ถกไม่เถียง! ธุรกิจใครว่าแน่ เช้าทำเย็นโดนก๊อป!
หมดแรงหมดกำลังใจ ไอเดียสินค้าดีๆที่คิดไปดันถูกคนอื่นก๊อปไปง่ายๆซะงั้น! ปัญหา “สินค้าโดนก๊อปปี้” นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ในปี 2566 ที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ กองอํานวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปราบปราม “ของก๊อป” ได้ถึง 1,282 คดี ยึดของกลางได้ 2,042,790 ชิ้น มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่เราคิดหรือไอเดียสินค้าที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเราจะเรียกสิ่งนั้นว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” ซึ่งมีหลายคนเข้าใจว่าทุกอย่างคือ ลิขสิทธิ์แต่ในความเป็นจริงแล้วลิขสิทธิ์เป็นประเภทหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้นถ้าเราอยากขายของของเราที่เราคิดค้นขึ้นมา “เพียงคนเดียว” ไม่ให้ใครมาทำแบบเราได้ เราต้องทำยังไง?
คำตอบคือ “ขอรับความคุ้มครอง” ซึ่งแต่ละประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้นก็ขอรับความคุ้มครองไม่เหมือนกัน บางประเภทต้องขอจดทะเบียน บางประเภทได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติ โดยทรัพย์สินทางปัญญาหลักๆที่คนส่วนใหญ่จดกันได้แก่
จดสิทธิบัตร
ภาพจาก elements.envato.com
คือการขอรับหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์ การออกแบบเก้าอี้ เป็นต้น
จดเครื่องหมายการค้า
ภาพจาก elements.envato.com
คือ การขอรับหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ เพื่อคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
ลิขสิทธิ์
คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความพยายามของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น แต่ความจริงที่โหดร้ายคือคนที่จ้องจะ “ก็อปปี้” เขาโนสน โนแคร์ว่าเราจะไปจดทะเบียนอะไรก็ช่าง ข้อแก้ตัวที่เจอบ่อยๆ คือ “ไม่ได้ทำสินค้าที่เหมือน แต่แค่คล้ายๆ ดังนั้นไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร”
ซึ่งสินค้าที่โดน “ก็อปปี้” ก็มีหลากหลายประเภท อย่างสินค้าแบรนด์เนมซึ่งเขารู้แหละว่าสินค้ามักโดนจ้องจะก็อปปี้ วิธีแก้ปัญหาแบบตรงๆคือ “ฟ้องร้อง” ยกตัวอย่าง กรณีของบริษัท LVMH ที่ใช้เงินมากถึง 560 ล้านบาทต่อปี ในการจ้างนักกฎหมายมากกว่า 60 คน เพื่อดำเนินการฟ้องร้องและต่อต้านสินค้าลอกเลียนแบบ
หรือกรณีศึกษาที่เป็นข่าวดังของเสือพ่นไฟ VS หมีพ่นไฟ ที่เกิดการฟ้องร้องในฐานะละเมิดเครื่องหมายการค้า การบริการที่คล้ายกับเสือพ่นไฟ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 การยื่นฟ้องครั้งนั้น ศาลสั่งให้ เสือพ่นไฟ ชนะคดีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 และหมีพ่นไฟต้องชดใช้เงิน 10 ล้านบาท ฐานละเมิดเครื่องหมายการค้าพร้อมยุติการใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่เหมือนคล้ายกับเสือพ่นไฟ
อีกสักตัวอย่างที่น่าสนใจคือในปี 2560 Café Amazon ได้ฟ้องร้องแบรนด์ที่เลียนแบบซึ่งใช้ชื่อว่า Amazing Café ที่ตั้งอยู่ในกัมพูชา โดย Café Amazon มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งในไทยและต่างประเทศที่ ปตท.เข้าไปลงทุนเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้เครื่องหมายการค้าหรือการลอกเลียนแบบ โดยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมวดตราเครื่องหมาย ทำกิจการร้านกาแฟ และหมวดตัวผลิตภัณฑ์กาแฟ
อย่างไรก็ดีถ้าไม่อยากให้สินค้าโดนลอกเลียนแบบได้ง่ายอีกวิธีที่น่าสนใจคือการ “Develope พัฒนาสินค้าและแบรนด์ตัวเองอยู่เสมอ” วิธีนี้น่าจะนำมาปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจโดยไม่เกี่ยวว่าเราจะเป็นแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ มีเงินทุนหนา หรือว่าเงินทุนน้อย
หลักการในเรื่องนี้ก็มีเคล็ดลับคือ เราจะต้องมีการวิเคราะห์สินค้าของเราอยู่เสมอ ว่าสินค้าของเรามีข้อผิดพลาดตรงไหน หรือยังไม่ตอบสนองลูกค้าในด้านใดบ้าง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมาถึงจุดๆหนึ่ง ที่เราพัฒนาจนคนไม่สามารถที่จะลอกเลียนแบบได้แล้วนั้น สิ่งที่เราจะได้กลับมาเป็นกำไร ก็คือสินค้าของเราจะมีความโดดเด่นมากขึ้นในตลาด และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่เห็นได้อย่างเด่นชัด
ภาพจาก https://citly.me/0EkLM
รวมถึงต้องรู้จักสร้าง Signature เพื่อเป็นภาพจำของแบรนด์ และเพื่อให้ปรากฏภาพจำเหล่านั้นกับลูกค้าบ่อยๆ ยกตัวอย่างน้ำอัดลมอย่าง Pepsi หรือ Coca-Cola ที่ไม่ว่าจะมีสินค้าคล้ายกันแค่ไหน แต่ลูกค้าจะจดจำโลโก้และรสชาติได้ชัดเจน
ทำให้ยอดขายของแบรนด์เหล่านี้ไม่ลดลงเนื่องจากลูกค้ามีความเป็น Brand Loyalty มากๆ หรือบรรดาเมนูนมหมีปั่นที่สังเกตว่าในตลาดจะมีหลายแบรนด์ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของสูตร หรือต้นตำหรับที่แท้จริงอยู่ตรงไหน แต่ละแบรนด์ก็หาเอกลักษณ์ให้ตัวเองดูน่าสนใจด้วยการพัฒนาเมนูที่เราอาจไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แบรนด์ไหนทำอะไร ลูกค้าถูกใจก็จะมาซื้อซ้ำและขายดี เป็นต้น
เหนือสิ่งอื่นใดเมื่อผลิตสินค้าใดๆ ก็ตามที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองชัดเจนต้องไม่ลืมที่จะจดสิทธิบัตรและจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าถึงแม้ว่าจะป้องกันการลอกเลียนแบบได้ยาก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่าผู้อื่นลอกเลียนแบบสินค้าของเรา ก็สามารถฟ้องร้องหรือเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมายนั่นเอง
ข้อควรรู้!
- การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน “สินค้าอันมีลิขสิทธิ์” โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือเป็นความผิดตามมาตรา 27 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท แต่หากทำเพื่อขาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 – 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69)
- กรณีเลียนแบบหรือดัดแปลงเครื่องหมายการค้า มีความผิดตามมาตรา 109 พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)