ตู้กดกาแฟสด “เต่าบิน” vs ร้านกาแฟสด “คาเฟ่ อเมซอน”

ตู้กดกาแฟสด “เต่าบิน” แรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่จริงๆ ทำยอดขายเฉลี่ยต่อตู้ 100 แก้วต่อวัน บางตู้ตั้งอยู่ทำเลดีๆ ขายได้ถึง 300 แก้วต่อวัน สามารถทำยอดขายได้เกือบเท่าร้านกาแฟชื่อดังของเมืองไทยอย่าง “คาเฟ่ อเมซอน” ในเครือ ปตท.

ซึ่งปัจจุบันทำยอดขายเฉลี่ยต่อสาขา 250-300 แก้วต่อวัน อีกทั้งใช้เมล็ดกาแฟชนิดเดียวกัน ไม่เพียงเท่านี้ต้นทุนในการทำธุรกิจและบริหารจัดการของตู้กดกาแฟสด “เต่าบิน” ถูกกว่าร้านกาแฟสด “คาเฟ่ อเมซอน” หลายเท่าตัว

หากใครสนใจร่วมทำธุรกิจกับ 2 แบรนด์ดังกล่าว วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลเรื่องราวความเป็นมา ตลอดจนความน่าสนใจต่างๆ ของ “เต่าบิน” และ “คาเฟ่ อเมซอน” มานำเสนอให้ทราบครับ

ตู้กดกาแฟสด “เต่าบิน”

ตู้กดกาแฟสด

ภาพจาก https://bit.ly/3tpYZWJ

ถ้าถามว่า “เวนดิ้ง แมชชีน” หรือ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่กำลังมาแรงและมีคนพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “เต่าบิน” คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง บริการเมนูเครื่องดื่มมากกว่า 170 เมนู ล่าสุดเปิดตัวเมนูใหม่ “โจ๊ก” ราคาเริ่มต้น 25 บาท ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความเร่งรีบและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน

“เต่าบิน” เป็นเคาเฟ่ชงกาแฟสดอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ในเครือบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FORTH จุดเริ่มต้นมาจากการทำตู้กดน้ำกระป๋อง ต่อด้วยตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติ

ในช่วงแรกใช้ตู้นำเข้าจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เจอสารพัดปัญหาตามมาอีกมากมายนับไม่ถ้วน จึงนำไปสู่การค้นคว้าและพัฒนาการผลิตตู้กดเครื่องดื่มขึ้นมาเอง โดยทีมงานวิศวกรของบริษัทฯ ใช้เวลาพัฒนาเกือบ 2 ปี กว่าจะออกมาเป็นตู้กดกาแฟสดเต่าบิน และเป็นตู้กดเครื่องดื่มกาแฟสดที่ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งในตลาดเวลานี้ ปัจจุบันมี 1,300 สาขา

“เต่าบิน” เป็นชื่อเล่นของผู้ก่อตั้งบริษัทฯ และมีงานอดิเรก “ขับเครื่องบิน” เมื่อนำมารวมกันได้ชื่อว่า “เต่าบิน” จึงเป็นที่มาของชื่อแบรนด์ รวมถึงความสอดคล้องระหว่างตู้กับลูกค้าที่ต้องรอเครื่องดื่มจากตู้ที่กำลังทำงาน เมื่อได้รับและดื่มเครื่องดื่มจากตู้เต่าบินจะได้รับรสชาติที่อร่อยและถูกปาก ปัจจุบันตู้จำหน่ายอัตโนมัติเต่าบินดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 2 ปี

2

ภาพจาก https://bit.ly/3trav3Q

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาเป็น “เต่าบิน” ทางบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ได้ส่งตู้ “เติมเต็ม Cafe” ออกสู่ตลาดมาก่อนแล้ว แต่เปิดบริการชงเครื่องดื่มให้ลูกค้าได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น ทั้งที่ผลการตอบรับดี แต่เจอปัญหาทางด้านเทคนิคมาโดยตลอด

ข้างในตู้เต่าบินจะมี Moving Part มากมาย ทั้งการจ่ายเครื่องดื่ม ไซรัป แก้ว หลอด หรือฝา ยังไม่นับอุปกรณ์ชงกาแฟ บดเมล็ดกาแฟ กระบวนการทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยหุ่นยนต์ ทุกอย่างถูกออกแบบและคิดคำนวณมาแล้ว ตั้งแต่น้ำหนักของกาแฟ แรงดันในการสกัด ช่วงเวลาในการไหลหรืออุณหภูมิของน้ำ ทุกแก้วได้รับการันตีว่ามีคุณภาพเหมือนๆ กัน

จุดเด่นของตู้คาเฟ่ “เต่าบิน” เสิร์ฟกาแฟพรีเมียม อารามิก้า และ โรบัสต้า ทั้งร้อน เย็น ปั่น ชงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้งานง่ายและทันสมัย หน้าจอ Touch Screen ชำระเงินได้ทั้งระบบคิวอาร์โค้ด เงินสด และสะสมแต้มด้วย รองรับ QR Payment ทุกธนาคาร ราคาเริ่มต้น 15 บาท ถูกกว่าร้านกาแฟดังๆ ที่ใช้เมล็ดกาแฟเกรดเดียวกัน ที่สำคัญสามารถยกเคลื่อนย้ายไปตั้งในทำเลดีๆ ได้ โดยในปี 2566 เต่าบินตั้งเป้าเปิดให้บริการมากถึง 20,000 ตู้ ภายใน 3 ปี ผ่านโมเดลธุรกิจที่คล้ายกับบุญเติมคือ มอบตู้ไปยังตัวแทนจำหน่าย โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าแต่ออกแรงในการดูแลอย่างเดียว

รายได้บริษัทแม่ “เต่าบิน”

“เต่าบิน” แบรนด์คาเฟ่ ตู้กดกาแฟสด อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ซึ่งจากการตรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า

  • ปี 61 รายได้ 139 ล้านบาท ขาดทุน 17.9 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 211 ล้านบาท ขาดทุน 26.9 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 227 ล้านบาท ขาดทุน 44.8 ล้านบาท

ร่วมทำธุรกิจกับเต่าบิน

1

ภาพจาก https://bit.ly/3xymZco

#เจ้าของพื้นที่

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต่างๆ เช่น บริษัท โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม คอนโด มหาวิทยาลัย ฯ ทางบริษัทฯ พร้อมดำเนินการติดตั้งและดูแลตู้เต่าบินให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ยอดขายขั้นต่ำ 65 แก้ว / วัน หากต่ำกว่า บริษัทฯ ขอพิจารณาเรื่องยกตู้กลับ) ทั้งนี้ พื้นที่นั้นๆ ต้องผ่านการประเมินจากบริษัทฯ ก่อน และเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นจริงๆ เท่านั้น

#ตัวแทนเต่าบิน

สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่นและกำลังมองหาธุรกิจยุคใหม่ หากสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับธุรกิจเต่าบิน สามารถสมัครเป็นตัวแทนบริหารตู้เต่าบินจำนวน 50 ตู้ขึ้นไปในพื้นที่ของตัวเอง (หาพื้นที่/ติดตั้งตู้/เติมวัตถุดิบ/ดูแลตู้) และจะต้องมีทีมและรถสำหรับเติมสินค้า ช่างเทคนิคสำหรับติดตั้งและซ่อมบำรุง ซึ่งตัวแทนได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายตามที่ตกลงกัน

ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเปิดตู้ “เต่าบิน”

  • ต้นทุนโดยรวมประมาณ 8,000-10,000 บาท / เดือน / ตู้
  • พื้นที่ 1 ตร.ม.
  • ค่าเช่า 2,000 บาท / 1ตร.ม.
  • พนักงาน 1-2 คน (เติมของ)
  • สินค้า 170 เมนู
  • เมล็ดกาแฟ อาราบิก้า, โรบัสต้า
  • ยอดจำหน่าย 100-300 แก้ว / วัน / ตู้
  • รายได้ 60,000 บาท / เดือน / ตู้
  • จำนวนสาขา “เต่าบิน” ทั้งหมด 1,300 สาขา

#สนใจร่วมธุรกิจเต่าบิน คลิก https://www.tao-bin.com/contact
โทร. 02-114-7134


ร้านกาแฟสด “คาเฟ่ อเมซอน”

5

ต้องยอมรับว่ามีนักลงทุน และผู้สนใจเปิดร้านกาแฟสด “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นจำนวนมาก เพราะแบรนด์ได้รับนิยมในตลาด มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าแบรนด์กาแฟอื่นๆ จากข้อมูลพบว่ามีผู้สมัครซื้อแฟรนไชส์มากกว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน ทำให้บริษัทฯ ต้องใช้เวลาพิจารณาผู้สมัครแฟรนไชส์ซียาวนาน หรือบางรายก็ไม่ผ่านคุณสมบัติในการพิจารณา

หากย้อนกลับไปพบว่าแบรนด์ร้านกาแฟสดคาเฟ่ อเมซอน เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อช่วงปี 2545 โดยผู้บริหาร ปตท. เห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและคนเดินทางได้มากขึ้น

ปัจจุบันคาเฟ่อเมซอนอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ที่ผ่านมาบริษัท ปตท.ใช้เวลากว่า 10 ปี เปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้เป็น “คาเฟ่” เพื่อขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มาตั้งแต่ปี 2555 จนปัจจุบันมีจำนวนสาขากว่า 3,628 แห่งทั่วประเทศไทย ในปั๊มราว 2,000 ปั้ม และในอีก 10 ประเทศ โดยเฉพาะในกัมพูชาขายกาแฟได้ถึงวันละ 1,000 แก้วต่อสาขา ส่วนในประเทศไทยเฉลี่ยสาขาละประมาณ 300 แก้วต่อวัน

ปี 2565 ก้าวสู่ปีที่ 20 ของคาเฟ่ อเมซอน จากจุดเริ่มต้นมียอดขายสาขาแรกวันละ 40 แก้ว ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่อยากให้ร้านกาแฟช่วยสร้างความสดชื่นกับนักเดินทาง จึงปักหมุดร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน โดยใช้หลักการใน 4 เรื่อง เพื่อสร้างความแตกต่าง คือ 1. กรีนโอเอซีส สร้างความรู้สึกว่าเมื่อเข้ามาที่ปั๊มน้ำมันแล้วยังได้พักผ่อนด้วย 2. รสชาติที่แตกต่าง 3.สะดวกสบาย หาซื้อได้หลายแห่ง เริ่มต้นจากสถานีบริการ และ 4.ราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ในคุณภาพที่ได้มาตรฐาน

7

ปัจจุบัน “Café Amazon” ถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของเชนร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับ 6 ของโลก ด้วยจำนวนสาขามากกว่า 3,700 แห่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น โอมาน เวียดนาม และจีน

โดยกว่า 90% ของจำนวนสาขาทั้งหมดอยู่ในไทย ขยายสาขาทั้งรูปแบบ COCO (Company Owned, Company Operated) และรูปแบบ DODO (Dealer Owned, Dealer Operated) การพัฒนาสาขาของ Café Amazon แบ่งเป็น 2 แกนหลัก คือ เดินหน้าเปิดสาขาทั้งในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และทำเลต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่ย่านที่พักอาศัย ย่านชุมชน ย่านอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานีรถไฟฟ้า ถนนสายหลัก และสายรอง

สำหรับเป้าหมายของ OR ในเครือปตท.หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ วางแผนในปี 2568 ขยายร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน จำนวน 5,800 สาขา โดยต้องเปิดให้ได้อีก 2,500 สาขา แบ่งเป็นในประเทศไทย 2,100 สาขา โดย 60% อยู่นอกปั๊ม และต่างประเทศ 400 สาขา เฉพาะในประเทศไทยจาก 3,168 สาขา จะเพิ่มเป็น 5,200 สาขา เติบโตเฉลี่ย 18.3% ต่อปี

ในต่างประเทศร้านกาแฟ Café Amazon มากที่สุดในประเทศกัมพูชา 162 สาขา, ลาว 67 สาขา, ฟิลิปปินส์ 18 สาขา, โอมาน 9 สาขา, เมียนมา 8 สาขา, สิงคโปร์ 3 สาขา, จีน 2 สาขา, ญี่ปุ่น 2 สาขา และมาเลเซีย 1 สาขา

รายได้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)

8

ผลการดำเนินงานประกอบการ ปี 2563 รายได้ 411,438 ล้านบาท กำไร 5,657 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานปี 2564 ของ OR มีรายได้รวม 511,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.94% จากปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ จำนวน 11,474 ล้านบาท

ลงทุนเปิดร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน”

6

สำหรับรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ร้านกาแฟสด Café Amazon แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ในตัวอาคาร (Shop) และนอกตัวอาคาร (Stand Alone) โดยพื้นที่จะต้องอยู่นอกสถานีบริการน้ำมันเท่านั้น

โดยในอาคาร (เช่น อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ) 30 ตร.ม ขึ้นไป และพื้นที่ขอเปิดร้านต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน ส่วนนอกอาคาร (พื้นที่เปล่า) 100-200 ตร.ม ขึ้นไป

โดยเงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนทั้ง 2 รูปแบบ ในอาคารที่มีขนาด (ร้าน) 40 ตารางเมตรขึ้นไป มีการคำนวณค่าใช้จ่ายออกมา จะต้องใช้เงินระหว่าง 2,389,000 – 3,729,000 บาท ส่วนหากเป็นนอกอาคาร

ค่าใช้จ่ายจะอยู่ระหว่าง 2,689,000 – 4,229,000 บาท เงินที่ต้องจ่ายของทั้ง 2 รูปแบบนี้ ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง งานระบบ ค่าออกแบบ อุปกรณ์ภายในร้าน และยังมีค่าประกันแบรนด์ ค่า Franchise Fee หลังการเปิดร้านแล้ว

ยังมีค่าใช้จ่ายทางด้าน ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายต่อเดือน ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (Pos) 24,000 บาทต่อปี มีอายุสัญญา 6 ปี Renovate ร้านทุก 3 ปี

ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเปิดร้าน “คาเฟ่ อเมซอน” (Shop)

9

  • ต้นทุนโดยรวมประมาณ 2.3-3.7 ล้านบาท / Shop และ 2.6 – 4.2 ล้านบาท / Stand Alone
  • พื้นที่ 30 ตร.ม.
  • ค่าเช่า 2,000-3,000 บาท / ตร.ม.
  • พนักงาน 4-6 คน (ประจำร้าน)
  • สินค้า 45-50 เมนู
  • เมล็ดกาแฟ อาราบิก้า, โรบัสต้า
  • ยอดจำหน่าย 250-300 แก้ว / วัน / สาขา
  • รายได้ 450,000 บาท / เดือน
  • จำนวนสาขา “คาเฟ่ อเมซอน” ทั้งหมด 3,628 สาขา

สำหรับนักลงทุนที่สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon สามารถนำเสนอพื้นที่และสมัครได้ที่ https://bit.ly/3Q6kLZj

โทร 02-196-6444


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3QfnVtQ , https://bit.ly/3aRmdys , https://bit.ly/3NzFa73

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3MD3QKO

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช