ต้นทุนร้านอาหาร ปี2568 ไม่อยากเจ๊งต้องดู!

ถ้าให้เลือกทำธุรกิจสักอย่าง คนส่วนใหญ่ต้องโฟกัสธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร เพราะเชื่อว่ายังไงก็ต้องขายได้ ยากดีมีจนแค่ไหนคนเราก็ยังต้องกิน

ในความเป็นจริงอีกด้านการลงทุนทำธุรกิจอาหารก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยเสี่ยงมีหลายด้านทั้งกำลังซื้อที่หดหาย , คู่แข่งที่เยอะมาก หรือแม้แต่เรื่อง ต้นทุนร้านอาหาร ด้านต่างๆ ก็มีผลต่อกำไรเช่นกัน โดยมีการประเมินสถานการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารปี 2568 จะมีอัตราการเติบโตคงที่หรืออาจลดลง 2-3% ก็มาจากเหตุผลในหลายๆ ด้านตามที่ได้กล่าวไป

เคล็ดลับสำคัญของคนทำร้านอาหารในปี 2568 ไม่ใช่นึกจะทำอะไรตามใจก็ได้ จำเป็นมากที่ต้องสนใจเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค และเลือกรูปแบบร้านให้มีความเฉพาะเจาะจงตรงความต้องการลูกค้าเช่น

1.ร้านอาหารเต็มรูปแบบ (Full Service) มีมูลค่า 213,000 ล้านบาท โอกาสเติบโตประมาณ 2.9% จากปี 2567 โดยร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ยังได้รับความนิยมเพราะความคุ้มค่า ส่วนร้านอาหารอะลาคาร์ท เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไทย ตะวันตก ราคาระดับกลางๆ จะเจอกับความท้าทายจากกำลังซื้อและการแข่งขันจากคู่แข่ง

2.ร้านอาหารให้บริการจำกัด (Limited Service) คาดว่ามีมูลค่า 93,000 ล้านบาท เป็นการขยายตัวมาจากกลุ่มร้าน พิซซ่า และไก่ทอด รวมถึงร้านแบบ Full Service ปรับรูปแบบร้านเป็นแบบ Quick Service มากขึ้น

3.ร้าน Street Food มีมูลค่า 266,000 ล้านบาท เหตุผลที่คนนิยมเพราะเมนูเข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง กินง่าย ขายง่าย อีกทั้งเป็นกลุ่มร้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ

อย่างไรก็ดีการคำนวณต้นทุนของอาหาร เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจนี้ต้องพึงระวังให้ดี บางครั้งเราเคยเจอกับคำว่าขายดีจนเจ๊งก็เพราะไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง ต้นทุนที่ควรรู้ในการทำธุรกิจร้านอาหารปี 2568 ได้แก่

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ (COG) 30-35%
  2. ต้นทุนแรงงาน (Labor cost) 15-20%
  3. ค่าเช่า (Occupancy Cost) 15-20%
  4. ต้นทุนการตลาด (Marketing Cost) 10-15%
  5. ต้นทุนบริหารจัดการ (General & Admin Cost) 1-5%
  6. ต้นทุนสาธารณูปโภค (Utility Cost) 1-5%
  7. ต้นทุนอื่นๆ (Miscellaneous costs) 5%

หรือถ้าทำขายตลาดนัด ไม่ได้เป็นรูปแบบธุรกิจร้านอาหาร ก็ให้บวกเข้าไปสัก 10-15 % ของ Food Cost เผื่อค่าน้ำค่าไฟค่าแก้ส ค่าจิปาถะ เป็นต้น

ต้นทุนร้านอาหาร

ทั้งนี้หากคิดรวมต้นทุนทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ไม่ควรเกิน 80% ของยอดขายในแต่ละเดือนซึ่งจะเหลืออีก 20% เป็นกำไร ซึ่งการทำธุรกิจร้านอาหารก็ไม่ควรที่จะได้กำไรหรือ Net profit ต่ำกว่า 10-15% ซึ่งถ้าธุรกิจร้านอาหารสามารถทำกำไรได้ 20% ขื้นไปโดยเฉลี่ยก็จะคุ้มค่ากับการลงทุนและสามารถคืนทุนภายในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด