ตีแผ่! Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ในเวลานี้คำว่า Soft Power ได้มีคนพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นคำที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนี้ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า Soft Power คืออะไร มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างไรในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทย วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

Soft Power คือ การใช้ความสามารถเพื่อสร้างอิทธิพลให้ผู้อื่นยอมรับ พร้อมสร้างกระแสให้กลายเป็นที่ต้องการของลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง ด้วยการค่อยๆ ดึงความสนใจ เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของผู้บริโภค ซึ่งความสำเร็จที่มาจากการปลูกฝังจุดขายของแต่ละธุรกิจให้ลูกค้ารับรู้ จะกลายเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางความสำเร็จของธุรกิจต่อไป

หากพูดถึง Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่คนต่างชาติอาจรู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด ก็คือ อาหารไทย มัสมัน ผัดไทย ผัดซีอิ้ว แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง มวยไทย สปาฯลฯ แต่ร้านอาหารแบบนี้มีแฟรนไชส์น้อยมาก

Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ภาพจาก https://bit.ly/3rTw6RX

แต่รู้สึกหรือไม่ว่า ร้านอาหารในเมืองไทยที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่แล้วเป็นร้านอาหารแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น เคเอฟซี แมดโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง พิซซ่าฮัท ซึ่งแฟรนไชส์ร้านอาหารเหล่านี้ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมีการส่งออกไปทั่วโลก และทั่วโลกให้การยอมรับ

ถ้าฉายให้เห็นภาพกรณีในประเทศไต้หวัน แฟรนไชส์ชานมไข่มุก ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไต้หวัน เพราะมีการส่งออกไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน หรือร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารเกาหลี ที่เราเห็นมากมายในประเทศไทย ก็ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี เพราะได้รับความนิยมในประเทศเอเชีย แม้จะยังไม่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่ก็ถือเป็นแฟรนไชส์ท้องถิ่นที่สามารถก้าวออกไปเติบโตในตลาดต่างประเทศได้

Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ภาพจาก https://bit.ly/3KeSOKE

สำหรับ Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ประเทศไทยนั้น ปัจจุบันถือว่ายังมีน้อยและสู้ต่างชาติไม่ได้ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยที่ขายอาหารไทยๆ โดยเฉพาะ กลับไม่ค่อยมีแฟรนไชส์ แต่ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศก็เห็นจะมีไม่กี่แบรนด์อย่าง “แบล็คแคนยอน” ขายอาหารไทยและกาแฟ, คาเฟ่ อเมซอน ขายกาแฟ, อินทนิน ขายกาแฟ ฯลฯ

22

ภาพจาก https://bit.ly/3rNGJp5

หรือแบรนด์ร้านอาหาร Blue Elephant ก็ไม่ได้เป็นแบรนด์ไทยอย่างแท้จริง เจ้าของร้านเป็นคนต่างชาติมีภรรยาไทย หรือร้าน Thai Express มีสาขาอยู่ในหลายประเทศแต่ผู้ก่อตั้งเป็นคนสิงคโปร์ ปัจจุบันขายกิจการให้กลุ่มไมเนอร์ฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนธุรกิจมวยไทยที่มีชื่อเสียงในสายตาชาวต่างชาติก็ไม่เป็นแฟรนไชส์ แค่เปิดโรงเรียนสอนในต่างประเทศเท่านั้น

Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ภาพจาก https://bit.ly/3ER9WVM

สำหรับร้านอาหารไทยที่เป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีจำนวนน้อย และไม่ค่อยประสบความสำเร็จ มีสาเหตุมาจากความหลากหลายของเมนูอาหารในร้าน โดยร้านอาหารไทยแต่ละร้านจะมีเมนูอาหารเยอะเกินไป ทำให้บางครั้งไม่สามารถควบคุมมาตรฐานในเรื่องของรสชาติได้เหมือนทุกร้าน อีกทั้งในแต่ละช่วงสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบจะสูง

ขณะเดียวกัน ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่จะพึ่งพาพ่อครัวแม่ครัวเพียงคนเดียว เมื่อพ่อครัวแม่ลาออกไปหรือไปเปิดร้านเอง คนอื่นที่เหลืออยู่ก็ทำอาหารแทนไม่ได้ ทำให้ลูกค้าหาย ยอดขายตก ซึ่งแตกต่างจากแฟรนไชส์ร้านอาหารแบรนด์ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเคเอฟซี แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง ใช้คนทำอาหารที่ได้รับการฝึกอบรมมาเท่านั้น

Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ภาพจาก https://bit.ly/3ELxQln

นอกจากนี้ ร้านอาหารไทยยังขาดระบบงานที่เป็นมาตรฐาน มีขั้นตอนการทำอาหารยุ่งยาก หลายขั้นตอนกว่าจะได้ 1 เมนู เมื่อขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นแล้วคนอื่นทำตามยาก อีกทั้งผู้ประกอบการยังขาดความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์

นั่นคือ Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ แบรนด์ที่ก้าวออกไปต่างประเทศได้ ก็ไปในฐานะตัวบุคคล ไม่ได้ไปในฐานะ Soft Power ของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

อ้างอิงจาก hhttps://bit.ly/3rVXSgt

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช