ต้นทุนร้านอาหาร ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้?
ขายดี แต่ไม่มีกำไร อาจมาจากต้นทุนที่สูงเกินไป ต้นทุนร้านอาหาร ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง ต้องควบคุมไม่ให้เกินเท่าไหร่ ถึงมีกำไร มาดูกันเลย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ หรือ Food Cost ร้านอาหารทั่วไป ไม่ควรเกิน 30-35%
ยกเว้นร้านบุฟเฟ่ต์ที่มีต้นทุนอยู่ที่ 45-50% ต้นทุนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสินค้าและปริมาณการขายด้วย หากขายหลายเมนู ใช้วัตถุดิบไม่เหมือนกัน ต้นทุนในส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
2. ต้นทุนแรงงาน หรือ Labor Cost ไม่ควรเกิน 20-30%
เป็นอีกหนึ่งต้นทุนของร้านอาหารที่ต้องจ่าย เป็นต้นทุนคงที่ ในระยะยาวสามารถปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามยอดขายได้ ทั้งเงินเดือนพนักงาน ค่าโอที ค่าประกันสังคม และสวัสดิการต่างๆ
3. ต้นทุนค่าเช่า หรือ Occupancy Cost ไม่ควรเกิน 15-20%
ค่าเช่าเป็นต้นทุนที่เจ้าของร้านอาหารไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าค่าเช่าแพงคุณอาจต้องเพิ่มยอดขาย เพื่อควบคุมค่าเช่าไม่ให้สูงขึ้น
4. ต้นทุนสาธารณูปโภค หรือ Unilities Cost ไม่ควรเกิน 1-5%
ของยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ต้นทุนส่วนนี้ต้องควบคุมให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ต้องเพิ่มยอดขายแทน ไม่ควรลดต้นทุนด้วยปิดไฟ ปิดแอร์ อาจทำให้ลูกค้าหายไปก็ได้
5. ต้นทุนการตลาด หรือ Marketing Cost ไม่ควรเกิน 2-5%
การทำการตลาดช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารของคุณได้ โดยเฉพาะการทำโฆษณาออนไลน์ ทำให้ลูกค้ารู้จักร้านคุณมากขึ้น ดังนั้น ไม่ควรมองข้ามต้นทุนการตลาดที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมี
6. ต้นทุนอื่นๆ หรือ Miscellaneous ไม่ควรเกิน 1-5%
ของยอดขาย ได้แก่ ค่าอุปกรณ์ในร้าน ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าตกแต่งร้าน ถ้าเป็นร้านอาหารใหญ่ๆ มีหลายสาขาอาจมีค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยบริหารด้วย
นอกจากนี้ หากคุณเปิดบริการเดลิเวอรี่ ร้านของคุณจะมีต้นทุนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ต้องจ่ายค่า GP ให้กับแอปฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 30-35% ดังนั้น คุณควรคำนวณค่า GP บวกเข้าไปในราคาอาหารด้วยเพื่อควบคุมต้นทุนส่วนนี้
ดังนั้น กำไรของร้านอาหารจะอยู่ที่ 15-20% ร้านอาหารสามารถได้กำไรมากกว่านี้ ถ้าคุณบริการจัดการต้นทุนในส่วนต่างๆ ให้ต่ำลงได้
สำหรับใครที่เปิดร้านอาหารแนะนำให้คำนวณต้นทุนทั้ง 6 ข้อข้างต้น เพื่อให้รู้ปัญหาและควบคุมต้นทุนเหล่านี้ได้ทันเวลา
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
แหล่งข้อมูล https://is.gd/MzRtNR
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)