ตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven ขอ CP ร่วมทุนซื้อกิจการกันยักษ์ค้าปลีกแคนาดาเทกโอเวอร์

เมื่อช่วงสิ้นเดือน ม.ค. 2568 สำนักข่าวต่างประเทศได้นำเสนอข่าวกันครึกโครม เกี่ยวกับแวดวงค้าปลีกเอเชีย กรณีตระกูลผู้ก่อตั้ง Seven & i ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกในญี่ปุ่น เจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ทั่วโลก กำลังเจรจาและชวนกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เจ้าของแฟรนไชส์ 7-Eleven ในไทย เข้าร่วมลงทุนซื้อกิจการ Seven & I Holdings

เพื่อสกัดไม่ให้ Alimentation Couche-Tard บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากแคนาดาเข้าซื้อกิจการได้อีก หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยื่นซื้อไปแล้ว 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.58 ล้านล้านบาท)

การเจรจาร่วมลงทุนซื้อกิจการ Seven & I Holdings ของตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven ในญี่ปุ่น กับ CP จะเป็นในรูปแบบ Management Buyout (MBO) หรือการที่ผู้บริหารรวมตัวกันซื้อกิจการคืนจากผู้ถือหุ้น คาดว่ามีมูลค่ามหาศาลกว่า 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.95 ล้านล้านบาท

ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เป็นเจ้าแฟรนไชส์ 7-Eleven ทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา กว่า 14,545 สาขา กลายเป็นผู้เล่นรายล่าสุด ที่ได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมแผนการซื้อกิจการในครั้งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น

ตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven
ภาพจาก https://bit.ly/3EzgsEv

ทางด้าน Alimentation Couche-Tard ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจากแคนาดา ที่ได้ยื่นซื้อ Seven & I Holdings ไปก่อนหน้านี้ เป็นเจ้าของเชนร้านสะดวกซื้อ Couche-Tard ที่มีมากกว่า 14,000 สาขาทั่วโลก และร้านสะดวกซื้อ Circle K ที่มีกว่า 15,000 สาขาทั่วโลก

ในช่วงนั้นพอมีข่าวออกมา ทำให้ราคาหุ้นของ Seven & I ในตลาดโตเกียว พุ่งขึ้นทันทีถึง 22.7% ทำให้มีมูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1.07 ล้านล้านบาท เป็น 1.32 ล้านล้านบาท ขณะที่ Alimentation Couche-Tard มีมูลค่าบริษัทอยู่ 2.01 ล้านล้านบาท

Seven & I Holdings นอกจากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ 7-Eleven ทั่วโลก ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 85,134 สาขาใน 20 ประเทศ รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป ยังเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด Denny’s ในญี่ปุ่น, ซูเปอร์มาร์เก็ต Ito-Yokado และธนาคารภายใต้แบรนด์ตัวเอง

สำนักข่าวต่างประเทศยังเสนอข่าวด้วยว่า ดีลเจรจาร่วมทุนซื้อกิจการ Seven & I Holdings ของตระกูลผู้ก่อตั้ง กับ CP อาจสูงหลายแสนล้านเยน และเป็นไปได้ว่าอาจมีผู้ร่วมลงทุนมากกว่า 2 กลุ่มทุน

เพราะก่อนหน้านี้ตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven ได้เจรจากับ ITOCHU บริษัทการค้าชั้นนำของญี่ปุ่น และ Apollo Global Management บริษัทจัดการสินทรัพย์จากสหรัฐฯ เพื่อระดมทุนสนับสนุนดีลนี้

ตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven
ภาพจาก https://bit.ly/4aRlRCV

นักวิเคราะห์บางรายมองว่า อาจเป็นกลยุทธ์เพื่อกดดันให้ Alimentation Couche-Tard ยักษ์ค้าปลีกแคนาดา ยื่นข้อเสนอใหม่ที่สูงขึ้นก็เป็นไปได้

บริษัทหลักทรัพย์ลิเบอเรเตอร์ วิเคราะห์ว่าดีลนี้อาจไม่คุ้มสำหรับ CP เพราะ Seven & I Holdings มีอัตรากำไรต่ำเพียง 2-3% ขณะที่มีค่า P/E Ratio สูงถึง 80 เท่า และ Forward P/E 50 เท่า ส่วนทางด้าน CPALL ในเครือ CP ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 20 เท่า มีต้นทุน 4% และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Net D/E) 0.8 เท่า ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง

ที่สำคัญก็คือ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564 – ปี 2566) Seven & i Holdings มีการเติบโตของยอดขายโดยรวมเฉลี่ย 26% ส่วนยอดขาย 7-Eleven ในญี่ปุ่นเติบโตเฉลี่ยเพียง 3% จากสาขาทั้งหมดในสิ้นปี 2566 อยู่ที่ 21,533 แห่ง ถือว่ายังต่ำกว่า CPALL ที่มียอดขายเติบโตเฉลี่ย 10% จากสาขาทั้งหมด 14,545 แห่ง

อีกทั้ง Seven & i Holdings เป็นบริษัทแม่ของ 7-Eleven Inc. ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกาที่ให้สิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์ 7-ELeven ในประเทศไทยแก่ CP ดังนั้น ถ้าหากโครงสร้างการถือหุ้นใน Seven & i Holdings เปลี่ยน อาจทำให้มีปัญหาถ้ามีเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ที่ CP เคยทำไว้

ตระกูลผู้ก่อตั้ง 7-Eleven
ภาพจาก https://bit.ly/4aYkUsC

สุดท้าย นักวิเคราะห์มองว่า ถ้าดีลนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ นักลงทุนในตลาดหุ้นคงมองว่าไม่น่าจะเป็นผลดีต่อผลประกอบการของกลุ่ม CP เพราะจากการตีราคาซื้อค่อนข้างแพง เพราะฉะนั้นถ้ากลุ่ม CP ต้องกู้เงินไปซื้อ ก็จะไม่คุ้มจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ตลาดหุ้นในไทยมีความกังวลในเชิงลบหากมีการตัดสินใจลงทุนจริง

ที่สำคัญก็คือ ตลาดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างอิ่มตัวต่างจากในประเทศไทย นักวิเคราะห์เลยมองว่า CPALL ควรเน้นขยายสาขาในไทย กัมพูชา ลาว ปีละ 700 สาขา น่าจะคุ้มมากกว่า

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต