ตื่นทำ! ร้านอาหารเจ๊ง แค่พลาดสูตรเดียว!
ทำร้านอาหารสำคัญสุดคือคำว่า “จุดคุ้มทุน” ที่หมายถึงจำนวนของรายได้ที่ต้องมากพอกับค่าใช้จ่ายของกิจการในแต่ละเดือน ซึ่งหากมีรายได้ที่มากกว่าจุดคุ้มทุน จึงจะเรียกว่า “กำไร”
การหาจุดคุ้มทุนนั้นให้เริ่มต้นจากการหาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของธุรกิจ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- ค่าใช้จ่าย Fixed Cost คือค่าใช้จ่ายที่คงที่ ไม่แปรผันตามยอดขาย ต่อให้ขายมากขายน้อยหรือไม่ขายเลยก็ต้องเสีย ได้แก่ ค่าแรงพนักงาน (F/T) , ค่าเช่าพื้นที่ (กรณีที่เป็น Fix Rate) , ค่าเสื่อม เป็นต้น
- ค่าใช้จ่าย Variable Cost คือค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามยอดขาย ได้แก่ ค่าแรงพนักงาน (P/T) , ค่าวัตถุดิบอาหารค่าน้ำ , ค่าไฟฟ้า , ค่าแก๊ส เป็นต้น (เป็นต้นทุนที่ผันแปรกับยอดขาย ถ้าขายได้มาก ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็มาก)
**สูตรคำนวณ Break Even Point (B.E.P.) ที่จะใช้ คือ Fixed cost / (1-Variable cost)**
ลองดูตัวอย่างตามตาราง ดังนี้
Fixed Cost
- ค่าเช่า 20,000
- ค่าแรง 30,000
- ค่าเช่าอุปกรณ์และอื่นๆ 10,000
- รวม Fixed Cost = 60,000 บาท
Variable Cost
- ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ , ค่าไฟ ,ค่าแก๊ส , วัตถุดิบ ฯลฯ) 30%
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 10%
- รวม Variable Cost = 40 %
สูตรคำนวณ B.E.P. = Fixed cost / (1 – Variable cost)
- B.E.P. = 60,000 / (1 – 0.40)
- = 60,000 / 0.6
- = 100,000 บาท
จากตารางนี้หมายถึงว่าร้านนี้จะต้องขายให้ได้ 100,000 บาท จึงจะถึงจุดคุ้มทุน Break Even Point ซึ่งเป็นตัวเลขที่ร้านยังไม่มีกำไรเพียงแค่เสมอตัวไม่ต้องควักทุนหมุนเงินมาเติม แต่ถ้าต้องการกำไรก็ต้องทำให้ยอดขายของร้านสูงกว่า
อย่างไรก็ดีคำว่า “จุดคุ้มทุน” ยังต้องสัมพันธ์กับคำว่า “ระยะเวลาคืนทุน” ที่หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เราลงทุนเปิดร้านหรือทำธุรกิจ จนถึงวันที่เราได้ผลตอบแทน หรือได้กำไรคืนเท่ากับเงินที่ลงทุนไปตอนแรกสามารถใช้สูตรคำนวณระยะเวลาคืนทุนได้ดังนี้
Payback Period = เงินทุนที่ลงทุนทั้งหมด/ผลประโยชน์สุทธิที่ได้รับในแต่ละเดือน
สำหรับตัวเลขระยะเวลาคืนทุนยิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะหมายถึงโอกาสในการได้กำไรจากธุรกิจที่รวดเร็วขึ้น แน่นอนว่าทั้งสูตรการหาจุดคุ้มทุน และระยะเวลาคืนทุน ต้องไปสัมพันธ์กับตัวแปรที่เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งในแต่ละธุรกิจตัวเลขเหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไป
ยังไม่นับรวมในกรณีถ้ามีเจ้าของมากกว่า 1 คน ยังจะต้องหักค่าบริหารจัดการของแต่ละคนออก เพื่อให้เหลือเป็นกำไรสุทธิของกิจการที่แท้จริง ซึ่ง มีสูตรที่ใช้ในการคำนวณคือ ใช้ตัวเลขที่เป็นเงินลงทุนทั้งหมดหารด้วยค่าเฉลี่ยกำไรสุทธิของกิจการต่อเดือน ก็จะทำให้เห็นภาพรวมของกำไรได้ชัดมากขึ้น
หลายคนที่ทำร้านอาหารแต่มองข้ามเรื่องจุดคุ้มทุนและระยะเวลาคืนทุนมีโอกาสเสี่ยงเจ๊งได้เช่นกัน เพราะ“การรู้จักจุดคุ้มทุน” เป็นเหมือนไกด์ไลน์ในการทำธุรกิจให้เรารู้ว่าจะต้องขายกี่ชิ้น ราคาเท่าไหร่ จะสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด ยิ่งในยุคที่มีคู่แข่งมากมายเช่นนี้ ธุรกิจใดๆที่เน้นการขายแบบไม่มีทิศทางมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยากมากๆ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)