ถกไม่เถียง! ทำไมแฟรนไชส์ซี Café Amazon 1 คน มักเปิดหลายสาขา

ปัจจุบันแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Café Amazon มีจำนวนร้านมากกว่า 4,181 สาขาทั้งในและต่างประเทศ ถิอเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ในประเทศไทยทิ้งห่างอันดับ 2 กว่า 3 เท่าตัว เป็นแฟรนไชส์ที่มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก

ในแต่ละเดือนมีคนส่งใบสมัครเข้าไปราวๆ 500 ใบสมัคร แต่รู้หรือไม่ว่า ทำไมคนซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” ไปเปิดแล้ว 1 สาขา มักจะซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดอีกหลายสาขา บางรายมีถึง 10 สาขา มาดูกันครับ

คนซื้อแฟรนไชส์กาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ส่วนใหญ่จะเคยทำธุรกิจอื่นมาก่อน หรือกำลังทำธุรกิจอยู่ แต่อยากขยายกิจการด้วยการเปิดร้านกาแฟ และคนซื้อแฟรนไชส์อเมซอนจะชอบดื่มกาแฟอเมซอน เป็นแฟนกาแฟอเมซอนโดยเฉพาะ

ก่อนอื่นมาดูขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่ อเมซอน ผู้ยื่นใบสมัครจะต้องจัดตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคล มีทำเลเปิดร้าน

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน

Café Amazon

Shop ในอาคาร (40 ตร.ม.ขึ้นไป)

  • งบเริ่มต้น 2.34 – 3.70 ล้านบาท
  • ค่า Royalty Fee 3%
  • ค่า Marketing Fee 3%
  • ค่าเช่าเครื่อง POS 2.4 หมื่นบาท/ปี
  • อายุสัญญา (รีโนเวททุก 3 ปี) 6 ปี

Café Amazon

Stand Alone นอกอาคาร (100-200 ตร.ม.)

  • งบเริ่มต้น 2.64 – 4.20 ล้านบาท
  • ค่า Royalty Fee 3%
  • ค่า Marketing Fee 3%
  • ค่าเช่าเครื่อง POS 2.4 หมื่นบาท/ปี
  • อายุสัญญา (รีโนเวททุก 3 ปี) 6 ปี

Café Amazon

ขอดขาย “คาเฟ่ อเมซอน”

  • ยอดขายแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” ปี 66 เพิ่มขึ้น 14 ล้านแก้วใน 1 ปี
  • ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน
    • ปี 2563 : 749,000 แก้ว/วัน
    • ปี 2564 : 816,000 แก้ว/วัน
    • ปี 2565 : 978,000 แก้ว/วัน
    • ปี 2566 : 1,016,000 แก้ว/วัน

Café Amazon

จำนวนสาขา

  • ปี 2563 มี 3,310 สาขา
  • ปี 2564 มี 3,628 สาขา
  • ปี 2565 มี 3,895 สาขา
  • ปี 2566 มี 4,181 สาขา

เมื่อดูจากยอดขายเครื่องดื่มในร้านคาเฟ่ อเมซอน จะเห็นได้ว่ามียอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นแสดงให้เห็นว่า Café Amazon มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดจน ลูกค้าไม่ซ้ำหน้า หมุนเวียนตลอดเวลา เพราะดูจากยอดขายเหมือนมีลูกค้าหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ “คาเฟ่ อเมซอน”

Café Amazon

การขยายสาขาของCafé Amazon คือ เน้นเข้าถึงลูกค้าในทุกกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการเปิดสาขาในปั๊มปตท. เจาะกลุ่มเป้าหมายนักเดินทาง สร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงในระยะยาว พอประสบความสำเร็จ มีฐานลูกค้าในระดับหนึ่ง ค่อยขยายฐานกลุ่มลูกค้าในห้างฯ ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายและพื้นที่สำหรับนั่งรอ

ส่วนสาขา Standalone เป็นการเข้าถึงลูกค้าในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าในพื้นที่นั้น พอกลุ่มเป้าหมายในไทยเริ่มอิ่มตัวและมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง ค่อยขยายสาขาไปต่างประเทศ

Café Amazon

ทำไมนักลงทุนคนเดียวเปิดแฟรนไชส์ Café Amazon หลายสาขา

  1. แบรนด์คาเฟ่ อเมซอน แข็งแกร่ง คนรู้จัก ขายได้ง่าย
  2. ยอดขายและรายได้ของแต่ละสาขาเป็นที่น่าพอใจ
  3. มีประสบการณ์ในการหาทำเลเปิดร้าน นำเสนอแล้วได้รับการพิจารณาแน่นอน
  4. PTTOR พิจารณาแฟรนไชส์ซีรายเก่าก่อนรายใหม่ เพราะมองว่ามีประสบการณ์บริหารร้านแฟรนไชส์มาก่อน
  5. รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร ช่วยให้ขายได้ง่าย
  6. รู้วิธีและระบบการบริหารจัดการร้านเป็นอย่างดี
  7. ระบบแฟรนไชส์มีความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งทีมการตลาด จัดส่งวัตถุดิบ ทีมซอฟต์แวร์ ไอที ทีมดีไซน์ เป็นต้น เปิดร้านแล้วไม่เหนื่อย ไม่ยุ่งยาก

นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้วประสบความสำเร็จ จึงอยากเปิดเพิ่มอีกหลายสาขา พวกเขาส่วนใหญ่มองแบรนด์คาเฟ่ อเมซอน มีความแข็งแกร่ง คนรู้จัก ขายได้ง่าย ระบบแฟรนไชส์มีความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งทีมการตลาด จัดส่งวัตถุดิบ ทีมซอฟต์แวร์ ไอที ทีมดีไซน์ ฯลฯ เปิดร้านเพิ่มอีกหลายร้านก็ไม่เหนื่อย และไม่ยุ่งยาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช