ตัวเลขการลงทุนในกัมพูชาประจำปี 2560
ในบรรดา ประเทศ AEC นับถึงตอนนี้มีการพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่เกิดจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้หากจัดอันดับในการเติบโต www.ThaiSMEsCenter.com มองว่ากัมพูชาเป็นอีกประเทศ
ดาวรุ่งที่น่าลงทุน ข้อมูลสถิติการลงทุนของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ระบุว่า มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกัมพูชาทั้งหมด 19 ประเทศ โดยโครงการที่เข้ามาลงทุน อันดับที่ 1 มาจากนักลงทุนจีน จำนวน 42 โครงการ
ขณะที่มูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งหมดอยู่ที่ 576.56 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการลงทุนของคนกัมพูชาเอง 114.58 ล้านดอลลาร์ และเป็นการลงทุนจากต่างชาติ 461.98 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น 33.89% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาพจาก goo.gl/A12AMb , goo.gl/yPMYnP
เมื่อจำแนกจากมูลค่าการลงทุน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด 118.47 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นการลงทุนก่อสร้างห้างสรรพสินค้า ตามด้วยเวียดนาม 95.75 ล้านดอลลาร์ ในอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมเหล็กและสวนผลไม้ ขณะที่ไทยจัดเป็นอันดับที่ 6 มีมูลค่าการลงทุน 26.46 ล้านดอลลาร์
ในโครงการลงทุนโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ธุรกิจโรงสีข้าว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจก่อสร้าง สำหรับประเทศไทยมีการเข้าไปลงทุน 2 โครงการ ได้แก่ การก่อสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของบริษัท Makro และการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลไม้ของบริษัท Chin Huay
โดยตัวเลขภาพรวมอ้างอิงจากปีที่ผ่านมาระบุว่ามีเม็ดเงินในการลงทุนประมาณ 576.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านๆมา สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของนักลงทุนที่เห็นอนาคตด้านการเติบโตในเศรษฐกิจของกัมพูชามากขึ้น
ภาพจาก goo.gl/gKnif9
ในภาพรวมการลงทุนกัมพูชายังเป็นการลงทุนของกลุ่มทุนรายใหญ่ ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังเข้าไปทำธุรกิจแค่การค้าและส่งออกสินค้า
แต่ก็มีบางส่วนที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจร้านอาหาร สปา นวดแผนไทย รับเหมาก่อสร้าง ซื้อมาขายไป (เทรดดิ้ง) และเอเยนซี โฆษณา รวมทั้งธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำดื่ม และเม็ดพลาสติก โดยมองว่าทุกธุรกิจยังมีโอกาสในตลาดกัมพูชา
และคาดการณ์ต่อไปอีกว่าในอนาคตซึ่งหมายถึงตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ธุรกิจที่จะมาแรงในตลาดกัมพูชาที่ควรค่าแก่การลงทุนนั้นประกอบด้วย
- ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
- ธุรกิจตกแต่งภายใน
- กลุ่มธุรกิจที่มีนวัตกรรม เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการระบบธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ
ภาพจาก goo.gl/Yrsmuv
ส่วนทางด้านโลจิสติกส์นั้นน่าจะต้องรอต่อไปอีกสักระยะเนื่องด้วยตลาดการค้าออนไลน์ของกัมพูชายังอยู่ในระยะเรียนรู้ โดยปัญหาหลักๆที่ต้องเร่งแก้ไขคือการพัฒนาด้าน
อีคอมเมิร์ชโดยเฉพาะในรูปแบบของการชำระเงินอิเลคทรอนิกส์ ที่ยังต้องสร้างระบบพื้นฐานความเข้าใจและทำให้คนกัมพูชายอมรับในการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะทำให้การพัฒนาตลาดออนไลน์ทำได้ง่ายขึ้น ระบบโลจิสติกส์เองก็จะได้พัฒนาตามไปด้วย
เป็นโอกาสที่น่าสนใจเพราะโดยศักยภาพของกัมพูชายังมีส่วนที่เข้าไปเติบโตและขยายได้อีกมาก เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการธุรกิจเองที่จะมองหาลู่ทางและจับจุดการลงทุนให้ถูก หากเริ่มได้ถูกทางโอกาสสร้างกำไรก็ระยะยาวเช่นกัน
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S