ตัวการที่ทำร้ายหุ้นไม่ใช่ไวรัสโคโรน่า แต่แท้จริงอยู่ตรงนี้ !!!
ไวรัสโคโรน่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ตลาดหุ้น มีการเทขายลงมากระหน่ำ แต่นักลงทุนยังคงมีสติกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นประเด็นหนึ่งก็คือ มาจากความไม่เชื่อมั่นใน Wall Street ที่แก้ปัญหาตลาดพันธบัตร
เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่ราคาพันธบัตรร่วงต่ำเป็นประวัติศาสตร์ ในขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปีอยู่ในระดับที่เงยหน้าไม่ขึ้น เนื่องจากปัญหาเรื่อง Brexit ในช่วงหน้าร้อนปี 2016 ที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกันปกติแล้วจะมีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า ตลาดหุ้นเริ่มมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ มีการบิดเบือนข้อมูลให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนกขึ้นมา
ภาพจาก bit.ly/3c4OeP6
“ผมไม่คิดว่า นี่จะเป็นเรื่องใหญ่ในช่วงเช้านี้ที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตลาดพันธบัตร นี่อาจเป็นเรื่องที่มากกว่าตลาดพันธบัตรที่ตกต่ำเป็นรอบประวัติการณ์” กล่าวโดย Jim Paulsen หัวหน้ายุทธศาสตร์วางแผนการลงทุนที่บริษัท Leuthold Group “มีการเปิดประเด็นข่าวใหม่ ๆ ที่ทำปั่นราคาพันธบัตรให้ร่วงลงในประเทศสหรัฐอเมริกา”
ราคาพันธบัตรปรับตัวลดลงพร้อมกับตลาดหุ้น คิดเป็นดัชนีแล้วติดลบถึง 2.5 % หรือมากกว่านั้นในช่วงที่มีการซื้อขายกันวันจันทร์ช่วงเช้า ภาวะปรับตัวลดลงนี้ส่งผลต่อประเทศทั่วยุโรปและในประเทศญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะประมาณ $ 11 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศเยอรมนีเจอกับการซื้อขายที่ปรับตัวในช่วงเช้า
ความกลัวของ Fed
ภาพจาก bit.ly/2Tdp9c3
ในประเทศสหรัฐนั้น เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางได้ตั้งข้อสงสัยว่า หนี้สินรัฐบาลลดน้อยลงมากผิดปกติ ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อพันธบัตรมีราคาที่สูงกว่าที่นักลงทุนได้ถือครองเอาไว้ระหว่างที่ได้มีการถือครองตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้
แต่นักลงทุนกลับซื้อพันธบัตรต่อเนื่องและคาดได้ว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นมา แนวโน้มที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงนั้น เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้กู้ได้ประโยชน์จากสถานการณ์จนทำให้ธนาคารประสบปัญหาขึ้นมา และราคาที่ปรับตัวลดลงเป็นตัวกดหัวการเติบโตในประเทศต่าง ๆ
Paulsen คิดว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกาอาจไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเติบโตที่ถดถอย แต่เป็นเรื่องความเชื่อที่ว่า เงินเฟ้อจะยังคงนิ่งแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
“สัญญาณในตลาดพันธบัตรอาจไม่ได้มีความแตกต่างไปจากหุ้นมากนัก” เขากล่าว “มูลค่าของพันธบัตรตกต่ำลงในปีนี้ แต่ส่วนต่างตอบแทนไม่ได้ห่างกันมากนัก ตรงนี้บอกผมได้ว่า ตลาดพันธบัตรทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลง แต่การเติบโตภายในประเทศยังคงดีอยู่”
ตอนนี้มูลค่าที่ต่ำทำให้เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางต่างก็กังวลกับเรื่องเงินเฟ้อ
ภาพจาก bit.ly/3a47R8i
นายธนาคารกลางได้พูดถึงเรื่องเงินเฟ้อ โดยพวกเขาได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ 2 % ทำให้พวกเขากำหนดอัตราระยะสั้นได้ในที่ประชุมนโยบายได้ในกรณีที่มีการชะลอตัว ตลอดจนถึงมองแนวทางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเทรดเดอร์ฟิวเจอร์นั้นมีโอกาสทำเงินในช่วงวันจันทร์ที่ 56 % ของการปรับตัวลดลงในช่วงเดือนเมษายน สอดคล้องกับเครื่องมือวิเคราะห์ของ Fed อย่าง CME
หุ้นยังคงอ่อนแออยู่
ภาพจาก bit.ly/3c5BEzd
แนวโน้มราคาพันธบัตรนั้นยังคงปั่นหัวนักลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ ปกติแล้วเมื่อราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาพันธบัตรจะปรับตัวลดลงและเป็นมูลค่าที่นักลงทุนต้องการเข้าไปซื้อเพื่อให้ได้รายได้อย่างมั่นคง อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่กรณีช่วงหลัง ที่ผ่านมาราคาพันธบัตรกับราคาหุ้นมีความสัมพันธ์มาตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับ Lisa Shalett หัวหน้าฝ่ายเจ้าหน้าที่การลงทุนที่ Morgan Stanley Wealth Management โดย Shalett ได้กล่าวในกรณีนี้ว่า “เวลานี้มีความแตกต่าง”
“เนื่องจากอัตรามีการปรับตัวลดลง ทางนักลงทุนตราสารได้กลับมาโฟกัสกับเรื่องที่ว่า อัตราที่ต่ำนี้ช่วยขับเคลื่อนให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง” เธอกล่าวกับลูกค้าว่า “พวกเราเห็นราคาหุ้นในระดับที่อ่อนแอ ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น การกระจายความเสี่ยงในพันธบัตรจะเป็นเรื่องล้มเหลวทันที”
สำหรับนักลงทุนนั้น Paulsen ได้กล่าวว่า จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาดูส่วนต่างราคา หรือความแตกต่างระหว่างพันธบัตรที่มีวันครบอายุคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างในเรื่องของค่าตอบแทน โดยส่วนต่างราคาที่ห่างเป็นสัญญาที่ชี้ให้เห็นถึงความหวาดกลัวของตลาด
“หากพวกมันยังคงเคลื่อนไหวในกรอบเหมือนกับปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าพวกมันจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่เหมือนกัน” เขากล่าว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2x05oNH
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ที่มา : CNBC.COM
อ้างอิงจาก : https://bit.ly/38dXJsh