุรกิจปัง ไม่เสียค่าเช่าอีกต่างหาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช